ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ผู้นำคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中共中央主要负责人 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中共中央主要負責人 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ผู้รับผิดชอบหลักคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | ||||||
|
ผู้นำคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (จีน: 中共中央主要负责人) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดและเป็นหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่ ค.ศ. 1982 เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้นำของพรรค นับตั้งแต่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1921 ตำแหน่งผู้นำของพรรคมีการเรียกชื่อต่างกันดังนี้ เลขาธิการสำนักกลาง (1921–1922), ประธาน (1922–1925, 1928–1931 และ 1943–1982) และเลขาธิการใหญ่ (1925–1928, 1931–1943 และตั้งแต่ ค.ศ. 1982 เป็นต้นมา)
ตามธรรมเนียมแล้ว ผู้นำพรรคจะถูกเลือกโดยคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนหรือกรมการเมืองกลาง[1] มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกหลายครั้งกระทั่งเหมา เจ๋อตงกำหนดตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลางอย่างเป็นทางการ[1] ตั้งแต่ ค.ศ. 1982 เป็นต้นมา การประชุมสภาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์จีนและการประชุมเต็มคณะกรรมาธิการกลางครั้งที่ 1 ได้กลายเป็นกลไกเชิงสถาบันหลักในการเลือกผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน[1] ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 ผู้นำพรรคทุกคนได้รับการเลือกตั้งโดยการประชุมเต็มคณะกรรมาธิการกลางครั้งที่ 1 ในช่วง ค.ศ. 1928–45 ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับการเลือกตั้งโดยการประชุมใหญ่ การประชุมของคณะกรรมาธิการกลาง หรือโดยการตัดสินใจของกรมการเมือง[1] ข้อยกเว้นสุดท้ายของกฎนี้คือเจียง เจ๋อหมิน ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งในที่ประชุมเต็มคณะครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 13 หลังการประท้วงและสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989[2] ปัจจุบัน การจะได้รับการเสนอชื่อสำหรับตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ได้นั้น บุคคลผู้นั้นต้องเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน องค์กรตัดสินใจสูงสุด[3]
แม้จะละเมิดธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน บุคคลหลายคน (ซึ่งไม่ได้อยู่ในรายชื่อ) ก็เป็นผู้นำโดยพฤตินัยของพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยไม่ได้ดำรงตำแหน่งอำนาจอย่างเป็นทางการ[1] หวัง หมิงเคยขึ้นมามีอำนาจในช่วงเวลาสั้น ๆ ใน ค.ศ. 1931 หลังเซี่ยง จงฟาถูกกองกำลังก๊กมินตั๋งจับกุม ขณะที่หลี่ ลี่ซานถือว่าเป็นบุคคลที่มีอำนาจที่แท้จริงในช่วงเวลาที่เซี่ยงดำรงตำแหน่งส่วนใหญ่[1] เหมาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำที่แท้จริงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่การเดินทัพทางไกลเป็นต้นมา ก่อนจะดำรงตำแหน่งประธานพรรคอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1943
ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการจะป้องกันไม่ให้ผู้นำคนเดียวผงาดขึ้นมาอยู่เหนือพรรคเหมือนที่ประธานเหมาได้เคยทำ ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1982 อำนาจส่วนใหญ่ถูกโอนไปยังตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ที่ถูกรื้อฟื้น[4] เติ้ง เสี่ยวผิงเป็นเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนคนสุดท้ายและคนเดียวที่กลายเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและผู้นำสูงสุดของจีน แม้เขาจะไม่เคยดำรงตำแหน่งประธานหรือเลขาธิการใหญ่ก็ตาม ตำแหน่งสูงสุดของเขาคือประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง (ผู้บัญชาการทหาร)[1]
ตำแหน่ง
[แก้]ชื่อตำแหน่ง | ช่วงเวลาที่ดำรง | สถาปนาโดย |
---|---|---|
เลขาธิการสำนักกลาง | 1921–1922 | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 1 |
ประธานคณะกรรมาธิการบริหารกลาง | 1922–1923 | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 2 |
เลขาธิการใหญ่สำนักกลาง | 1923–1925 | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 3 |
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการบริหารกลาง | 1925–1927 | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 4 |
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลาง | 1927–1928 | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 5 |
ประธานคณะกรรมาธิการกลาง | 1928–1931 | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 6 |
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลาง | 1931–1943 | การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 6 |
ประธานกรมการเมืองกลาง | 1943–1945 | มติกรมการเมือง |
ประธานสำนักเลขาธิการกลาง | ||
ประธานคณะกรรมาธิการกลาง | 1945–1982 | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 7 |
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลาง | 1982–ปัจจุบัน | การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 12 |
รายนามผู้นำพรรค
[แก้]ลำดับ | ภาพ | ชื่อ (เกิด–เสียชีวิต) |
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ระยะเวลา | คณะกรรมาธิการกลาง ชุดที่ |
ตำแหน่งอื่นที่ดำรงขณะเป็นผู้นำ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ![]() |
เฉิน ตูซิ่ว 陈独秀 (1879–1942) |
23 กรกฎาคม 1921 | 1 กรกฎาคม 1928 | 6 ปี 344 วัน | 1 (1921–1922) 2 (1922–1923) 3 (1923–1925) 4 (1925–1927) 5 (1927–1928) |
—
|
2 | ![]() |
เซี่ยง จงฟา 向忠发 (1879–1931) |
1 กรกฎาคม 1928 | 24 มิถุนายน 1931 | 2 ปี 358 วัน | 6 (1928–1945) | |
3 | ![]() |
ปั๋ว กู่ 博古 (1907–1946) |
กันยายน 1931 | 17 มกราคม 1935 | 3 ปี 4 เดือน | 6 (1928–1945) | —
|
4 | ![]() |
จาง เหวินเทียน 张闻天 (1900–1976) |
17 มกราคม 1935 | 20 มีนาคม 1943 | 8 ปี 62 วัน | 6 (1928–1945) | —
|
5 | ![]() |
เหมา เจ๋อตง 毛泽东 (1893–1976) |
20 มีนาคม 1943 | 9 กันยายน 1976 | 33 ปี 173 วัน | 6 (1928–1945) 7 (1945–1956) 8 (1956–1969) 9 (1969–1973) 10 (1973–1977) |
|
6 | ![]() |
ฮฺว่า กั๋วเฟิง 华国锋 (1921–2008) |
7 ตุลาคม 1976 | 28 มิถุนายน 1981 | 4 ปี 264 วัน | 11 (1977–1982) | |
7 | ![]() |
หู เย่าปัง 胡耀邦 (1915–1989) |
29 มิถุนายน 1981 | 15 มกราคม 1987 | 5 ปี 200 วัน | 11th (1977–1982) 12th (1982–1987) |
|
8 | ![]() |
จ้าว จื่อหยาง 赵紫阳 (1919–2005) |
15 มกราคม 1987 | 24 มิถุนายน 1989 | 2 ปี 159 วัน | 12th (1982–1987) 13th (1987–1992) |
|
9 | ![]() |
เจียง เจ๋อหมิน 江泽民 (1926–2022) |
24 มิถุนายน 1989 | 15 พฤศจิกายน 2002 | 13 ปี 144 วัน | 13th (1987–1992) 14th (1992–1997) 15th (1997–2002) |
|
10 | ![]() |
หู จิ่นเทา 胡锦涛 (เกิด 1942) |
15 พฤศจิกายน 2002 | 15 พฤศจิกายน 2012 | 10 ปี | 16 (2002–2007) 17 (2007–2012) |
|
11 | ![]() |
สี จิ้นผิง 习近平 (เกิด 1953) |
15 พฤศจิกายน 2012 | อยู่ในวาระ | 12 ปี 205 วัน | 18 (2012–2017) 19 (2017–2022) 20 (2022–2027) |
|
เส้นเวลา
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Wu 2015.
- ↑ Wang 2012.
- ↑ 19th National Congress (2017). Constitution of the Chinese Communist Party. p. 18.
- ↑ "China - Constitution, Government, Politics". Britannica.
The decision to redefine the position was part of the effort to reduce the chances of any one leader’s again rising to a position above the party, as Mao had done. China’s government still has a chairmanship, but the office has only limited power and is largely ceremonial.