ผู้ใช้:นางสาวณัฐชยา ไสกาง/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

ความหมายของรัฐศาสตร์[แก้]

รัฐศาสตร์ (Political Science) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อันเป็นสาขาหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ ที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐ ว่าด้วยทฤษฎีแห่งรัฐ การวิวัฒนาการ มีกำเนิดมาอย่างไร สถาบันทางการเมืองที่ทำหน้าที่ดำเนินการปกครองมีกลไกไปในทางใด การจัดองค์การต่างๆ ในทางปกครอง รูปแบบของรัฐบาล หรือสถาบันทางการเมืองที่ต้องออกกฎหมายและรักษาการณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเอกชน (Individual) หรือกลุ่มชน (Group) กับรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ตลอดจนแนวคิดทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อโลก ตลอดจนการแสวงหาอำนาจของกลุ่มการเมืองหรือภายในกลุ่มการเมือง หรือสถาบันการเมืองต่างๆ เพื่อการปกครองรัฐให้เป็นไปด้วยดีที่สุด จากความหมายดังกล่าว รัฐศาสตร์จึงมีความเกี่ยวพันกับสังคมศาสตร์ทุกสาขาวิชาอย่างแยกไม่ออก การที่เราจะศึกษาวิชารัฐศาสตร์จำเป็นต้องกำจัดขอบเขต โดยวิชารัฐศาสตร์จะมุ่งเน้นศึกษาเป็นพิเศษใน 3 หัวข้อ คือ

  1. รัฐ (State) เป็นหัวใจของวิชารัฐศาสตร์ เราจำเป็นที่จะต้องศึกษาว่า รัฐคืออะไร ความหมายและองค์ประกอบของรัฐ กำเนิดของรัฐ และวิวัฒนาการของรัฐ และแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐ
  2. สถาบันทางการเมือง (Political Institutions) หมายถึง องค์กรหรือหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครองและดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งอาจจะก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมายของรัฐ หรืออาจก่อตั้งขึ้นโดยการร่วมใจกันของเอกชน หรือตามประเพณีก็ได้ สถาบันทางการเมืองมี สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐบาล พรรคการเมือง เป็นต้น
  3. ปรัชญาทางการเมือง (Political Philosophy) คือ ความคิดความเชื่อของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในยุคใดยุคหนึ่ง อันเป็นรากฐานของระบบการเมืองที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและความต้องการของตน หมายความรวมถึง อุดมการณ์หรือเป้าหมายที่จะเป็นแรงผลักดันในมนุษย์ปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ เช่น ผู้บริหารประเทศไทยมีปรัชญาทางการเมืองที่มุ่งในทางพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมและทางกสิกรรม กับปรารถนาให้ประชาชาติมีการกินดีอยู่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์ (Objective or Ends) แต่การที่จะปฏิบัติ (Means) นั้นอาจจะใช้ระบบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งก็เป็นวิถีทางที่อาจจะนำมาถึงจุดมุ่งหมายนั้นๆ ก็ได้[1]

ความสำคัญของวิชารัฐศาสตร์[แก้]

1.วิชารัฐศาสตร์มุ่งศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านรัฐศาสตร์และเข้าใจในเนื้อหาสาระของวิชานี้ซึ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การบริหารกิจการของรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้เหตุผลตามแนวคิดนักคิดแต่ละท่านเพราะรัฐศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักการทางตรรกวิทยาปรัชญาและความรู้สาขาอื่นซึ่งสามารถนำไปใช้อธิบายและวิเคราะห์ประเมินแนวโน้มในอนาคตได้

2.การศึกษารัฐศาสตร์เพื่อใช้เป็นวิชาเสริมในการทำความเข้าใจสาขาวิชาอื่น รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวพันกับสาขาอื่นทำให้รัฐศาสตร์ได้รับผลกระทบจากสาขาวิชาอื่นและในทางกลับกัน ศาสตร์ในสาขาอื่นก็ได้รับผลกระทบจากวิชารัฐศาสตร์เช่นเดียวกันฉะนั้นการศึกษาวิชารัฐศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหา เพื่อเป็นรากฐานในการเสริมความเข้าใจให้มีลักษณะเป็นมิติที่กว้างขวาง

3.การศึกษาวิชารัฐศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในสังคมซึ่งจะทำให้ประชาชนในสังคมสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างสอดคล้องกับระบอบการปกครองและเข้าใจถึงสิทธิหน้าทีี่ที่ตนมีต่อรัฐและอำนาจหน้าที่ที่รัฐมีต่อประชาชนทุกคนเมื่อทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกัน การปกครองประเทศก็จะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่เกิดปัญา การศึกษาวิชารัฐศาสตร์ในฐานะที่เป็วิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชนทั้งภายในและภายนอก ประเทศไทยก็ต้องมีบุคคลากรที่มีความรู้ทางด้ารัฐศาสตร์ร่วมอยู่ด้วยเสมอ เพราะการปฏิบัติงานในปัจจุบันก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถในหลายวิชาประกอบกันฉะนั้นองค์กรทั้งหลายของรัฐและเอกชนจึงต้องการบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาอื่นด้วย [2]

ขอบข่ายของการศึกษาวิชารัฐศาสตร์[แก้]

รัฐศาสตร์ถือเป็นสาขาวิชาที่มีขอบข่ายความสนใจกว้างขวางมากความสนใจในประเด็นทางด้านการเมืองนั้นไม่เพียงเฉพาะการเมืองในรูปแบบเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการเมืองในมิติอื่นๆอีกด้วย ภายใต้ความสนใจที่กว้างขวาง สามารถสรุปขอบข่ายของวิชารัฐศาสตร์โดยแบ่งเป็นสาขาได้ดังนี้

1.สาขาปรัชญาการเมือง (political philosophy) อาจกล่าวได้ว่าปรัชญาการเมืองเป็นจุดกำเนิดและนำไปสูการพัฒนาการขององค์ความรู้ของรัฐศาสตร์ สาขาปรัชญาการเมื่องพิจารณาการเมืองในลักษณะที่ควรจะเป็น มากกว่าจะพิจารณาการเมืองตามที่ปรรากฎจริงหรือเป็นอยู่จริงสาขานี้จึงถูกมองว่ามีความเป็นวิทยาศาสตร์น้อยที่สุด

2.สาขาทฤษฎีการเมือง(political theory) สาขานี้มุ่งศึกษาหาข้อสรุปถึงปรากฎกาารณ์ทางการเมืองต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วนำไปสู่การสร้างทฤษฎีเพื่อนำไปใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นว่าจะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะใด ทฤษฎีนี้จะอธิบายการกำเนิดการดำรงอยู่และล่มสลายชองพรรคการเมืองว่าเป้นอย่างไร

3.สาขากฎหมายมหาชน (public Law) สาขานี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาของกฎหมายรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นกฎหมายที่กำหนดหรือวางระเบียบให้กับสถาบันการเมืองของรัฐ หรือกำหนดกฎเกณฑ์ จึงกล่าวได้ว่า สาขานี้เป็นสาขาที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของรัฐศาสตร์ เนื่องจากกฎหมายกับบัฐมีความเกี่ยวพันกันอย่างยาวนาน ดพราะรัฐทุกรัฐต่างบัญญัติกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดรัเบียบภายในรัฐและสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆ

4.สาขาการเมืองการปกครอง(government) สาขานี้มุ่งสนใจศึกษาเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองการปกครองต่างๆทั้งในสังคมที่มีรูแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและรูปแบบอืื่น นอกจากนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเมือง ชนชั้นนำ ควบคู่กับการศึกษาในเรื่องของฝ่ายบริหาร ศึกษาพฤติกรรมของฝ่ายนิติบัญยัติตลอดจนในส่วนของประชาชนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองและการออกเสียงเลือกตั้ง

5.สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (public administration)สถาบันการศึกษาบางแห่เรียกสาขานี้ว่า การบริหารรัฐกิจ สาขานี้มุ่งศึกษาถึงองค์การของภาครัฐหรือระบบราชการ กระบวนการในการบริหารงานในระบบราชการกาารนำนโยบายที่รับมอบหมายจากรัฐบาลไปปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ทราบถึงเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนเทคนิค วิธีการต่างๆ ในการบริหารงานราชการให้มีประสิทธิภาพเและประสิทธิผล เพื่อให้การนำไปใช้ปฏิบัติบรรลุผลสำเร็จด้วยดี

6.สาขาการเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics) เดิมสาขานี้เรียกชื่อว่า การปกครองเปรียบเทียบหรือรัฐบาลเปรียบเทียบ มุ่งศึกษาด้วยการเปรียบเทียบประเด็นปัยหาต่างๆในทางการเมืองการปกครองกับสังคมอื่นๆ เช่นเปรียบเทียบในประเด้นระหว่างรัฐบาล ระบอบประชาธิปไตยกับระรอบเผด็จการ การเปรียบเทียบมีประโยชน์ในแง่ของการมองเห็นถึงความเมือนและแตกต่าง ข้อดีและจุดบกพร่องของแต่ละสังคมเพื่อนำส่วนที่เป็นข้อดีมาปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องในสังคมของตนเองให้ดีขึ้นต่อไป

7.สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(International Relations) สาขานี้มุ่งศึกาาถึงพฤติกรรมของประเทศหรือรัฐต่างๆ ที่มีผลต่อประเทศหรือรัฐอื่นๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เช่น นโยบายต่างประเทศ การรวมกลุ่มระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น สาขานี้แต่เดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสาขาของรัฐศาสตร์แต่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองตามมาในระยะเวลาไม่นานนักก็ได้รับความนิยมสนใจศึกษากันอย่างแพร่หลายและถือเป็นสาขาหนึ่งสาขาที่สำคัญของรัฐศาสตร์[3]

ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

รัฐประศาสนศาสตร์ หมายึง การบริหารภาครัฐ การบริหารรัฐกิจ การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการบริหารราชการโดยแต่ละคำมีความหมายเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมากคำว่ารัฐประศาสนศาสตร์ยังหมายถึง วิชาความรู้ กิจกรรมหรือการบริหารของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในทุกระดับ ทั้งในส่วนท้องถิ่น วิชาความรู้ กิจกรรมหรือการบริหารดังกล่าวนี้เกี่ยวกับงานหรือกิจการสาธารณะหรือการให้บริการสาธารณะ เนื่องจากคำว่า รัฐประศาสนศาสตร์ นั้น ส่วนหนึ่งหมายถึงการบริหารภาครัฐ ดังนั้น จึงควรให้ความหมายของคำว่า การบริหาร รวมทั้งเสนอ แนวทาง หรือ วิธีการ ให้ความหมายคำว่าการบริหารไว้ในที่นี้ด้วย การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานหรือการจัดการใดของหน่วยงานของรีฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ คน สิ่งของและหน่วยงาน โดยคลอบคลุมเรื่องต่างๆ เช่นการบริหารนโยบาย การบริหารอำนาจหน้าที่ และการบริหารจริยธรรม เป็นต้น

ความสำคัญของรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

รัฐประศาสนศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นยิ่ง กล่าวคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2540) มาตรา70 ได้บัญญัติในหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชน บทบัญญัติในส่วนนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับรัฐประศาสนศาสตร๋์หรือการบริหารภาครัฐ แต่ในทางปฏิบัติกับปรากฎว่าการอำนวยความสะดวกให้บริการประชาชนของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบางส่วนไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนและประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากแนวทางการบริหารของหน่วยงานภาครัฐหรืมีสาเหตุมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้ กล่าวคือ หนึ่ง หน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนนำแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารภาครัฐมาปรับใช้อย่างไม่เหมาะสม หรือ สอง เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นกลไกลสำคัญของการบริหารขาดจิตสำนึก หรือขาดจิตวิญญาณในการปฏิบัติราชการ หรือในการบริการประชาชน หรือสาม แนวทางการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาขาดความเหมาะสมในบางด้าน หรือบางส่วนมีความบกพร่องเมื่อนำมาปรับใช้ในยุคประชาธิปไตยที่สนับสนุนการกระจายอำนาจ ด้วยเหตุผลนี้ รัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะพิจารณาศึกษาเพื่อพัฒนาหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ปฏิบัตืงานไปในทิศทางที่อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น[4]

ขอบข่ายของวิชารัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

1.วิทยาการจัดการ(management science) เป็นวิชาที่นำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์และแก้ปัญหาการวินิจฉัยสั่งการทางด้านการจัดการอย่างเป็นระบบรัฐประศาสนศาสตร์นำองค์ความรู้ของสาขานี้มาใช้ได้ โดยมีจุดมุ่งเน้นในด้านเทคนิคเชิงปริมาณสำหรับช่วยใการวินิจฉัยสั่งการและการวิเคราะห์ปัญหาทางด้านบริหารจัดการมุ่งให้ความสนใจไปที่การบริหารจัดการเกี่ยวกับปัจจัยมนุษย์มมากกว่าเทคนิคต่างๆ

2. พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior) เป็นวิชาที่ศึกษาถึงโครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมขององค์การโดยมีขอบเขตการศึกษาจากตัวแปรที่สำคัญๆ รวม 4 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งพฤติกรรมองค์การเป็นผลมาจากตัวแปรเหล่านี้ คือ

  • ตัวแปรทางบุคคล เป็นการศึกษาพฤติกรรมองค์การโดยพิจารณาที่ตัวบุคคลหรือความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีต่อองค์การ
  • ตัวแปรทางด้านระบบสังคมขององค์การ เป็นการศึกษาพฤติกรรมองค์การโดยเน้นที่ปัจจัยที่เกี่ยวพันธ์กับกลุ่มในองค์การ
  • ตัวแปรเกี่ยวกับองค์การรูปนัย เป็นการศึกษาพฤติกรรมองค์การจากตัวแปรย่อยต่างๆขององค์การรูปนัย เช่น ขนาดขององค์การ ช่องการควบคุมการชำนานเฉพาะอย่าง และการรวมอำนาจของการตัดสินใจในองค์การเป็นต้น
  • ตัวแปรทางด้านสภาพแวดล้อม เป็นการศึกษาพฤติกรรมองค์การ โดยมององค์การเป็นระบบเปิดที่ได้รับอิทธิพลและมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม มีหน้าที่ในการสนองต่อความต้องการที่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน

3. การบริหารเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา (comparative and Development administration) การบริหารเปรียบเทียบมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นคว้าระบบบริหาร ระบบนี้มีลักษณะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันภายในช่วงเวลาหนึ่งๆเพื่อนำไปสู่การสร้างทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ของระบบบริหาร ความแตกต่างกันระหว่างประเทศต่างๆและความแตกต่างกันในพฤติกรรมของระบบบริหารในประเทศเหล่านั้นมีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความสำคัญในความสำเร็จ เพื่อนำไปสู่การสร้างประสิทธิผลให้เกิดกับระบบบริหารนั้นๆ

4. การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (public Policy Analysis) การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เป็นการประยุกต์ความรู้หรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่เพื่อให้เกดความเข้าใจในนโยบาย ผลกระทบหรืออธิบายสาเหตุที่มาแห่งนโยบายหนึ่งๆ โดยอาศัยเครื่องมือเทคนิคต่างๆ การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะไม่ได้มุ่งให้ความสนใจเฉพาะแต่เพียงตัวนโยบายเท่านั้น แต่ยังมุ่งศึกษาว่าผลจากการปฎิบัติตามนโยบายนั้นเป็นอย่างไร

5. ทางเลือกสาธารณะ (Public choic) ทางเลือกสาธารณะเป็นการศึกษาที่ครอบคุมเนื้อหา 3 ด้าน ดังต่อไปนี้

  • ทางเลือกสาธารณะเป็นการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์ สาเหตุหรือแรงจูงใจที่ทำให้บุคคลเข้าไปร่วมกิจกรรมสาธารณะ
  • ทางเลือกสาธารณะ เป็นการศึกษาเพื่อหาคำอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของหน่วยงานในการให้บริการสาธารณะ และผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล
  • ทางเลือกสาธารณะ เป็นการศึกษาเพื่อแสวงหาวิธีการทางด้านการบริหารหรือโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการสาธารณะ

การศึกษาทั้ง 3 ด้าน ต่างล้วนใช้กรอบในการศึกษาในแนวเดียวกันคือ นำหลักการหรือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีประยุกต์ใช้กับศาสตร์ทางการเมืองและการบริหาร

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

แนวคิดทั่วไปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

หากมองในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ทางด้านบ่อเกิดแห่งความรู้ กล่าวได้ว่า รัฐศาสตร์ก่อให้เกิดรัฐประศาสตร์หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ารัฐศาสตร์เป็นวิชาแม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ ขณะเดียวกันรัฐประศาสนศาสตร์มีสถานะเป็นสาขาวิชาย่อยสสาขาหนึ่งของรัฐศาสตร์ เพราะในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาทางรัฐศาสตร์ได้มีการศึกษาที่ครอบคลุมถึงรัฐประศาสนศาสตร์มาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีทางการเมืองที่ถือได้ว่าเป็นสาขาวิชาที่มีอิทธิพลกับแนวความคิดของการบริหารในยุคแรกๆซึ่งเป็นยุคที่รัฐประศาสนศาสตร์ยังไม่ได้เป็นศาสตร์ที่มีการศึกษากันในมหาวิทยาลัยดังที่มีผู้รู้ได้กล่าวว่า อะไรที่เพลโต (Plato) พูดเกี่ยวกับการเมืองสามารถนำไปใช้ได้ในเรื่องของการบริหารหรือ เมื่อ แมค เคียเวลลี่ (Machiavelli) พูดถึงเรื่อง รัฐ ก็จะย่อยนำมาปรับใช้กับการบริหารได้ ทั้งนี้รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่างมีความสัมพันธ์กันในแง่ของการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมส่วนรวมเหมือนกัน

อิทธิพลของรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อรัฐศาสตร์[แก้]

อิทธิพลของรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อรัฐศาสตร์ กล่าวถึงในเรื่องทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อรัฐศาสตร์หรือที่สามารถนำมาเป็นกรอบแนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์การเมืองและการบริหารได้ โดยทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่นำมากล่าวถึง ได้แก่ทฤษฎีระบบราชการของ แมคซ์ เวเบอร์ และแนวคิดในการแบ่งประเภทของระบบราชการของ เมอร์ล เฟนซอด แฟร์เรล เฮดี ที่แนวคิดในการแบ่งประเภทของระบบราชการของนักวิชาการ 2 ท่านนี้แบ่งตามความสัมพันธ์ที่ระบบราชการมีต่อระบบการเมือง ส่วนกรณีของเฟรด ดับเบิ้ลยู ริกส์ แนวคิดในการแบ่งประเภทของระบบราชการเป็นการแบ่งตามมิติของการเป็นทหาร/พลเรือน และมิติของการยึดเอาเอกราชเป็นอาชีพหรือมิใช่อาชีพ แนวคิดของนักวิชาการดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดทฤษฎีในการอธิบายการเมืองและการบริหารของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ [5]= [6] [7] [8] [9] [10] [11]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/political_science_and_politics/02.html
  2. ผศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ.(2554).ความรู้เบื้องต้นของรัฐศาสตร์.160 ม.4 ถ.กาญจนวนิช ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ;โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. ผศ.ดร. จักษ์ พันธ์ชูเพชร.(2552).รัฐศาสตร์.486/19 หมู่ 6 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000; บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด
  4. รศ.ดร. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ.(2553).หลักรัฐประศาสนศาสตร์.บริษัท เอ็กเปอร์เน็ท จำกัด;ธรรมกมลการพิมพ์
  5. วรเดช จัทรศร.(2540).รัฐประศาสนศาสตร์:พิมพ์ครั้งที่6.กรุงเทพฯ:มูลนิธิ30ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  6. จรูญ สุภาพ.(2518).ขอบข่ายรัฐศาสตร์.กรุงเทพ:ไทยวัฒนาพาณิชย์
  7. ทินพันธ์ นาคะตะ.(2546).รัฐศาสตร์:ทฤษฎี แนวความความคิด.พิมพืครั้งที่4.กรุงเทพ:สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า
  8. เกษม อุทนานิน.(2541).รัฐประศาสนศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร:ไทยวัฒนาพาณิชย์
  9. ไกรศรี นิมมานเหมินทร์.(2525).ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตจร์.กรุงเทพฯ:มิตรนราการพิม
  10. ชัยอนันต์ สมุทวณิช.(2518).ความสำคัญของรัฐศาสตร์.กรุงเทพ:อักษรเจริญทัศน์.
  11. ณรงค์ สินสวัสดิ์.(2523).รัฐศาสตน์ทั่วไป.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพาณิชย์