ผู้ใช้:คณะนิติศาสตร์ ม.พะเยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยพะเยา
School of Law
University of Phayao
สถาปนา16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
คณบดีอาจารย์ ดร.ไพรัช ธีรชัยมหิทธิ์
ที่อยู่
เว็บไซต์[1]

ประวัติ[แก้]

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ได้ก่อตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่่ 20 มิถุนายน 2538ซึ่งอนุมัติ "โครงการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค (จังหวัดพะเยา) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร" และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา สถานที่ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยและจังหวัดพะเยาในการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ในปีงบประมาณ 2546 มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยามีการพัฒนาโครงสร้างทางการบริหารและการเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ เพื่อสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลกับความต้องการด้านการศึกษาของเยาวชนและได้เปิดรับนิสิตสาขาวิชานิติศาสตร์เป็นครั้งแรก โดยสังกัดสำนักวิชาศิลปศาสตร์ ต่อมาในปีงบประมาณ 2551 สาขาวิชานิติศาสตร์ ได้แยกตัวจากสำนักวิชาศิลปศาสตร์ จัดตั้งเป็นสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 จึงได้ถือว่า มหาวิทยาลัยพะเยาได้แยกออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการอย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยพะเยา"และเปลี่ยนจากสำนักวิชานิติศาสตร์เป็น "คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา" คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหน่วยงานที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านกฏหมาย รวมทั้งจะต้องเป็นนักนิติศาสตร์ที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพมีคุณธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้มุ่งหวังเพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถรับใช้สังคม เศรษฐกิจ ในเขตภาคเหนือตอนบนอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง


1) ชื่อคณะ ภาษาไทย : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ภาษาอังกฤษ : School of Law : University Of Phayao

2) ปรัชญา " นิติศาสตร์ คือ ศาสตร์แห่งการรู้กฎเกณฑ์ อันเป็นบรรทัดฐานในการดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม รวมถึงการนำเอากฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ เพื่อรักษาความยุติธรรม ”

3) ปณิธานร่วม “ ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน ” หรือ “ Wisdom for Community Empowerment ”

4) วิสัยทัศน์ “ นิติศาสตร์เพื่อชุมชนและประชาชาติลุ่มน้ำโขง"

5) อัตลักษณ์ของบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์ " สุขภาพดี มีวินัย ใจอาสา กล้าสร้างสรรค์ "

6) คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ " ใฝ่ดี มีความรู้ เชิดชูคุณธรรม เป็นผู้นำจิตอาสา "

7) พันธกิจ

1. จัดการเรียนการสอนที่เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและจิตยุติธรรม รวมทั้งศักยภาพในการประกอบอาชีพ 2. มุ่งผลิตงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยเน้นการวิจัยทางนิติศาสตร์และสร้างเครือข่ายการวิจัย กับชุมชนและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ 3. บริการวิชาการด้านกฎหมาย โดยเน้นการใช้ความรู้แบบบูรณาการเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน 4. ทำนุบำรุงภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นสู่สากล 5. บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล

8) วัตถุประสงค์ร่วม

1. เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นิสิตอยู่และเรียน (Live and Learn) อย่างมีความสุขจบไปมีงานทำ และเป็นคนดีของสังคม 2. เพื่อทำการวิจัยที่เน้นการสร้างปัญญารวมหมู่ (Collective Intelligence) เคียงคู่ชุมชน (สนับสนุนแนวคิด OUOP – One University One Province) 3. เพื่อบริการวิชาการโดยเน้นการใช้ปัญญารวมหมู่เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน (Community Empowerment) 4. เพื่อทำนุบำรุงภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น (Local Wisdom) สู่สากล 5. เพื่อบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยึดมั่นในธรรมมาภิบาล

ทำเนียบหัวหน้าสำนักวิชา/คณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีดังนี้

คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.ไพรัช ธีรชัยมหิทธิ์ (รักษาการหัวหน้าสำนักวิชา) พ.ศ. 2551 - 2553
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาลี ทองเรือง (รักษาการคณบดี) พ.ศ. 2553 - 2554

พ.ศ. 2555 - 2555

3. รองศาสตราจารย์ ดร.ชลอ ว่องวัฒนาภิกุล พ.ศ. 2554 - 2555
4. ดร.ไพรัช ธีรชัยมหิทธิ์ พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบันคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

ปริญญาตรี

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ระยะเวลาเรียนตามหลักสูตร 4 ปี หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ภาคพิเศษ

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)คู่ขนาน ระยะเวลาเรียนตามหลักสูตร 5 ปี

  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) คู่ขนานกับ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.)
  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) คู่ขนานกับ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาบัญชี (บช.บ.)
  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) คู่ขนานกับ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ (ศ.บ.)