ผู้ใช้:รติพร รูนรักษา/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

'Mobile Application cross platform with HTML' ทีมนักพัฒนาสร้างโปรแกรมประยุกต์ หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน (application software) ด้วย HTML5 สำหรับเว็บไซต์ที่สำคัญโดยนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในแต่ละระบบปฏิบัติการ (platform) ผ่านโทรศัพท์มือถือที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน การทำงานร่วมกันของ XDK and cujoJS จำกัดมาก การเขียนโปรแกรมโดยปกติจะใช้โค้ดที่กำหนดขึ้นตามคุณลักษณะที่ต้องการของแต่ละ platform ผลลัพธ์ที่ได้คือ application มือถือที่แข็งแกร่งมากขึ้นกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น เริ่มจาก HTML5 Hub ของบริษัทอินเทล มีความพยายามยกระดับความสามารถในการทำงานหลายระบบปฏิบัติการหรือข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-platform) ของ XDK และ cujoJS เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาของ app ในขณะที่ platform โทรศัพท์มือถือมีคุณลักษณะขั้นสูงที่แตกต่างกัน การทำงานได้รับการริเริ่มโดยเว็บไซต์ของนักพัฒนาของอินเทล HTML5 Hub ซึ่งร่วมมือในการสร้าง application ในอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่ของประเภทนี้จะต้องมีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับแต่ละ platform เป้าหมาย ในขณะที่การออกแบบภาพและเทคนิคอาจจะมีจำนวนมากและเนื่องจากไม่มีของรหัสสามารถใช้ร่วมกัน platformจะต้องมีรหัสที่แต่ละคน สำหรับ iOS และแอพพลิเคใน Java สำหรับ Android ใช้ XDK และ cujoJS ของ HTM​​L / CSS / JavaScript ได้รับอนุญาตให้ทีมที่จะมีฐานรหัสเดียวที่สามารถสร้างและนำไปใช้กับอุปกรณ์เป้าหมายทุกการทำงานในการตรวจสอบทีมงานดำเนินการผ่านขั้นตอนปกติธรรมดาที่จะพยายามพัฒนาใด ๆ ขั้นตอนการค้นพบออกมาวางเป้าหมายของโครงการและระบุสิ่งที่ทีมต้องการที่จะรวมอยู่ในการตรวจสอบ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายเหล่านั้นโครงการนี​​้ก็ถูกกำหนดขอบเขตออกการกำหนดสิ่งที่เป็นไปได้ในเวลาที่มีอยู่

Mobile Application คืออะไร[แก้]

Mobile Application ประกอบขึ้นด้วยคำสองคำ คือ Mobile กับ Application มีความหมายดังนี้ Mobile คืออุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการพกพา ซึ่งนอกจากจะใช้งานได้ตามพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังทำงานได้เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่พกพาได้จึงมีคุณสมบัติเด่น คือ ขนาดเล็กน้ำหนักเบาใช้พลังงานค่อนข้างน้อย ปัจจุบันมักใช้ทำหน้าที่ได้หลายอย่างในการติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกับคอมพิวเตอร์ สำหรับ Application หมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อช่วยการทำงานของผู้ใช้ (User) โดย Application จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface หรือ UI) เพื่อเป็นตัวกลางการใช้งานต่าง ๆ

Mobile Application เป็นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตโดยโปรแกรมจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังสนับสนุน ให้ผู้ใช้โทรศัพท์ได้ใช้ง่ายยิ่งขึ้น ในปัจจุบันโทรศัพท์มือ หรือ สมาร์ทโฟน มีหลายระบบปฏิบัติการที่พัฒนาออกมาให้ผู้บริโภคใช้ ส่วนที่มีคนใช้และเป็นที่นิยมมากก็คือ ios และ Android จึงทำให้เกิดการเขียนหรือพัฒนา Application ลงบนสมาร์ทโฟนเป็นอย่างมาก อย่างเช่น แผนที่, เกมส์, โปรแกรมคุยต่าง ๆ และหลายธุรกิจก็เข้าไปเน้นในการพัฒนา Mobile Application เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น ตัวอย่าง Application ที่ติดมากับโทรศัพท์ อย่างแอพพลิเคชั่นเกมส์ชื่อดังที่ชื่อว่า Angry Birds หรือ facebook ที่สามารถแชร์เรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึก สถานที่ รูปภาพ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้โดยตรงไม่ต้องเข้าเว็บบราวเซอร์

Mobile Application เหมาะสำหรับธุรกิจและองค์กรต่างๆในการเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ รวมถึงขยายการให้บริการผ่านมือถือ สะดวกง่าย ทุกที่ ทุกเวลา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เช่น Mobile Application for Real Estate : โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับอสังหาริมทรัพย์ ใช้ในการเก็บข้อมูลลูกค้า การจอง การขายบ้าน คอนโด ที่ดิน

การพัฒนา Mobile Application[แก้]

ปัจจุบันอุปกรณ์พกพา Mobile Device ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีอยู่หลายระบบ (Platfroms) ได้แก่ IOS, Android, Windows, BlackBerry ฯลฯ การพัฒนา Mobile App โดยทั่วไปแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. Native Apps คือ การพัฒนาโดยใช้ภาษาหลักของ Platfrom นั้น ๆ อาจเรียกว่าภาษาแท้ๆ ก็ได้ เช่น Objectice-C Swift สำหรับระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Java สำหรับระบบปฏิบัติการ Android ฯลฯ มีข้อดีคือ เป็นภาษาแท้ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีความเร็วสูง การจัดการ Memory ทำได้ดี จึงสามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์ เซนเซอร์ และระบบปฏิบัติการ (OS) ได้สมบูรณ์

2. Web Apps หรือ HTML5 คือ App ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ภาษาที่เป็นเทคโนโลยีเว็บ HTML5 CSS และ JavaScript ส่วนใหญ่มักใช้งานแบบ Online เป็นหลักโดยสคริปและ Resources ต่าง ๆ เช่น ภาพ วีดีโอ จะอยู่บนเว็บ ไม่สามารถใช้ OS ของระบบได้ส่วนระบบเซนเซอร์และฮาร์ดแวณ์จะได้ใช้ได้บางอย่างเท่านั้น เนื่องจากอาศัยคุณสมบัติเว็บบราวเซอร์เป็นหลัก

3. Hybrid App คือ App ที่ไม่ได้ใช้ภาษาแท้ๆ ของ Platform แต่เป็นการผสมผสานเอาภาษาอื่นๆเข้ามาพัฒนา สามารถเข้าถึง API เซนเซอร์และฮาร์ดแวร์ของระบบได้เกือบครบได้แก่ กล้อง ระบบไฟล์เก็บข้อมูล เข็มทิศ เซนเซอร์ Acellerometer ฯลฯ (ขึ้นอยู่กับตัว Plugin เสริมที่มีให้ใช้งาน) เช่น PhoneGap/Cordova ใช้ HTML5 + CSS + JavaScript มี Plugin เสริมที่ทำให้สามารถใช้งาน กล้อง เซนเซอร์ เข็มทิศ GEolocation แผนที่ และ อื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดภาษาที่เป็น Native (แต่ละความเร็วจะสู้ Native ไม่ได้) [1]


Crossp-latform Application คืออะไร[แก้]

Cross-platform Application คือ Application ที่ถูกเขียนด้วย Framework ที่เป็นเครื่องมือซึ่งถูกดัดแปลงเพื่อให้ใช้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาดั้งเดิมในการเขียน Application ได้ เช่น Rhomobile ใช้ภาษา HTML,Ruby หรือ Phonegap ที่ใช้ภาษา HTML, CSS, Javascript ในการเขียน เป็นต้น

ข้อดี คือ

  1. เขียนโปรแกรมครั้งเดียวใช้ได้ทุก platform
  2. Maintain Code เพียงอันเดียว ลดความสับสนในการแก้ไข
  3. Cross-platform ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาในการเขียน Web
  4. ทำงาน Offline ได้

ข้อเสีย คือ

  1. ช้ากว่า Native Application แต่เร็วกว่า Web Application
  2. ประสิทธิภาพน้อยกว่า Native Application เพราะไม่สามารถใช้ Feature บางอย่างได้
  3. Feature จะ Update ช้ากว่า เนื่องจากต้องรอผู้พัฒนา framework อัพเดทก่อน


HTML5 นั้นคือ อะไร?[แก้]

HTML5 คือ ภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการเขียนเว็บไซต์รุ่นล่าสุด ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย WHATWG (The Web Hypertext Application Technology Working Group) และเพิ่มคุณสมบัติเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น

  - CANVAS : ใช้ในการวาดรูป จำเป็น ต้องใช้ JavaScript ช่วย
  - Drag and Drop : การลางวางวัตถุ เพื่อเพิ่มการตอบสนองระหว่างระบบกับผู้ใช้ ยกตัวอย่าง การลากและวางของรูปภาพกับเซอวิสของกูเกิ้ล
  - Form Enhancements : การเพิ่มความสามารถ Form ต่าง ๆ 
  - Content Editable : สามารถแก้ไข Content ได้โดยตรงผ่านทางหน้าเว็บ
  - Audio / Video : รองรับการอ่านไฟล์เสียงและวีดีโอ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Embed Code ของ Third Party
  - Drag and Drop : ลากวาง object ได้ เพื่อเพิ่มการตอบสนองระหว่างระบบกับผู้ใช้
  - Persistent Data Storage : มีการจัดการที่ดีขึ้น โดยเก็บข้อมูลลงบนเครื่องของผู้ใช้
    นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เปลี่ยนไปใน HTML5 เพื่อให้ผู้ใช้งานสะดวกมากขึ้น
    - Doctype ที่สั้นกว่าเวอร์ชันเดิม
    - การกำหนดชุดอักษรที่สะดวกขึ้น
    - Tag บางอย่างจะไม่ถูกรองรับแล้ว

สิ่งที่จะตามมาคือ แต่เดิมที่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ใช้ Native app จะสามารถใช้ได้ตาม ระบบปฏิบัติการ (os) กับฮาร์ดแวร์ของรุ่นนั้นๆ เช่น IOS ก็ต้องพัฒนาแอพพลิเคชั่น สำหรับ IOS จะใช้ข้าม แพลตฟอร์มไม่ได้ หรือ Android ก็ต้องถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ ฮาร์ดแวร์ของ Android เท่านั้น

แต่สิ่งที่ HTML5 จะเข้ามาแทนที่ได้ คือ Hybrid app หรือ Web app เองก็ตามจะมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเข้ามาใช้งานแอพลิเคชั่นนั้นได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ ตัวผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นเอง เพราะ จะได้เพิ่มฐานผู้ใช้แอพลิเคชั่นด้วย และ เพิ่มรายได้จากการโฆษณาที่อยู่ภายใต้แอพลิเคชั่นนั้นๆด้วย

วิวัฒนาการของ Web Application ตามลำดับ

อดีตและปัจจุบัน ปัจจุบันและอนาคต
1. Web Application 1. Web Application
2. PC / MAC 2. Smart phone / Tablet
3. Browser บน PC / MAC เช่น IE, Firefox 3. Browser บน Smart phone / Tablet เช่น iOS, Andriod, Windows

ในปัจจุบันองค์กรใหญ่ๆในโลกไอทีก็ต่างสนับสนุน HTML5 ไม่ว่าจะเป็น Apple, Google หรือแม้กระทั่ง Microsoft และ Adobe โดยเฉพาะสำหรับ Microsoft ที่กำลังพัฒนา Windows 8 ซึงเป็นแบบ Metro ใช้ HTML5 ในการพัฒนาแอพ ยิ่งทำให้ HTML5 นั้นมีความสำคัญขึ้นอีกมากเลยทีเดียว นอกจากนี้ HTML5 ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของ SEO (Search Engine Optimization) ช่วยเรื่องของ Search ranking ให้ดีขึ้น และในเรื่องของการรองรับกับอุปกรณ์เช่น Mobile หรือ Tablet ได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผลในการโหลดเว็บไซท์ได้ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้สำคัญมากในปัจจุบัน ซึ่งตัว HTML5 เองนั้นก็ไม่ได้เป็น HTML Standard ที่มาตัวคนเดียวโดดๆซะเมื่อไหร่ เพราะ HTML5 นั้นได้มีการทำงานร่วมกันกับ CSS3 (Cascading Style Sheets), JavaScript, Multimedia Codecs, และ SVG (Scalable Vector Graphics) ซึ่งจะทำให้มาตรฐาน HTML ดูเปลี่ยนแปลงไปมากในแง่ของการนำเสนอด้าน Multimedia

หน่วยงานที่กำหนดมาตรฐาน HTML5
หน่วยงานหลักมา 2 หน่วยงาน ได้แก่

  1. WHATWG (Web Hypertext Application Technology Working Group)
  2. W3C (World Wide Web Consortium)

HTML5 มีดีอะไร

  • ไดนามิกกราฟิกบนหน้าจอเว็บเพจ
  • ระบุตำแหน่งผู้ใช้
  • สร้างฟอร์มออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
  • สามารถเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน
  • เล่นวิดีโอและเสียงได้ง่าย
  • สร้างความหมายให้กับข้อมูล
  • ด้าน SEO (Search Engine Optimization) ช่วยเรื่องของ Search ranking ให้ดีขึ้น
  • ง่ายและสะดวกต่อการทำ Web Application โดยเฉพาะ Mobile Apps
  • สามารถสร้าง Animation Graphics 2D 3D บนเว็บ
  • ช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผลในการโหลดเว็บไซท์ได้

ข้อจำกัดของ HTML5

  1. แต่ละคุณสมบัติยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากทุก ๆ browser หรือจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด
  2. ยังไม่มีประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานที่ลงตัวแล้ว
  3. การใช้งานในรูปแบบ offline จะต้องมีการเขียนโปรแกรมเพิ่ม

ข้อมูลโดย Withoon Wangsa-nguankit, Managing Director at BizPotential Co., Ltd.
[2]


การสร้าง app ด้วย HTML5[แก้]

หลีกเลี่ยงเพลตฟอร์มเฉพาะ APIs API ย่อมาจาก Application Programming Interface คือ ช่องทางการเชื่อมต่อ, ช่องทางหนึ่งที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ผู้ให้บริการ API จากที่อื่น เป็นตัวกลางที่ทำให้โปรแกรมประยุกต์เชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่น หรือเชื่ิอมการทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการ[3]

HTML5 app จะสามารถนำมาเขียนเป็นแอพพลิเคชั่นเฉพาะเมื่อ เป้าหมายของแพลตฟอร์มของผู้ใช้งานนั้นต้องสนับสนุน APIs ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ โดยมี 2 สาเหตุคือ

1. API ที่เขียนใน Javascript ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นข้ามแพลตฟอร์ม Javascript เป็นเครื่องมือที่ไม่ใช่เพียงเครื่องมือเดียวที่เป็นมาตรฐานที่ใช้บนบราวเซอร์ HTML5 มันเป็นเพียงภาษาโปรแกรมขั้นแรกที่ได้รับการสนับสนุนโดยส่วนเครื่องมือในการพัฒนารุ่นล่าสุดของ Microsoft, Visual Studio, Appcelerator, Titanium and Node.js ซึ่งไม่ใช่แอพพลิเคชั่นเฉพาะ สำหรับ API แน่นอนว่าก็ต้องมีแอพพลิเคชั่นสำหรับ API โดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น JavaScripts Windows Runtime APIs ซึ่งสามารถพบได้ในส่วนขยาย ของ Google Chrome

2. ผู้ที่ท่องเว็บไซต์รู้อยู่แล้วว่าวิวัฒนาการของมาตรฐานเว็บไซต์มีการพัฒนามาเรื่อยมา หมายความว่าเวลาดำเนินการ HTML5 บนแพลตฟอร์มเป้าหมายของนักพัฒนานั้น มักจะสนับสนุน API ต่างกันเล็กน้อย ซึ่งคุณสมับติใหม่ๆ ได้เข้ามาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง นี่คือ สิ่งที่เป็นข้อดีของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนพื้นฐาน HTML5 แต่ก็เป็นข้อเสียด้านความยุ่งยากของนักพัฒนาเช่นกัน ดังนั้น แอพพลิเคชั่น HTML5 มักจำเป็นต้องใช้เครื่องมือข้ามแพลตฟอร์ม ซึ่งตัว APIs จะเข้ามามีบทบาทช่วยเติมเต็มในการรันระบบและแก้ไขข้อพิดพลาดที่ขาดหายไปด้วย

การแสดงผลบนหน้าจอที่แตกต่าง โดยปกติ Web Browser ทั่วไปสามารถแสดงผลบน Web Browser บนอุปกรณ์ Smart Phone / Tablets ได้ แต่การแสดงผลข้อมูลบางอย่างอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ที่มีขนาดหน้าจอเล็กจนเกินไป

HTML5 ออกเป็น 8 หมวด[แก้]

1. Semantics เทคโนโลยีกลุ่ม Semantics คือตัว syntax ของภาษา HTML5 ที่แน่นอนว่าเปลี่ยนไปจาก HTML4 ซึ่งมีแท็กใหม่ๆ และคุณสมบัติ (atrribute) ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกพอสมควร
   โดยโครงสร้างของภาษาแล้ว HTML5 ยังเหมือนกับ HTML ที่เราคุ้นเคย แต่เพิ่มแท็กใหม่ ตัดแท็กเก่า และเปลี่ยนวิธีใช้แท็กเก่าบางตัวออกไป
2. Offline & Storage เทคโนโลยีในหมวดนี้ก็ตรงตามชื่อหมวด นั่นคือช่วยให้เว็บสามารถทำงานแบบออฟไลน์ได้ และเก็บข้อมูลไว้ใช้งานบนเครื่องของผู้ชมเว็บได้
   - Web Storage เป็นการเก็บข้อมูลแบบง่าย แยกเป็น 2 อย่างคือ Session Storage เก็บข้อมูลลงSession ปิดแท๊บข้อมูลจะหายไป และ Local storage เก็บข้อมูลระยะยาวดดดยใช้ออปเจคต์ชื่อlocal storange ซึ่งสามารถเปิดเว็บเพจเดียวกันได้2แท๊บหรือมากกว่า ซึ่งจะแชร์ข้อมูลก้อนเดียวกันจากออปเจคต์ local storange
   - ฐานข้อมูลเป็นเทคโนโลยีเก็บที่ซับซ้อน
   - เทคโนโลยี File API คือ File Reader และ File Writer ซึ่งมีอยู่ใน HTML5
   - App cache ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลที่เกิดขึ้นเมื่อเว็บไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ต ทำให้เว็บแอพลิเคชั่นมีลักษณะเทียบเคียงกับแอพพลิเคชั่นที่ติดตังบนเครื่องมากขึ้น
3. Device Access ทคโนโลยีหมวดที่สามจะเน้นความเชื่อมโยงกับฟีเจอร์ของฮาร์ดแวร์ (โดยเฉพาะฮาร์ดแวร์แบบพกพา) เช่น
   Geolocation API เพื่อขอข้อมูลเชิงพิกัดของอุปกรณ์
   เข้าถึงไมโครโฟนและกล้องถ่ายภาพของอุปกรณ์
   เข้าถึงข้อมูลภายในตัวอุปกรณ์ เช่น สมุดที่อยู่ หรือข้อมูลการเอียงเครื่อง (tilt orientation)
   ฟีเจอร์ในกลุ่มนี้จะไม่ได้อยู่ในรูปของแท็ก HTML โดยตรง แต่จะเป็น API ที่ฝั่งเบราว์เซอร์ต้องเตรียมไว้ให้ แล้วเว็บเพจค่อยเรียกใช้ผ่านจาวาสคริปต์อีกทีหนึ่ง
   ในการใช้งานจริง ๆ เราคงใช้ผ่านเฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ที่เตรียมเรื่องพวกนี้ไว้ให้แล้วมากกว่า เช่น jQuery Mobile, Sencha Touch หรือ SproutCore เป็นต้น
4. Connectivity เทคโนโลยีกลุ่มที่สี่เน้นการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ดีขึ้น มี 2 อย่างที่สำคัญ
   - WebSockets
    WebSockets เป็น API ที่ออกมาเพื่อต่อยอดแนวทางของ AJAX ในอดีต อธิบายง่ายๆ มันคือการ push ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์มายังไคลเอนต์
   - Server-sent Events (SSE)
    SSE ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหา polling ของ AJAX เช่นเดียวกับ WebSockets หลักการทำงานของ SSE คือเซิร์ฟเวอร์สามารถส่งข้อมูลไปยังไคลเอนต์ได้โดยตรง โดยที่ไคลเอนต์ไม่ต้องร้องขอ (GET Request) ก่อน
5. Multimedia ในอดีต HTML4 ไม่สามารถแสดงวีดีโอ,เสียง ได้โดยตรงต้องอาศัยวิธีการฝังออปเจคต์และต้องติดตั้ง ปลั๊กอินเพื่อช่วยเล่น Multimedia แต่การใช้วิธีรี้ก็มีข้อเสียตรงที่มีปัญหาตามมามากมายแต่ใน HTML5 นั้นเราสามารถใช้แท็ก
6. 3D, Graphics & Effects 
   SVG (Scalable Vector Graphics)
   เป็นภาษาตระกูล XML ที่ออกแบบมาสำหรับการวาดกราฟิกแบบเวกเตอร์ (พอเทียบเคียงได้กับ SWF ของ Adobe หรือ XAML ของไมโครซอฟท์) เทคโนโลยีนี้มีมานานพอสมควรแล้ว คงไม่ต้องลงรายละเอียดนะครับ
   Canvas
   แท็ก <canvas> ถือเป็นของใหม่ที่สำคัญใน HTML5 เพราะมันช่วยเปลี่ยนลูกเล่นการแสดงผลของเว็บเพจไปอีกมาก
   WebGL เป็นไลบรารีกราฟิกที่พัฒนาอยู่บน OpenGL ES 2.0 ซึ่งเป็นไลบรารีกราฟิก 3 มิติมาตรฐานของวงการไอที แต่ดัดแปลงให้เรนเดอร์ภาพออกมาบนออบเจคต์ canvas ภายในเบราว์เซอร์ และสั่งงานได้ผ่านจาวาสคริปต์ ตอนเรนเดอร์ก็ทำผ่าน GPU ตามปกติ
   CSS3 นั้นต่างไปจาก CSS2 มาก เพราะมันไม่ใช่มาตรฐานเดี่ยวๆ แต่ประกอบด้วยมาตรฐานย่อยๆ จำนวน "หลายสิบ" ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ CSS3 3D Transforms ที่สามารถแปลงสภาพวัตถุบนเว็บเพจในแบบต่างๆ เช่น ขยายขนาด หมุนเอียงตามแกน xyz
7. Performance & Integration Web Worker
   - Web Worker คือจาวาสคริปต์ที่ทำงานแบบมัลติเธร็ด เพื่อให้สคริปต์สามารถทำงานเบื้องหลังได้หลายๆ งานพร้อมกัน
   การใช้งานเราสามารถสั่งได้ที่ตัวโค้ดจาวาสคริปต์โดยตรง โดยสร้างตัวแปรชนิด worker ขึ้นมาบอกเบราว์เซอร์ว่า โค้ดจาวาสคริปต์ส่วนนี้ ขอให้ทำงานแบบ Web Worker เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
   - XML Http Request (XHR)level2 คือ การปรับปรุงXHR ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็น3อย่างได้แก่ การแยกแยะเหตุการณ์,รองรับการอัพโหลดไฟล์จากฝั่ง client, ส่งข้อมูลข้ามโดเมน
8. CSS3 มีความสามารถเพิ่มขึ้นจาก CSS2 ในปัจจุบันมาก เพิ่มฟีเจอร์ของแวดวงสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหน้า การควบคุมการไหลของข้อความ และฟอนต์เข้ามาอีกมาก แต่ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น 3D, เสียงพูด, แอนิเมชัน ฯลฯ

SWOT ของ การสร้าง APP ด้วย HTML5[แก้]

Strengths (S) : รองรับอุปกรณ์หลากหลายทั้ง Desktop PC, Mac และ Mobile �แสดงภาพ เสียง หรือกราฟฟิกอนิเมชั่นต่างๆ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟท์แวร์เพิ่มเติม� สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ ไม่ต้องกังวลเรื่อง iOS android หรือ windows phone

Weaknesses (W) : แต่ละคุณสมบัติยังมิได้มีการสนับสนุนจากทุก Browser และ อุปกรณ์ Mobile ยังไม่ประกาศเป็นมาตรฐานที่กำหนดเสร็จสิ้นแล้ว การใช้ในรูปแบบ Offline (ไม่ได้ต่ออินเทอร์เน็ต) จะต้องมีการ เขียนโปรแกรมเพิ่มเติม

Opportunities (O) : พัฒนาโปรแกรมได้เหมือนกับโปรแกรมที่ใช้งานทั่วไป ไม่ใช่แสดงข้อมูลอย่างเดียว เขียนโปรแกรมง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบน Mobile ไม่ต้องพัฒนาในลักษณะ Native Apps และไม่ต้องนำโปรแกรมขึ้น App Store หรือ Google Play�- เขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะรองรับการติดต่อเพื่อเรียกใช้งานตามคุณสมบัติอุปกรณ์

Threats (T) : การพัฒนา app จะต้องดูด้วยว่าอุปกรณ์ หรือ Browser สนับสนุนชุดคำสั่งใดแล้ว Browser และชุดคำสั่งใดยังให้การสนับสนุนน้อยอยู่ การสร้าง app ที่มีความซับซ้อนจะต้องรู้โค้ดเหมือนเวลาที่เขียน website


อ้างอิง[แก้]

PetchKruapanich,"Volume 0: เริ่มต้นกับ HTML5",http://www.microsoft.com/thailand/msdn/ie9_html5.aspx https://www.blognone.com/news/29947

  1. http://itnews4u.com/Mobile_app_type.html
  2. http://www.slideshare.net/wangsasoft/html5-14721952
  3. http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2038-api-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html