ผู้ใช้:พงศกร ศรีสุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดโฆษิตวิหาร

ประวัติวัดโฆษิตวิหาร จังหวัดภูเก็ต

วัดโฆษิตวิหาร สังกัด มหานิกาย  ชนิดวัดราษฎร์

——-เจ้าอาวาส ปัจจุบัน

พระครูโฆษิตวิหารธรรม

( สมชาย โชติธมฺโม )

น.ธ.เอก ศศ.บ. , ศษ.บ. ,ศษ.ม.

——-ที่อยู่

วัดโฆษิตวิหาร เลขที่ 228ถนนเทพกระษัตรี ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

——-พื้นที่ตั้งวัดโฆษิตวิหาร

วัดเป็นที่เนินเขา  สภาพสิ่งแวดล้อมเป็นป่าไม้และภูเขา  มีพฤกษานานาพรรณ  ทั้งไม้ผลไม้ดอกและไม้ใบมากมาย   อาคารเสนาสนะต่างๆ มี อุโบสถกว้าง 8 เมตร  ยาว 21 เมตร  สร้าง พ.ศ. 2506 เป็นอาคารคอนกรีตหลังคาสองชั้น  ศาลาการเปรียญกว้าง 13.50 เมตร  ยาว 15 เมตร  สร้าง พ.ศ. 2506

——-ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดโฆษิตวิหาร

1.หลวงพ่อรอด     พ.ศ.2445-2453

     ผู้สร้างวัดโฆษิตวิหาร

2.พระอธิการชู     พ.ศ.2453-2454

3.พระธรรมปาลาจารย์ พ.ศ.2455-2468

     (เอี่ยม ฐานาจาโร) เจ้าคณะมณฑลภูเก็ต

4.พระวินัยธรซ่อง สุวณฺโณ  

     พ.ศ.2468-2480

5พระวิศาลสมณคุณ  พ.ศ. 2480-2503

      (สังข์ ปุญฺญวฑฺฒโน) เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต

6พระปลัดทอง ปุณฺณจุนฺโท

      พ.ศ. 2503-2507 เจ้าคณะตำบลตลาดใหญ่เขต 1

7 พระครูโฆษิตธรรมคุณ  

       (เซี้ยน จุนฺโท)  พ.ศ 2507-2552

       เจ้าคณะตำบลตลาดใหญ่

8 พระครูโฆษิตวิหารธรรม

       ( สมชาย โชติธมฺโม ) พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน

       น.ธ.เอก ศศ.บ. , ศษ.บ. ,ศษ.ม.

——-ประวัติวัดโฆษิตวิหาร

    หลวงพ่อรอดท่านธุดงค์มาจากจังหวัดสุราษฏร์ธานีเมื่อปี พ.ศ. 2445โดยท่านมาปักกลดบริเวณใกล้ ๆ ป่าช้าชาวจีนห่างจากตะแลงแกงประหารชีวิตนักโทษของเรือนจำมณฑลภูเก็ต ออกมาทางทิศใต้เล็กน้อย เดิมเรียกว่า “วัดโคกแสร้ง”หรือ”โคกแซะ”เนื่องจากที่ตั้งมีต้นแซะจำนวนมาก

     บริเวณนี้เรียกว่า “บ้านโดราว” เพี้ยนมาจากประดูราว (สำเนียงท้องถิ่นภูเก็ตเรียกต้นประดู่ว่าต้นโด) เนื่องจากมีการปลูกประดู่เป็นแถวต่อเนื่องตลอดแนวบริเวณนี้

     หลวงพ่อรอดพร้อมศิษยานุศิษย์ ได้ร่วมใจสร้างอุโบสถชั่วคราวขึ้น ณ ที่แห่งนี้ มีปริมณฑลกว้าง 8 ม. ยาว 21 ม. แต่ยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ท่านก็อาพาธด้วยโรคชรา ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2453 รวมเวลาที่ได้จำพรรษาและสร้างวัดอยู่ประมาณ 8 ปี

     วัดแห่งนี้มีมาเมื่อศูนย์กลางการปกครองเมืองภูเก็ตได้ย้ายลงมาทางตอนใต้ของตัวเกาะในราว พ. ศ. 2344 เดิมเป็นสถานที่นำศพนักโทษไปฝังหรือทิ้งเพราะหลักฐานที่เหลืออยู่คือมีถนนสายเล็ก ๆ คือ“ถนนเชิงคีรี”เชื่อมระหว่างเรือนจำภูเก็ต กับพื้นที่วัดโฆษิตในอดีต (ถนนเส้นข้างโรงเรียสตรีภูเก็ต)

     เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2455

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6) ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมา โดยระบุไว้ “ตำบลสันในนอก”  

    พ่อท่านรอด ท่านเชี่ยวชาญวิปัสสนาธุระท่านเป็นคนสมถะ เก็บตัว ไม่มีใครทราบประวัติส่วนตัวของท่าน มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่ท่านมีชีวิต ท่านไม่ยอมให้ใครถ่ายรูปท่าน แต่ด้วยชื่อเสียงและบารมีของท่าน จึงทำให้มีลูกศิษย์มากมายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เดินทางมาเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับท่าน และลูกศิษย์ของท่านหลายคนก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาได้แก่

-หลวงพ่อพลับ อินทสุวณโณ

  วัดเชิงทะเล(พระครูชโลปมคุณ) ภูเก็ต

-หลวงพ่อสงฆ์  

  วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร

-หลวงพ่อจีต  ปุญฺญสโร

  วัดถ้ำเขาพลู ชุมพร

-พระอธิการพัฒน์ นารโท

  วัดพัฒนาราม  สุราษฎร์ธานี

-พระครูสถิตสันตคุณ

  (หลวงพ่อพัว เกสโร) วัดบางเดือน    

   สุราษฎร์ธานี

-พระอธิการแดง คุณสมฺปนฺโน

   วัดวิหาร ต.น้ำรอบ สุราษฎร์ธานี

-พระสมุห์ทองพิมพ์ ภทฺรมุนี

   (หลวงพ่อทองพิม)วัดหัวสวน สุราษฎร์ธานี

     ในอดีตอัฐิของหลวงพ่อรอดถูกฝังไว้บริเวณด้านซ้ายของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง โดยมีหินปิดทับอยู่ โดยอัฐิถูกบรรจุอยู่ในผอบสีขาวลายเขียว

   

——-อภิญญาปฏิปทาหลวงพ่อรอดวัดโฆษิต

    ชาวบ้านบนหลวงพ่อรอดไม่ให้หลวงพ่อสงฆ์กลับชุมพร เมื่อเดือนตุลาคม 2521 หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ได้รับกิจนิมนต์จากคุณไมตรี บุญสูงและคณะ ให้เดินทางมาเททองหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อรอดและรูปเหมือนหลวงพ่อสงฆ์ที่วัดโฆษิตวิหาร โดยคณะที่เดินทางมากับหลวงพ่อสงฆ์ ประกอบด้วย นพ.เฉลียว นายสร้าง (ศิษยิรับใช้หลวงพ่อ) และนักบิน 2 ท่าน โดยออกจากวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เจ็ดโมงเศษด้วยเฮลิคอปเตอร์ มาถึงภูเก็ต สิบโมงเศษ โดยมีกำหนดการเททองหล่อเสร็จก็จะกลับช่วงบ่ายเลย เพราะอยู่ระหว่างพรรษา พักค้างคืนไม่ได้

     หลังจากทำพิธิทางสงฆ์เสร็จ บ่ายสามโมงเศษ หลวงพ่อสงฆ์และคณะก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์เพื่อกลับชุมพร ขณะออกจากภูเก็ตท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส เมื่อเครื่องบินมาถึงเหนือเกาะปันหยีก็เกิดท้องฟ้ามืดมิดดำสนิทกะทันหัน มองไม่เห็นอะไรเลย หลวงพ่อสงฆ์จึงว่าถ้าไปต่อไม่ได้ก็ให้กลับภูเก็ต นพ.เฉลียวมาทราบว่ามีชาวบ้านขึ้นเขาไปบนรูปเหมือนหลวงพ่อรอด (เนื้อปูน) ให้หลวงพ่อสงฆ์กลับชุมพรไม่ได้ ให้ต้องพักค้างที่วัดโฆษิต เนื่องจากยังมีชาวบ้านจำนวนมากที่ยังอยากพบหลวงพ่อสงฆ์ เมื่อนพ.เฉลียวทราบดังนั้นจึงขึ้นเขาไปจุดธูปเทียนบนรูปเหมือนหลวงพ่อรอดว่า ในวันรุ่งขึ้นขอให้ได้กลับชุมพร ถ้ามีใครมาบนให้อยู่ต่อขอหลวงพ่อรอดอย่ารับ เมื่อนพ.เฉลียวลงเขามาถึงกฏิที่พักหลวงพ่อสงฆ์ ท่านก็ทักว่าไปพบอาจารย์รอดมาแล้วหรือ นพ.เฉลียวก็เรียนให้ท่านทราบ ในวันรุ่งขึ้นหลวงพ่อสงฆ์และคณะก็ได้เดินทางกลับชุมพร

     รูปเหมือนหลวงพ่อรอด วัดโฆษิตวิหาร เนื้อปูน (บรรจุอัฐิหลวงพ่อรอด) พ.ศ.2507

ในปี พ.ศ.2507 มีอยู่วันหนึ่ง โยมผู้หญิงท่านหนึ่ง ได้พูดคุยกับอาจารย์เซี้ยน เจ้าอาวาสวัดโฆษิตรุ่นที่ 7 ว่า อัฐิหลวงพ่อรอดที่ถูกห่อด้วยผ้าขาวที่ตั้งไว้ในโรงครัว น่าจะนำไปลอยทะเล หากวางเช่นนี้สุนัขอาจคาบไปได้ 2 สัปดาห์ต่อมา หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ได้เดินทางมาที่วัดโฆษิต โดยไม่ได้แจ้งกำหนดการล่วงหน้า หลวงพ่อสงฆ์ได้มายินตรงหน้าอาจารย์เซี้ยน พร้อมกับในมือถือห่อผ้าขาวที่ใส่อัฐิหลวงพ่อรอด หลวงพ่อสงฆ์บอกว่า หลวงพ่อรอดไปเข้าฝัน 2 ครั้งติดกันว่า ทางวัดโฆษิตจะเอาอัฐิท่านไปลอยทะเล ให้หลวงพ่อสงฆ์มาเอาอัฐิ หลวงสงฆ์จึงต้องการขออัฐิกลับไปวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อาจารย์เซี้ยนฟังดังนั้นตกใจมาก

     จึงสรุปกันว่า ให้แบ่งอัฐิหลวงพ่อรอดออกเป็น 2 ส่วน ไว้ที่วัดโฆษิตและวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยกันคนละส่วน ในส่วนของวัดโฆษิตจึงคิดกันว่าจะเก็บอัฐิไว้ที่ไหน จึงเกิดความคิดว่าจะสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อรอดขนาดเท่าคนจริงขึ้นมา และบรรจุอัฐิท่านไว้ในรูปเหมือน แต่ในเวลานั้น (พ.ศ.2507) ทางวัดยังขาดแคลนปัจจัยและก็ไม่รู้จะให้ใครปั้นองค์หลวงพ่อรอด คิดอ่านกันอยู่นาน ปรากฏว่าวันหนึ่งมีพระขาเป๋รูปหนึ่งธุดงค์ผ่านมาที่วัดโฆษิต และทราบว่ามีฝีมือด้านงานปั้น ทางวัดจึงสั่งซื้อปูนซีเมนต์ขาวมา ให้พระรูปนั้นช่วยปั้นให้ โดยใช้เวลาเดือนเศษ เมื่องานเสร็จพระรูปนั้นก็ธุดงค์ออกจากวัดไป

      ปัจจุบันรูปเหมือนหลวงพ่อรอด เนื้อปูนองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ในศาลาด้านบน โดยเดินขึ้นไปทางอุโบสถแล้วออกทางขวา เดินบันไดขึ้นเขาไปอีก ซึ่งหลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าที่วัดโฆษิต มีรูปเหมือนหลวงพ่อรอดองค์นี้อยู่ หากท่านใดไปวัดโฆษิต นอกจากสักการะรูปเหมือนหลวงพ่อรอด เนื้อโลหะ (สร้าง พ.ศ.2523) ในศาลาด้านล่างแล้ว เดินขึ้นเขาไปอีกหน่อยสักการะรูปเหมือนเนื้อปูนในศาลาด้านบน

     ในพิธีพุทธาภิเษก มีคุณไมตรี บุญสูง เป็นประธาน และพ.ต.ท.จิตร อจลบุญ (รองผู้กำกับจ.ภูเก็ต) เป็นรองประธาน โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ 9 รูปในภาคใต้ ทราบว่ามีเกจิจากเขาอ้อแต่ไม่ทราบชื่อ โดยทำพิธีในศาลาการเปรียญ เมื่อเดือนมกราคม 2508 โดยสาเหตุที่ไม่ได้จัดพิธีในอุโบสถ เนื่องจากขณะนั้นอุโบสถเก่าชำรุดทรุดโทรมมากขณะทำพิธีมีฝูงผึ้งหลวงมาเกาะกลุ่มบริเวณพิธีปลุกเสกตลอดงาน

     พระบูชารุ่นแรกนี้ สังเกตที่ใบหน้า เส้นหน้าผาก ดวงตา จมูก รอยยิ้ม และชื่อพ่อท่านที่ฐาน มีความคมชัดมาก ใต้ฐานทาสีแดงทุกองค์ (สีมงคล)

รูปหลวงพ่อรอด วัดโฆษิตวิหาร

     ประมาณปี พ.ศ.2508 หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ได้ส่งพระลูกวัดเดินทางมาที่วัดโฆษิตวิหาร เมื่อมาถึงได้แจ้งกับทางเจ้าอาวาสวัดโฆษิตว่า หลวงพ่อรอดได้มาเข้าฝันหลวงพ่อสงฆ์ให้มาที่วัดโฆษิต เพื่อมาหารูปของท่าน ซึ่งมีอยู่เพียงรูปเดียว แต่ปรากฏว่าหาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ

     หลังจากนั้นทางวัดได้มีการจุดธูปเทียนบอกกล่าวหลวงพ่อรอดให้ช่วยหารูปให้พบ ปรากฏว่าวันหนึ่งได้ไปหาในกุฏิเก่าของพระวิศาลสมณคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆษิต รุ่นที่ 5 กองหนังสือหลังตู้ที่วางทับซ้อนกันจำนวนมากหล่นลงมา ปรากฏว่าในกองหนังสือเหล่านั้นมีรูปถ่ายหลวงพ่อรอด เป็นรูปท่านภายหลังมรณภาพแล้วนั่งบนเก้าอี้

     เนื่องจากรูปถ่ายดังกล่าวเป็นรูปเก่า ภาพค่อนข้างลางเลือนมาก ทางวัดจึงนำรูปไปให้ร้านเลี่ยงอิ้วแต่งภาพ และทำเป็นสำเนารูปถ่าย ประมาณ 100 รูป เปิดให้ชาวบ้านเช่าบูชา รูปละ 50 บาท ออกในงานปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลอง ในวันมาฆบูชา ในอดีต

หลวงพ่อแดง วัดวิหาร มาภูเก็ต

     ประมาณปี พ.ศ.2448 หลวงพ่อแดงได้ธุดงค์มาภูเก็ต เพื่อมาเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อรอด วัดโคกแซะ (วัดโฆษิตวิหาร) ท่านเรียนอยู่ 5 พรรษา ก็กราบลาออกธุดงค์ไปพม่า กลับจากพม่า ท่านก็กลับมาเยี่ยมหลวงพ่อรอดอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นการมาเยี่ยมในช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อรอด (หลวงพ่อรอด มรณภาพ พ.ศ.2453) การมาภูเก็ตครั้งนี้ ท่านมาจำพรรษานานถึง 10 ปี

บารมีหลวงพ่อรอด วัดโฆษิตวิหาร

     หลวงพ่อสงฆ์ได้เคยเล่าเรื่องราวเกี่ยวหลวงพ่อรอดให้ฟัง  ความว่า หลวงพ่อรอดมาเข้าฝันให้หลวงพ่อสงฆ์ไปเอาอัฐิท่านที่วัดโฆษิต เพราะทางวัดโฆษิตจะนำอัฐิท่านไปลอยทะเล (ข้อมูลตรงกัน) เมื่อหลวงพ่อสงฆ์มาถึงวัดโฆษิต สามารถเดินไปหยิบอัฐิหลวงพ่อรอดเอง โดยไม่มีใครบอกว่าอยู่ที่ไหน ขณะนั่งรถกลับชุมพรปรากฏว่ามีคนเห็นพระนั่งสมาธิอยู่บนหลังคารถด้วย หลวงพ่อสงฆ์ได้นำอัฐิมาไว้ในกุฏิ ตั้งบูชากับรูปหลวงพ่อรอด ไว้ที่หัวเตียงโดยหลวงพ่อสงฆ์จะกราบอัฐิและรูปหลวงพ่อรอดก่อนนอนทุกคืน

     มีวันหนึ่งมีชาวบ้านพาคนโดนของหรือโดนผีไม่แน่ชัด มาให้หลวงพ่อสงฆ์ช่วยรักษา ปรากฏว่าเพียงย่างเท้าเข้าบริเวณกุฏิหลวงพ่อสงฆ์ก็หายเป็นปกติ คุณลุงจึงถามหลวงพ่อสงฆ์ว่า หลวงพ่อใช้คาถาบทใดเป่าให้ทำไมหายไวจัง หลวงพ่อสงฆ์บอกว่าไม่ได้ทำไรเลย ที่เค้าหายเพราะบารมีหลวงพ่อรอด เนื่องจากสมัยที่หลวงพ่อรอดยังมีชีวิต ท่านเป็นพระที่เก่งด้านวิปัสสนา และมีจิดแข็งมาก พวกผีและของไม่ดีจะกลัวท่าน ปัจจุบันอัฐิหลวงพ่อรอดก็ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในกุฏิหลวงพ่อสงฆ์ดังเดิม

——-เหตุการณ์สำคัญต่างๆของวัดโฆษิตวิหาร

-พ.ศ. 2471

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 7) เวลา 15.30 น.ทรงเสด็จมายัง ณ วัดโฆสิตวิหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2471

-พ.ศ. 2522

สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวราลงกรณ (พระองค์ที่ 18)เสด็จทรงประทับแรม ณ วัดโฆษิตวิหารวันที่ 11-12 มิถุนายน 2522

-พ.ศ. 2445

หลวงพ่อรอด (ปฐมเจ้าอาวาส)สร้างวัดโฆษิตวิหาร ต.สันใน (ต.ตลาดใหญ่) อ.เมือง จ.ภูเก็จเดิมชื่อ วัดโคกแซะ เชิงเขาโคกแซะปัจจุบันเรียกว่าเขาโต๊ะแซะต่อมาชื่อ วัดโฆสิตสังฆารามและปัจจุบันชื่อ วัดโฆษิตวิหาร

-พ.ศ. 2453

หลวงพ่อรอด (ปฐมเจ้าอาวาส) มรณภาพ

-พ.ศ. 2455

พระอธิการชู (เจ้าอาวาสรูปที่ 2) มรณภาพ

-พ.ศ. 2455

พระครูเหมเจติยานุรักษ์ พระอธิการชู และขุนรวงแพ่ง ขอพระราชทานวิสุงคามธสีมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระราชทานวิสุงคามธสีมาเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2455

-พ.ศ. 2456

พลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้สร้างโบสถ์ถวาย

-พ.ศ. 2456

อำมาตย์ตรี พระพิทักษ์ชินประชา (ม้าเสียง ตัณฑวณิช)ดรมการพิเศษมณฑทภูเก็ตเป็นมรรคนายกคนแรกของวัดโฆษิตวิหาร

-พ.ศ. 2465

จางวางโท พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตสร้างรอยพระบาทจำลองรอยแรกในมณฑลภูเก็ต

-พ.ศ. 2466

จางวางโท พระยาสุรินทราชา(นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตสร้างมลฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง

-พ.ศ. 2468

พระธรรมปาลาจารย์

เอี่ยม ฐานาจาโร(เจ้าอาวาสรูปที่ 3)  มรณภาพ 7 กันยายน 2468

-พ.ศ. 2491

พระวินัยธรซ่อง สุวณฺโณ(เจ้าอาวาสรูปที่ 4) มรณภาพ

-พ.ศ. 2535

พระวิศาลสมณคุณ(สังข์ ปุญฺญวฑฺฒโน)

(เจ้าอาวาสรูปที่ 5) มรณภาพ 21 เมษายน 2535

-พ.ศ. 2507

พระปลัดทอง ปุณฺณจุนฺโท

(เจ้าอาวาสรูปที่ 6) มรณภาพ

-พ.ศ. 2552

พระครูโฆษิตธรรมคุณ (เจ้าอาวาสรูปที่ 7) มรณภาพ วันที่28 มีนาคม 2552

-พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน

พระครูโฆษิตวิหารธรรม (สมชาย โชติธมฺโม) น.ธ.เอก ศศ.บ. , ศษ.บ. ,ศษ.ม.

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส (รูปที่8)

——-ศาสนวัตถุสำคัญภายในวัดโฆษิตวิหาร

1.รอยพระพุทธบาทจำลองและมณฑป

เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองรอยแรกของมณฑลภูเก็ตถูกสร้างขึ้นโดยพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต เมื่อปีพ.ศ.2465 โดยวัตถุประสงค์การสร้างระบุว่า มณฑลภูเก็ต (ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ตะกั่วป่า และระนอง) ยังไม่มีรอยพระพุทธบาทจำลองให้รำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มณฑลภูเก็ตจึงได้จ้างช่างหล่อรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นเป็นรอยแรกในมณฑลนี้ และนำมาประดิษฐานที่วัดโฆษิต เนื่องจากขณะนั้นวัดโฆษิตเป็นที่จำพรรษาของพระธรรมปาลาจารย์ (เอี่ยม) เจ้าคณะมณฑลภูเก็ต และทางมณฑลภูเก็ตได้มีหนังสือเรี่ยไรเงินทำบุญจากจังหวัดต่างๆในมณฑล เพื่อร่วมทำบุญสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง หากสำเร็จแล้วต่อไปจะได้มีการจัดงานประจำปี ให้ประชาชนมาสักการะบูชา การสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ได้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2466 แต่ปัจจัยน่าจะไม่เพียงพอ และต่อมาในปีพ.ศ.2468 เจ้าคุณเอี่ยม เจ้าคณะมณฑลมรณภาพ การสร้างจึงน่าจะหยุดไป รอยพระพุทธบาทจำลองดังกล่าว มีขนาดความกว้าง 21 นิ้ว ความยาว 51 นิ้ว มีลายก้นหอย กงจักร พระพุทธรูปปางต่างๆ รูปสัตว์หิมพานต์ รวม 108 ลายลักษณ์ รอยพระพุทธบาทจำลองดังกล่าว ถือเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดโฆษิตและของชาวภูเก็ต แม้แต่พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ ก็เคยมานมัสการ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2507

2.มณฑปหลวงพ่อรอด

วัดโฆษิตวิหารปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ดังนี้

-รอยพระพุทธบาทจำลอง รอยแรกของมณฑลภูเก็ต สร้างโดยพระยาสุรินทราชา (สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต) เมื่อปี พ.ศ.2465

-พระสังกัจจายน์ สร้างโดยนางเคลือบ (ภรรยาพระอร่ามสาครเขตต์) เมื่อปี พ.ศ.2481

-รูปเหมือนหลวงพ่อรอด มีนายสมควร ตันนาภัย เป็นผู้สร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ.2523

-รูปเหมือนหลวงพ่อสงฆ์ มีนายโยธิน ปาลิมาพันธ์ เป็นผู้สร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ.2523

-รูปเหมือนสมเด็จโต เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม มอบให้วัดโฆษิตมา เมื่อปี พ.ศ.2535

-รูปเหมือนหลวงพ่อทวด ไปเททองหล่อและพุทธาภิเษกที่วัดพะโคะ เมื่อปี พ.ศ.2535

-รูปเหมือนหลวงพ่อคล้าย ไปเททองหล่อและพุทธาภิเษกที่วัดสวนขัน เมื่อปี พ.ศ.2535

-รูปเหมือนพระวิศาลสมณคุณ มีนายวิชิด ต.ทับแก้ว เป็นผู้สร้างถวาย

3.แผ่นจารึกสถานที่ประทับแรม

   สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์มหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เสด็จมาประทับแรมเมื่อวันที่ 11-12มิถุนายน 2522

     ณ กุฏิพระวิศาลสมณคุณเจ้าคณะอำเภอเมืองภูเก็ตในสมัยของพระครูโฆสิตธรรมคุณเจ้าอาวาสรูปที่ 7 แห่งวัดโฆษิตวิหารจังหวัดภูเก็ต

4.พัดรองที่ระลึกสมเด็จพระศรีสวรินทิรา

    ในงานฉลองครบรอบ 60 พรรษา พ.ศ. 2466 สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)

     การเขียนฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงระบุเรียกว่า "พัดสุข” สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ

     ทรงเขียนทูลเกล้าฯถวายตามพระราชดำรัสสั่งของสมเด็จพระพันวัสสาอัยิกาเจ้าในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 60ปีเมื่อ พ.ศ. 2465

     พระราชทานแด่พระธรรมปาลาจารย์

(เอี่ยม ฐานาจาโร) เจ้าคณะมณฑลภูเก็ตเจ้าอาวาสวัดโฆษิตวิหารมณฑลภูเก็ตในขณะนั้น

      วัดโฆษิตวิหารเป็นอดีตแดนประหารของมณฑลภูเก็ตนักโทษประหารรายสุดท้ายที่จบชีวิตที่นี่ คือนายจันทร์ บริบาล ผู้ยิงปลิดชีพพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2456

——-ด้านสาธารณสงเคราะห์

   วัดโฆษิตวิหารได้ให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค ทุนการศึกษา แก่ครอบครัวผู้ยากไร้ รวมถึงเหตุจากสถานะการภัยพิษัติทางธรรมชาติ - อุบัติภัย และช่วยเหลือแก่สถานพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง ตลอดมา ทางวัดได้สงเคราะห์ศพผู้ยากไร้ ไร้ญาติ ผู้มีรายได้น้อย ผู้ยากจรน ในการทำการฌาปนกิจศพ (เผาฟรี) จนท่านพระครูโฆษิตวิหารธรรม เจ้าอาวาสวัดโฆษิตวิหาร ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต ให้ดำรงดำแหน่งใน “ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ “ คณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ.2521

เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ.2537

เป็นหน่วยสงเคราะห์พุทธมามกะ

ในความอุปภัมภ์ของกรมศาสนา

พ.ศ. 2547

เป็นศูนย์เก็บร่างและฌาปนกิจศพของผู้เสียชีวิตจากเหตุดารณ์คลื่นสึนามิ

พ.ศ.2553

เป็นวัดโครงการ ราษฎร์- รัฐศรัทธาธรรม ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ.2560

เป็นสถานทำการฌาปนกิจเก็บศพร่างผู้เสียชีวิตและตั้งศูนย์บริการ นทท.รับศพกลับ

และศูนย์อำนวยอำนวยความสะดวกพิธีกรรมทางศาสนา จากเหตุการณ์อุบัติเหตุเรือ “ฟีนิกซ์ พีซีไดวิ่ง” ล่มในทะเลภูเก็ต

พ.ศ. 2561

เป็นชุมชนคุณธรรม โครงการลานธรรม ลานวิถีไทย อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

ของกระทรวงวัฒนธรรม

พ.ศ.2561

เป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

พ.ศ.2563

เป็นสมาชิกในสมัชชาผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 รุ่นที่3 ของจังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2564

เป็นฌาปนสถานเผาศพผู้ป่วยไวโควิด-19 ในเขตจังหวัดภูเก็ต

——-ผลงานและรางวัลเกียรติคุณ

พ.ศ.2556

รับรางวัลอุทยานการศึกษาภายในวัด

พ.ศ.2560

รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง

พ.ศ.2560

รับรางวัลวัดส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม

ระดับดีมาก

พ.ศ.2561

รับรางวัลชนะเลิศประเภทวัด ในโครงการภูเก็ตสวยด้วยมือเรา ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว

พ.ศ. 2563

รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น

ประจำปี พ.ศ.2563

——-ปูชนียบุคคลสำคัญที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัดโฆษิตวิหาร

1. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6)

2. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 7)

3. สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)

4. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์มหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่18

5. พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

6. พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

7. อำมาตย์ตรี พระพิทักษ์ชินประชา (ม้าเสียง ตัณฑวณิช)กรมการพิเศษมณฑทภูเก็ต

8. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

9. อำมาตย์ตรีหลวงพิทักษ์ทวีป (สว่างมาลกานนท์) นายอำเภอทุ่งคา (เมืองภูเก็ต)

10. รองอำมาตย์โทขุนเสนานุวงภักดี (พิตร ณ นคร) นายอำเภอเมืองถลาง

11. ขุนนิตยากรวิจิตร (เรียวหุตะจูฑะ)

สรรพสามิตจังหวัดภูเก็ต

12. พระธรรมโกศาจารย์

(พุทธทาสภิกขุ)

(เงื่อม อินทปญโญ)

13.พระครูพิศิษฐ์อรรถการ

(พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์)

14. พระอร่ามสาครเขตร  (ตันเพ็กฮวด  ตัณฑัยย์)

15. พระเทพวิสุทธาภรณ์ (ทองสืบ สจฺจสาโร ป.ธ.๓) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวงเจ้าคณะเขตพระนคร กทม.