ผู้ใช้:ตันติมา นนท์ศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองรูปแบบพิเศษเมืองมินดาเนาประเทศฟิลิปปินส์[แก้]

มินดาเนา (Mindanao) เป็นเกาะที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์เป็นที่ตั้งของนครและจังหวัดที่สำคัญหลายแห่งบนที่ราบสูงบูกิดนอนเอาไว้ทำไร่สับปะรด นครที่สำคัญในการท่องเที่ยวคือ นครดาเวา เป็นสถานที่ตากอากาศที่ดีที่สุดบนเกาะมินดาเนาเราก็จะได้เห็นวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เช่นพวกฟิลิปปินส์โนมุสลิม นครที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ ซัมบวงก้า เป็นนครด่านชั้นนอกที่สเปนและสหรัรฐอเมริกาใช้เป็นที่ป้องกันการรุกรานของโมโร่หรือพวกมุสลิม นครนี้จึงมีการรบฆ่ากันมากในอดีตระหว่างสเปนและอเมริกากับชาวพื้นเมืองทางใต้ ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ภาค และมินดาเนาก็ได้ตั้งอยู่ทางตอนใต้เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ เกาะลูซอน มินดาเนาใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ซึ่งมีพื้นที่ ประมาน 36,906 ตารางกิโลไมล์ เป็นหมู่เกาะที่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะมากๆ และเป็นหมู่เกาะที่ทำผลประโยชน์ให้กับประเทศฟิลิปปินส์มากที่สุด

เมืองมินดาเนา[แก้]

มินดาเนาเป็นเกาะที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นที่ตั้งของนครและจังหวัดที่สำคัญหลายแห่ง บนที่ราบสูงบูกิดนอนเอาไว้ทำไร่สับปะรดกัน นครที่สำคัญในการท่องเที่ยวคือ นครดาเบา เป็นสถานที่ตากอากาศที่ดีที่สุด บนเกาะมินดาเนาเราก็จะได้เห็นวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เช่นพวกฟิลิปปินส์โนมุสลิม นครที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ ซัมบวงก้า เป็นนครด่านชั้นนอกที่สเปนและสหรัรฐอเมริกาใช้เป็นที่ป้องกันการรุกรานของโมโร่หรือพวกมุสลิม นครนี้จึงมีการรบฆ่ากันมากในอดีตระหว่างสเปนและอเมริกากับชาวพื้นเมืองทางใต้ฟิลิปปินส์ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ภาค และมินดาเนาก็ได้ตั้งอยู่ทางตอนใต้เป็นหมู่เกาะ ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ เกาะลูซอน มินดาเนาใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ซึ่งมีพื้นที่ ประมาน 36,906 ตารางกิโลไมล์ เป็นหมู่เกาะที่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะมากๆ และเป็นหมู่เกาะที่ทำผลประโยชน์ให้กับประเทศฟิลิปปินส์มากที่สุด ด้านสภาพทางธรณีวิทยา ที่ทำให้ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุอยู่เรื่อยๆ จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภูมิศาสตร์บ่อยๆ ปัจจุบันมีภูเขาไฟอย่างน้อย 22 ลูกและมีการประทุตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งภูเขาที่สำคัญได้แก่ มายอน ซึ่งระเบิดไปเมื่อปี 2534 และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในเวลาต่อมา ฟิลิปปินส์มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น ทองแดง ทองคำ และโครเมียมมาก ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก แต่อย่างไรก็ตามฟิลิปปินส์กำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมมากขึ้นทั้งมลภาวะในดิน น้ำ และอากาศ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากจำนวนประชากร รวมถึงการลดลงของพื้นที่เกษตรและป่าไม้ การที่บำบัดของเสียไม่เหมาะสม ความเสื่อมโทรมของปะการังและพื้นที่ชยฝั่งทะเล เป็นต้น ภูมิประเทศของฟิลิปปินส์จึงแบ่งออกเป็น 3 หมู่เกาะ การปกครองแบ่งเป็น 17 เขต 79 จังหวัด และ 117 เมือง

  1. เกาะลูซอน เป็นหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวง คือ กรุงมะนิลามี 8 เขต
  2. กาะวิสายาส์ อยู่ทางตอนกลาของประเทศ มี 3 เขต
  3. มินดาเนา อยู่ทางตอนใต้มี 6 เขต

รูปแบบการเมืองการปกครองเมืองมินดาเนา[แก้]

ในสมัยก่อนสเปนปกครองประเทศฟิลิปปินส์และได้มีการปกครองแบบรัฐบารังไกต่อมาในศตวรรษที่ 15 ซูลู และมินดาเนาได้มีการพัฒนาและยกระดับการปกครองให้เป็นแบบซุลตาเนท แล้วก็ได้เป็นผู้ปกครองนครจนได้เป็นสุลต่านลักษณะดั้งเดิมของชาวฟิลิปปินส์ก่อนที่สเปนจะยึดครองเมืองประกอบด้วยชุมชน ต่างเผ่าพันธุ์ มีระบบการปกครองตัวเองด้วยหัวหน้าของแต่ละชนเผ่าที่นับถือภูตผีปีศาจ เมื่อสเปนเข้ายึดครองก็ได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกโดยคิดว่าจะช่วยเหลือชาวพื้นเมืองที่นับถือภูตผีปีศาจได้มีความเจริญแบบคริสต์ศาสนิกชนและได้นำระบบเศรษฐกิจแบบที่สเปนใช้อยู่ในอาณานิคมของสเปนในอเมริกาเข้าไปใช้อีกด้วย เขตปกครองในฟิลิปปินส์ มีจังหวัดทั้งหมด 78 จังหวัด แยกเป็น 13 ภูมิภาคเขตปกครองในฟิลิปปินส์ มีจังหวัดทั้งหมด 78 จังหวัด แยกเป็น 13 ภูมิภาค และมินดาเนาก็ได้แยกไปเป็นเขตปกครองของตัวเอง การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนี้เป็นการจัดรูปแบบการปกครองเมืองมินดาเนาโดยมีโครงสร้างการบริหารที่มีฐานะของความเป็นนิติบุคคล มีกฎหมายที่ไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศมินดาเนาจะเป็นการปกครองตนเองในรูปแบบลักษณะระบบรัฐสภามีมุขมนตรี มีคณะรัฐมนตรีที่ได้รับตำแหน่งมาจากการเลือกตั้งและที่มาจากการแต่งตั้งเพื่อเข้ามาทำหน้าที่บริหารและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติต่างๆที่มีอยู่ในเกาะมินดาเนาและการจัดการงานท้างด้านงานการบริการในท้องถิ่นให้แก่ประชาชนชาวมุสลิมและคริสเตียนในพื้นที่ให้เกิดความสันติสุขส่วนในเรื่องของการแบ่งเขตให้นำเข้าสภาและหยั่งเสียงประชามติจากประชาชนในมินดาเนาเพื่อให้ความเห็นชอบและกฎหมายหลักที่จะนำมาบังคับใช้ในเมืองมินดาเนาจำเป็นที่จะต้องผ่านสภาและเป็นกฎหมายที่ต้องไม่ขัดกับกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางประเทศฟิลิปปินส์ลักษณะการบังคับเขตการปกครองเช่นนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันเหมือนกันกับเขตการปกครองพิเศษฮ่องกงและเขตการปกครองพิเศษมาเก๊า รูปแบบการปกครองของประเทศฟิลิปปินส์โดยทั่วไปแล้ว จะเป็นการปกครองโดยใช้ระบบประธานาธิบดี ใช้กฎหมายที่เป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศ โดยที่ประชาชนสามารถเลือกตั้งได้จากการที่มีรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2478 และประชาชนลงคะแนนเสียงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม2478 แต่เนื่องจากเราจะกล่าวถึงรูปแบบการปกครองของเมืองมินดาเนา จึงจะเน้นไปที่การกระจายอำนาจของรัฐบาลและการปกครองพิเศษของเมืองมินดาเนา แต่ละหน่วยก็มีแบบการปกครองของตนโดยเฉพาะและทุกหน่วยที่ทำการปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งเขตปกครองพิเศษเมืองมินดาเนาเองก็อยู่ในความควบคุมและสั่งการโดยประธานธิบดีอยู่ หรือ ถ้ามองอีกนัยหนึ่งรัฐบาลกลางจะเป็นผู้ควบคุมและสั่งการไปที่หน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ และในแต่ละระดับการปกครองทุกระดับย่อมจะมีคณะผู้ปกครอง หรือ บริหารที่มาจากการเลือกตั้งราษฎรจะใช้สิทธิในการเลือกตั้งของตัวเองเลือกผู้บริหารจังหวัดมาดำรงตำแหน่งและเสือกสมาชิกคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการบริหารจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เป็นประชาชนฟิลิปปินส์
  2. เป็นผู้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
  3. มีถิ่นอยู่ในเขตที่สมัครไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันเลือกตั้ง
  4. อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบรูณ์
  5. จงรักภักดีต่อสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

และมีประเภทที่ข้าราชการมาจากการแต่งตั้ง ในส่วนนี้รัฐบาลกลางจะเป็นผู้แต่งตั้งคลังจังหวัดเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินเจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินนายทะเบียนสาธารณสุขเขตจังหวัดวิศวกรจังหวัด และ ศึกษาธิการเขตจังหวัดจากบุคคลที่พิจารณาแล้วคคิดว่าเห็นสมควรผู่ที่รัฐบาลแต่งตั้งจะต้องเป็นประชาชนฟิลิปปินส์และจงรักภักดีต่อสาธารณรัฐและเมื่อมีการแต่งตั้งเข้าไปได้และถ้าเกิดมีการฟ้องว่ามีการธุจริตรัฐบาลกลางสามารถปลดออกจกาตำแหน่งได้หรือสั่งพักข่าราชการได้เมื่อเห็นว่า

  1. ขาดความจงรักภักดีต่อสาธารณรัฐ
  2. ทุจริต
  3. ประพฤติตนเสื่อมเสียในสถานที่ราชการ
  4. ใช้อำนาจหน้าที่กดขี่ผู้อื่นหรือบิดเบือนอำนาจ

แต่ก่อนจะโดนลงโทษประธานาธิบดีหรือรัฐบาลกลางจะจัดตั้งคณะกรรมการจากข้าราชการสอบสวนเสยก่อนถ้าคณะกรรมการมีการลงความเห็นว่ามีความผิดจริงจึงจะสามารถลงโทษได้แต่ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ ผู้นั้นก็จะคงรับราชการในตำแหน่งเดิมต่อไปทั้งนี้เพื่อนให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย สาเหตุที่มุสลิมในเขตมินดาเนาทางภาคใต้มีความขัดแย้งกับรัฐบาลฟิลลิปปินส์นั้นเนื่อจากสมัยที่สเปนเข้ามาครอบครองประเทศฟิลิปปินส์สเปนได้พาชาวคริสเตียนจำนวนมากอพยพ ลงมาหาที่ทำเลในมินดาเนาซึ่งเป็นการทำให้ชาวมุสลิมที่อาศัยในพื้นที่ทางตอนใต้ประเทศฟิลิปปินส์มินดาเนาที่ส่วนมากใช้พื้นที่ทางการเกษตรทำมาหากินในเขตนี้อยู่แล้วอีกทั้งยังนำศาสนาคริสต์เข้าไปเผยแพร่แก่บริเวณชุมชนมุสลิมด้วยการกระทำเช่นนี้ชาวมุสลิมจึงถือว่าเป็นการเข้ามาทำลายวัฒนธรรมทางศาสนาเพิ่มความรุนแรงขึ้นอีกจึงเป็นรากฐานความขัดแย้งในระบบการปกครองมาจนถึงปัจจุบัน การปกครองเมืองมินาหนาวนั้นมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์ รัฐธรรมนูญร่างขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ในปี 2477 ประกาศใช้วันที่ 14 พฤษภาคม 2478 ซึ่งในระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการแก้ไขเพียงแค่สามครั้งเท่านั้น ดังนั้นรัฐสภาฟิลิปปินส์จึงได้มีมติให้มีการเลือกตั้งขึ้น เพื่อที่จะเข้ามาปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่สองพฤศจิกายน 2513 ซึ่งจะมีการเข้ามาปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องไม่เป็นพรรคการเมือง ใดพรรคการเมืองหนึ่ง และถ้ามีการแทรกแซงหรือให้ความช่วยเหลือทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้รับเลือกตั้ง จะมีตัวแทนจากเขตต่างๆรวมแล้วกว่า 110 เขตการเลือกตั้ง และมีการดำเนินการเลือกตั้งไปในทางที่ดี

ความเป็นมาระบอบการปกครองพิเศษเมืองมินดาเนา[แก้]

สเปนได้แบ่งฟิลิปปินส์ออกเป็นเขตต่างๆ เรียกว่า เอนคัมเมียนด้า เป็นเขตที่ได้รับมอบรางวัลจากกษัตริย์ให้แก่ทหารสเปนผู้ที่ทำราชการดี แต่ผู้ที่ได้รับกลับทำความเดือดร้อนแก่ปนระชาชนบ่อยๆ ไม่มีแม้แต่ความเป็นธรรม เขตนี้จึงได้ถูกยกเลิกและตั้งขึ้นเป็นจังหวัดแทน การตกลงโดยสันติวิธีทั้งสองฝ่ายระหว่างชาวมุสลิมโมโรกับสเปน โดยสเปนได้ทำสัญญาการค้าขายกับสุลต่านแห่งซูลู และกษัตริย์ได้ส่งสารส่วนพระองค์ถึงหัวหน้าเผ่าโมโรต่างๆ เพื่อให้พวกเผ่านี้เป็นมิตรกับสเปนแต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีแต่อย่างใด ฟิลิปปินส์ไม่มีข้าราชการส่วนภูมิภาค และไม่มีกระทรวงมหาดไทย เช่นกับของประเทศไทยแต่มีสำนักงานปกครองท้องถิ่นซึงตั้งอยู่ในเมืองมลิลาอยู่ภายใต้การบริหารงานโดยตรงของประธานาธิบดีซึ่งเป็นผู้มีอำนาจควบคุมหน่วยปกครองท้องถิ่นทั้งหมดไม่ใช่ควบคุมโดยกระทรวงมหาดไทยควบคุมทุกอย่างเหมือนประเทศไทย เมื่อก่อนฟิลิปปินส์มีกลุ่มชนเผาที่หลากหลายเชื้อชาติกันอยู่รวมตัวกันตามเกาะต่างๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ และเริ่มมารวมอยู่ศูนย์กลางเมื่อประเทศอาณานิคม หรือสเปนเข้ามายึดครองซึ่งยาวนานเป็นเวลากว่า 300 ปี ในขณะนี้สเปนยึดหลักการปกครองในส่วนกลาง แต่ชุมชนต่างๆพากันปกครองตัวเอง มีหมู่บ้านหรือที่เรียกกันว่า บารังไก ตั้งแต่ 50 ครอบครัวขึ้นไปรวมตัวกัน ปกครองด้วยหัวหน้ากลุ่ม ที่ชาวบ้านเลือกอย่างไม่เป็นทางการ แต่ละหมู่บ้านก็แยกตัวกัน อยู่ใครอยู่มัน แต่จะสามารถรวมตัวกันเฉพาะตอนที่มีภัยคุมคามไม่ก็ทำการค้ากับต่างประเทศ โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์เป็นรัฐเดี่ยว มีลักษณะการปกครองท้องถิ่นที่มีมลรัฐเป็นหน่วยปกครองที่อยู่ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น แต่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม ซึ่งประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้มารวมตัวกันเพื่อต่อรองกับรัฐบาลจนได้รับการตอบสนองปัญหาเฉพาะด้านสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว และเขตนครหลวงแห่งชาติ หรือ เขตมหานครมนิลา เพื่อส่งเสริมการประสานงานกัน ให้มีประสิทธิภาพในการบริการในเขตนครหลวง มีระดับของการปกครองท้องถิ่น คือ ระดับจังหวัด ระดับเมืองเทศบาล และระดับหมู่บ้านเป็นเวลากว่า 350 ปี ที่เป็นทั้งสเปนและสหรัฐพยายามที่จะปราบปรามหรือกวาดล้าง มุสลิมโมโร ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ สหรัฐจึงมีวิธีการทางการเมือง ซึ่งทำให้สุลต่านโมโรตอบสนองด้วยดี จนได้ทำข้อตกลงโดยมีเงื่อนไขว่า สหรัฐจะไม่เข้ามาแทรกแซงในกิจการท้องถิ่นของสุลต่านโมโร มินดาเนาเป็นเขตปกครองพิเศษ ที่เคยมีปัญหาเขตแดนและปัญหาระหว่างประชาชนในพื้นที่ ที่มีทั้งประชาชนที่เป็นคาทอลิก และประชาชนที่เป็นมุสลิม มาเป็นเวลากว่า 40 ปี โดยมีประชาชนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้กว่า 125,000 คน โดยมีสภาได้อนุมัติให้เป็นเขตการปกครองตัวเองแต่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง ในส่วนท้องถิ่นกิจการระหว่างประเทศและความมั่นคง จึงทำให้เกิดการจัดการตั้งเป็นเขตการปกครองพิเศษมินดาเนาขึ้น

รูปแบบการปกครองพิเศษเมืองมินดาเนา[แก้]

การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น เริ่มขึ้นในปีค.ศ. 1984 และมีการประมวลกฎหมายปกครองท้องถิ่นเมื่อปีค.ศ. 1991 และมีการบังคับใช้ในปีค.ศ. 1992 ประมวลกฎหมายนี้แบ่งเป็นสี่ภาคคือภาคทั่วไป ภาคการเงิน ภาคองค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคข้อกำหนดสุดท้าย ประมวลกฎหมายนี้เน้นการกระจายอำนาจไปให้ท้องถิ่น แนวทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์แบ่งเป็นสองกระแสหลักคือ การกระจายหน้าที่ และการกระจายอำนาจ กระแสแรก คือรัฐบาลกระจายบริการบางอย่างให้กับส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการบริการพื้นฐานมากขึ้น จากเดิมหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น การสาธารณสุข การก่อสร้างซ่อมบำรุงถนน กระแสที่สอง คือการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นในบางเรื่อง เช่น การบริหารการเงินการคลัง การบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน บริหารงานส่วนบุคคล รัฐบาลกลางให้อำนาจบางส่วนท้องถิ่น หรือเขตที่จัดตั้งการปกครองพิเศษ นโยบายต้องไม่ขัดแย้งกับรัฐบาลกลางมีลักษณะเป็นประเทศเดี่ยวสองระบบ ประเทศเดียวสองระบบคือ เมื่อรัฐบาลอนุมัติแล้วต้องมีกรอบของกฎหมาย เพื่อที่จะนำร่างกฏหมายหลักที่ไม่ใช่ในการปกครอง โดยจะต้องไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญและกฎหมายหลักของประเทศ การจัดตั้งเขตปกครองพิเศษก็เผื่อให้เขตนั้นมีความเป็นอิสระ มีความคล่องตัวในการบริหารงาน มีการเลือกผู้บริหาร เลือกสภาผู้แทนของตัวเอง สรุปก็คือ ในการปกครองตนเองสามารถจัดระบบบริหารนิติบัญญัติและศาลได้ แล้วยังมีเสรีภาพตามกฎหมายหลักที่ผ่านสภาของประเทศ สาเหตุที่เกิดประเทศเดียวสองระบบก็คือ 1. เขตนั้นมีความเจริญในด้านกายภาพที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ ในการค้าต้องการพัฒนาเขตของตัวเองให้มีความเจริญ โดยมีอิสระในการเก็บภาษี และอิสระในบริหารเมือง 2. เกิดปัญหาระหว่างเชื้อชาติขึ้นในเขตนั้น อย่างในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ ที่อยู่ในจังหวัดมินดาเนา ชาวมินดาเนาส่วนหนึ่งเป็นมุสลิมชาวเน้นการเดาต้องการปกครองตนเองโดยเชื้อชาติของเขาเอง ต้องการพัฒนาความเป็นอยู่โดยมีอิสระในการปกครองตัวเอง การกระจายอำนาจจะให้ท้องถิ่นในฟิลิปปินส์มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1989 และมีการปกครองท้องถิ่นใหม่และได้มีการออกกฎหมายปกครองท้องถิ่น ในปี ค.ศ. 1991 ได้มีการแบ่งอำนาจการกระจายจากส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่น มินดาเนามีระบบการปกครองโดยสุลต่าน ชาวมุสลิมตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ในขณะที่สเปนได้ครอบครองฟิลิปปินส์ แต่บรรดารัฐมุสลิมในมินดาเนามีการต่อต้านสเปน และดำรง เป็นสถานะอิสระ เขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนานี้มีการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1989 โดยผ่าน นพ.ร.บ.แห่งสาธารณะรัฐ ต่อมาเขตปกครองอิสระเริ่มจัดตั้งเป็นทางการ เมื่อ 6 พฤศจิกายน 1990 และเขตการปกครองอิสระมีเมือง Cotaba City เป็นศูนย์กลาง มินดาเนา เขตปกครองตนเองพิเศษ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ การเกิดเขตปกครองตนเองนี้เนื่องจากเขตนี้เคยมีปัญหาด้านเขตแดนและปัญหาระหว่างประชาชนที่เป็นคาทอลิกและมุสลิมขัดแย้งกันนานถึง40ปี รัฐบาลจึงจัดการให้จบกันความขัดแย้งโดยอนุญาตให้เป็นเขตปกครองตนเองได้ และมินดาเนาปกครองตนเองในระบบรัฐสภามีมุขมนตรี มีคณะรัฐมนตรี มีการเลือกตั้ง มีการแต่งตั้งจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีการจัดการท้องถิ่นกฎหมายต้องผ่านสภาไม่ขัดกับกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญของรัฐบาล

การบริหารในเมืองมินดาเนา[แก้]

การดิ้นรมของกลุ่มประชาชนและหมู่บ้านต่างๆภายในประเทศฟิลิปปิยส์มีมานานมากแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่หน้าแปลกของรัฐบาลฟิลลิปปินส์หรือรัฐบาลอเมริกันแต่เพียงแค่ชาวบ้านของบังซาโมโรและยังไม่มีการเคลือนไหวที่จะเป็นรูปเป็นร่างพึ่งจะมาเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นก็เมื่อตอนที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชเมื่อปี 1946 แล้วเนื่อยจากว่ารัฐบาลต้องการที่จะทำการรวมบังซาโมโรให้รวมเป็นหนึ่งกับประเทศฟิลิปปินส์จึงให้มีนโยบายขึ้นมา 2 ข้อ ข้อที่ 1 คือ รวมบังซาโมโรให้เป็นส่วนหนึ่งของฟิลิปปินส์ ข้อ 2 คือ ให้บังซาโมโรเป็นเขตการปกครองตนเองเป็นเวลานานกว่า 40 ปีที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องการและพยายามที่จะแก้ปัญหาให้เมืองมินดาเนา ที่เป็นปัญหาระหว่างคนที่เป็นชาวคริสเตียนและคนที่เป็นชาวมุสลิม และในปี 1957 รัฐบาลก็ได้ให้คำจำกัดความว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเมืองมินดาเนาเป็นปัญหาที่เกิดจากพวกบังซาโมโรเอง ในช่วงแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ต้องการที่จะทำการรวมประเทศประเทศฟิลิปปินส์ก้ได้ทำนโยบายขึ้นมากำหนดไว้ 2 แนงทางคือ

  1. การรวมโครงสร้างและการบริหารของชาวบ้านบังซาโมโรให้รวมกับรัฐบาลของฟิลิปปินส์
  2. การกล่อมเกลาทางด้านวัฒนธรรมของชาวบังซาโมโรให้เข้ากับสังคมของประชาชนประเทศฟิลิปปินส์โดยที่ชาวบ้านบังซาโมโรต้องยอมรับและร่วมมือด้วยความสมัครใจโดยที่ไม่เกิดความขัดแย้ง

ดังนั้นรัฐบาลจึงวางแผนที่จะจัดตั้งหลายหน่วยงานขึ้นมา คือ คณะกรรมาธิการบูรณาการแห่งชาติ( Commission on National lntegration-CNI ) มหาวิทยาลัยมินดาเนา ( Mindanao stateUniversity-MSU ) และหน่วยงานพัฒนามินดาเนา ( Mindanao Development Authority-MDA ) ซึ่งการบริหารของชาวเมืองมินดาเนาคิดว่า ณ เวลาขณะนั้นด้วยความที่มินดาเนาเป็นเขตปกครองตัวเองอยู่แล้วก็ควรที่จะต้องมีการปกครองหรือการบริหารโดยที่มีหัวหน้าชาวบ้านภายในเมืองมินดาเนาเป็นคนเลือกกันเองมากกว่า ซึ่งการบริหารในเมืองมินดาเนา จะเป็นการปกครองท้องถิ่นที่ทางฟิลิปปินส์กระจายอำนาจมาให้แต่จะพิเศษตอนที่เป็นการปกครองตนเองซึ่งฟิลิปปินส์จะไม่มีราชการส่วนภูมิภาคและกระทรวงมหาดไทย หน่วยการปกครองนั้นจะแบ่งออกเป็นจังหวัด เทศบาล ตำบล นครตามกฎบัตรถิ่นจังหวัด และ เทศบาลตำบลซึ่งเมืองมินดาเนาจะเป็นลักษณะกึ่งจังหวัด เพราะมีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองเกือบจะในทุกๆเรื่องเพียงแต่ไม่สามารถเป็นจังหวัดของตนเองได้อย่างเต็มที่ เนื่องมาจากการที่มีประชาชนอยู่น้อยและมีวัฒนธรรมที่แปลกแตกต่างจากที่อื่นๆ ซึ่งจังหวัดจะมีการปกครองรูปแบบพิเศษ คือจะบริหารโดยหัวหน้าที่ประชาชนสามารถเลือกตั้งตามสิทธิของตนเองทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถเลือกตั้งสมาชิกพิเศษในส่วนอื่นๆได้อีกด้วย จังหวัดจะมีรายได้ภาษีเป็นส่วนใหญ่ทำให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายเงินเดือนข้าราชการของจังหวัดรวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นในเดือนถัดไป การคลังจังหวัดจะเป็นคนเสนอบัญชีการคำนวณงบประมาณรายรับ รายจ่ายของปีที่ผ่านมาต่อคณะกรรมการจังหวัด เพื่อที่คณะกรรมการจังหวัดจะได้ประเมินรายรับสำหรับปีปัจจุบัน และ กำหนดการใช้จ่ายเพื่อไม่ให้ขาดดุลการเงิน และทำหน้าที่เพื่ออนุมิติงบประมาณประจำปีให้หน่วยงานต่างๆ ในแต่ละจังหวัดจะมีกิ่งอำเภอเปรียบเสมือนหน่วยปกครองที่เทียบเท่าเป็นจังหวัดทำหน้าที่จัดการปกครองตนเองเป็นอิสระและไม่ขึ้นแก่จังหวัดที่สังกัดมีการกำหนดและจัดงบประมาณของตนเองมีผู้ว่าราชการเป็นหัวหน้า และมีการเลือกตั้งพร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติของข้าราชการเหมือนของจังหวัดอื่นทุกประการ ในการบริหารส่วนท้องถิ่นจะมีเทศบาลที่คอยจะติดต่อกับประชาชนในพื้นที่โดยให้ทั้งความเป็นธรรมและบริการที่ดีแก่ประชาชนจนถึงขั้นสนิทสนม เพราะงานของรัฐบาลกลางที่จะเชื่อมต่อกับประชาชนส่วนใหญ่จะผ่านเทศบาลเป็นตัวกลาง เช่นการขออนุญาตประกอบธุรกิจต่างๆเสียภาษี การบริหารในเขตเมืองส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนการเกษตรซึ่งรวมถึงระบบแจกจ่ายวัสดุ เพื่อการเพาะปลูกให้กับประชาชนได้ทำอาชีพหลักของตนเองเพื่อเป็นผลผลิตส่งออกในพื้นที่อีกทั้งจัดให้มีสถานีผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ซื้อขาย การเกษตร และ ในหมู่บ้านจะมีหน่วยเปิดบริการส่งเสริมสุขภาพและดูแลอนามัยเด็กในพื้นที่ รวมทั้งบุคคลทุกวัยและจะได้รับการอำนวยความอำนวยความสะดวกส่งเสริมให้ท้องถิ่นสะอาดจากระบบเก็บขยะ บำรุงสะพาน ระบบส่งน้ำ ภาครัฐ พยายามเพิ่มโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ศาลาอเนกประสงค์ ศูนย์กีฬา ที่ออกกำลังกาย เพื่อนคนในหมู่บ้าน

สังคมภายใต้การปกครองพิเศษเมืองมินดาเนา[แก้]

ชาวมุสลิมตะเรียกดินแดนของพวกเขาว่า Bangsamoro คือ หมายถึงพวกชนชาติโมโร แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (MNLF) เป็นกลุ่มผลประโยชน์หัวรุนแรงที่มีบทบาทนับตั้งแต่มาร์กอสได้เริ่มประกาศกฎอัยการศึกจนถึงปัจจุบันพวกโมโรได้พยายามเรียกร้องแผ่นดินคืนโดยเฉพาะในเกาะมินดาเนาและเกาะซูลู ก่อนที่สเปนจะสำรวจพบและครอบครองชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ได้อยู่กันเป็นหมู่บ้าน ใช้ชีวิตกันแบบเรียบง่ายมีผู้ปกครองและนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติ ส่วนมุสลิมนั้นได้อพยพมาทำการค้าขายและสอนศาสนาแต่เริ่มจัดตั้งการปกครองระบบสุลต่านและใช้นโยบายให้คนในฟิลิปปินส์เป็นอิสลาม เมื่อสเปนเข้ามาครองฟิลิปปินส์ได้โจมตีมุสลิมและซูลูในสเปนแพ้สหรัฐรวมเป็นเวลากว่า 350 ปี แต่อย่างไรก็ตามจากการประนีประนอมทำให้สุลต่านยินยอมให้สเปนเข้าไปทำการค้าขายทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ สเปนก็ควบคุมส่วนอื่นของมินดาเนาและประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนศาสนาของคนในพื้นเมืองซึ่งมีชุมนุมมุสลิมกับชุมนุมคริสต์เตียน ชุมนุมคริสต์เตียนได้รับการยอมรับมากกว่ามุสลิมทำให้เกิดความแตกแยกในมินดาเนา การเกิดสังคมมีในทุกเมืองและสังคมทางการเมืองในปัจจุบันนั้นมี ทุกเกาะของฟิลิปปินส์เริ่มตั้งแต่เกาะลูซอน วิสายาส์ และเกาะมินดาเนาสังคมเมืองของมินดาเนามรการใช้ชีวิตที่ครบถ้วนสมบูรณ์เพราะมีทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆรวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย แต่ด้วยการเกิดสังคมที่ครบถ้วยมากจนเกินไปนั้นจึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในฟิลิปปินส์เพื่อประกอบอาชีพที่ทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพและเนื่องด้วยการคุมกำเนิดในฟิลิปปินส์ไม่ประสบความสำเร็จมากนักจึงทำให้มีการเพิ่มจำนวนของประชากรจนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมต่างๆตามมาและเพราะรัฐบาลขาดงบประมาณในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจึงยังไม่มีการแก้ไขปัญหาที่ดีพอ และถ้ากล่าวถึงสังคมชนบทของฟิลิปปินส์ สังคมชนบทจะมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกันมากกว่า มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีการดูแลญาติเคารพผู้ใหญ่ขงตัวเอง สังคมเมืองชนบทจะมีโบสถ์ โรงเรียน มีร้านขายชำเล็กๆ ธนาคาร โรงภาพยนตร์ และอนามัยประจำแต่ละชุมชน

การบรรเทาทุกข์และช่วยฟื้นฟูมินดาเนาให้กลับมาสู่สภาวะปกติ[แก้]

ปัญหาความขัดแย้งในมินดาเนาเป็นผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดความตระหนักในการที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูความเสียหายในมินดาเนา ความขัดแย้งในมินดาเนาที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี และเหตุการณ์ความรุนแรงพึ่งจะทวีความรุนแรงขึ้นในสมัยมาร์กอสเป็นต้นมา เนื่องมาจากนโยบายการบริหารงานของรับบาลแบบบนสู้ล่าง (Top-down management) ความคิดเห็นของประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายยังไม่ค่อยได้รับการรับฟังเท่าที่ควร แต่เหตุการณ์ความรุนแรงค่อยๆลดลงในสมัยอากีโนเนื่องจากอากีโนใช้วีการแก้ไขปัญหาโดยการประณีประนอมโดยยอมให้มุสลิมบางจังหวัดที่มีจำนวนคนมากเป็นเขตปกครองตนเอง ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้จึงเริ่มลดลงมากในสมัยรามอสเพราะรามอสได้มีการนำนโยบายการฟังเสียงของประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายมาปรับใช้ถึงการพัฒนาไปสุ่ภาคใต้แต่พอมาถึงสมัยเอสตราดากลับมีการนำนโยบายเชิงรุกมาใช้ในการปราบปราม ผลที่ตามา คือ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างทหารรัฐบาลกับกลุ่ม MILF ความเสียหายในมินดาเนาเกิดขึ้นในมินดาเนาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และผู้ลี้ภัยจากเมืองที่สู้รบ พอมาสมัยของอาร์โรโยโดยได้เริ่มฟื้นฟูมินดาเนาใหม่โดยการเปิดเจรจากับ MILF 1ในปี 2001 โดยมีการดำเนินการตามรามอส แต่ความต้องการของประชาชนในมินดาเนายังต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ และมีการจัดการฟื้นฟูการดำรงชีวิตให้เป็นปกติ มาจนถึงปัจจุบันจังหวัดที่อยุ่ในเขต ARMM เป็นจังหวัดที่ประชาชนมีการศึกษาและมีรายได้ต่ำสุดของประเทศจึงทำให้สมัยเอสตราดา (ปี 2000) รัฐบาลได้ตั้งหน่วยงาน Presidential Executive Task Force For Relief and Rehabilitation-PETERR ขึ้นในตอนกลางของมินดาเนาเพื่อบรรเทาทุกข์ความเดือนร้อนและเข้าไปฟื้นฟูในศูนย์อพยพ

[1] [2] [3] [4] [5]

  1. สีดา สอนศรี.คู่มือประเทศฟิลิปปินส์.บริษัท กรีน พริ้นท จำกัด ,2545,หน้า 38. ISBN 974-7206-18-8
  2. รศ.ดร.จิรประภา อัครบวร.ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน,2558,หน้า 115-125. ISBN 978-616-548-151-9
  3. วิทย์ บัณฑิตกุล . ฟิลิปปินส์ , บริษัทสถาพรบุ๊ค จำกัด , หน้า 69 . ISBN 978-616-00-0223-8
  4. รศ.ผุสสดี สัตยมานะ .ฟิลิปปินส์ : จากอาณานิคมสู่เผด็จการประชาธิปไตย , โอ.เอส.พริ้นดิ้ง เฮ้าส์ , 2529 , หน้า 110 . ISBN 974-275-445-4
  5. รศ.สีดา สอนศรี . ฟิลิปปินส์ : จากอดีตสู่ปัจจุบัน , โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2529 , หน้า 43-67 . ISBN 978-974-466-328-3