ผู้นำตลอดกาลของเกาหลีเหนือ
ผู้นำตลอดกาลของเกาหลีเหนือ | |
![]() รูปปั้นทองสัมฤทธิ์ของอดีตผู้นำคิม อิล-ซ็อง (ซ้าย) และคิม จ็อง-อิล (ขวา) ที่อนุสรณ์สถานใหญ่เขามันซู | |
ชื่อเกาหลี | |
---|---|
โชซ็อนกึล | 주체조선의 영원한 수령 |
ฮันจา | 主體朝鮮의 永遠한 首領 |
อาร์อาร์ | Juchejoseonui Yeongwonhan Suryeong |
เอ็มอาร์ | Chuch'ejosŏnŭi Yŏngwŏnhan Suryŏng |
ผู้นำตลอดกาลของเกาหลีเหนือ เป็นตำแหน่งที่มอบให้แก่ผู้นำที่ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้วของเกาหลีเหนือ วลีนี้ถูกใช้ในบรรทัดหนึ่งของคำปรารภของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการแก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน ค.ศ.2016 และในการแก้ไขครั้งต่อ ๆ มา
ข้อความดังกล่าวระบุไว้ (ในฉบับเดิม) ว่า:
ภายใต้การนำของพรรคแรงงานเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและประชาชนชาวเกาหลีจะเทิดทูนผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ สหายคิม อิล-ซ็อง เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และสหายคิม จ็องอิล เป็นประธานตลอดกาลแห่งคณะกรรมการป้องกันประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี [...]
— รัฐธรรมนูญเกาหลีเหนือ[1]
ประวัติของตำแหน่ง
[แก้]ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือก่อน ค.ศ. 1994
[แก้]ตำแหน่ง "ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" ถูกสถาปนาขึ้นในรัฐธรรมนูญของเกาหลีเหนือใน ค.ศ. 1972 ก่อนหน้านั้น คิม อิล-ซ็องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการใหญ่พรรคแรงงานเกาหลี
ใน ค.ศ. 1972 มีการสถาปนาตำแหน่งประธานาธิบดีขึ้น และคิม อิล-ซ็องได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งโดยสมัชชาประชาชนสูงสุด สภานิติบัญญัติของเกาหลีเหนือ ในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1972 คิมดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1994 เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม และตำแหน่งดังกล่าวก็ถูกปล่อยว่างไว้โดยที่คิม จ็อง-อิล บุตรชายและผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาไม่ได้รับตำแหน่งนั้น
"ประธานาธิบดีตลอดกาล"
[แก้]คำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีซึ่งแก้ไขเมื่อ 5 กันยายน ค.ศ. 1998 มีข้อความดังนี้:
ภายใต้การนำของพรรคแรงงานเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและประชาชนชาวเกาหลีจะเทิดทูนผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ สหายคิม อิล-ซ็อง ในฐานะประธานาธิบดีตลอดกาลแห่งสาธารณรัฐ [...][2]
ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัยของเกาหลีเหนือ แต่ผู้ซึ่งใช้อำนาจเหล่านั้นคือ "ผู้นำอันศักดิ์สิทธิ์" แห่งอุดมการณ์แห่งรัฐของชาติที่เรียกว่าชูเช ตามที่แอชลีย์ เจ. เทลลิสและไมเคิล วิลส์กล่าว การแก้ไขคำปรารภนี้เป็นข้อบ่งชี้ถึงลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใครของเกาหลีเหนือในการเป็นรัฐเทวาธิปไตยโดยอิงจากการบูชาบุคคลที่ห้อมล้อมคิม อิล-ซ็อง นอกจากนี้ เกาหลีเหนือยังนำปฏิทินชูเชมาใช้ โดยเริ่มนับจาก ค.ศ. 1912 ซึ่งเป็นปีที่คิม อิล-ซ็องเกิด[3]
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2012 อ้างถึงคิม อิล-ซ็องอีกครั้งในฐานะ "ประธานาธิบดีตลอดกาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี"[1]
"เลขาธิการใหญ่ตลอดกาล" / "ประธานตลอดกาล"
[แก้]หลังอสัญกรรมของคิม จ็อง-อิล รัฐธรรมนูญได้รับการแก้ไขใน ค.ศ. 2012 โดยประกาศให้เขาเป็นเลขาธิการใหญ่ตลอดกาลพรรคแรงงานเกาหลีและประธานตลอดกาลคณะกรรมการป้องกันประเทศ[1]
ใน ค.ศ. 2016 มีการแก้ไขคำปรารภของรัฐธรรมนูญเพื่อนำเสนอตำแหน่ง "ผู้นำตลอดกาลแห่งชูเชเกาหลี" และมอบตำแหน่งนี้ให้กับคิม อิล-ซ็องและคิม จ็อง-อิล[4]
บทบาทของประมุขแห่งรัฐในเกาหลีเหนือหลังอสัญกรรมของคิม อิล-ซ็องและคิม จ็อง-อิล
[แก้]อำนาจและหน้าที่ที่เคยเป็นของประธานาธิบดีถูกแบ่งออกให้กับเจ้าหน้าที่หลายคน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ ประธานสมัชชาประชาชนสูงสุด ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสมัชชาประชาชนสูงสุด และผู้นำทางทหาร ซึ่งก็คือประธานคณะกรรมการป้องกันประเทศ (ถูกแทนที่ด้วยคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐเกาหลีเหนือใน ค.ศ. 2016) และผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพประชาชนเกาหลี ตำแหน่งเหล่านี้ปัจจุบันดำรงโดยคิม ด็อก-ฮุน, ชเว รย็อง-แฮ และคิม จ็อง-อึนตามลำดับ[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]- อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของคิม อิล-ซ็อง
- อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของคิม จ็อง-อิล
- ตระกูลคิม (เกาหลีเหนือ)
- ชีวประวัติคิม อิล-ซ็อง
- รายชื่อสิ่งอันเนื่องมาจากนามของคิม อิล-ซ็อง
- ลัทธิบูชาบุคคลเกาหลีเหนือ
- ประธานาธิบดีตลอดชีพ
- โฆษณาชวนเชื่อในประเทศเกาหลีเหนือ
- รองประธานาธืบดีเกาหลีเหนือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Constitution of North Korea (2012) on Wikisource
- ↑ Constitution of North Korea (1972) on Wikisource
- ↑ Tellis, Ashley J.; Wills, Michael (30 September 2007). Domestic Political Change and Grand Strategy. NBR. p. 128. ISBN 978-0-9713938-8-2. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
- ↑ Constitution of North Korea (2016) on Wikisource
บรรณานุกรม
[แก้]- จ็อง-อิล, คิม (1994). Let Us Hold the Great Leader Comrade Kim Il Sung in High Esteem as the Eternal President of Our Republic.