ไมท์ไกน์ หุ่นสายฟ้าประจัญบาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไมท์ไกน์ หุ่นสายฟ้าประจัญบาน
ภาพปกจากกล่อง 1 ของดีวีดีที่วางจำหน่าย
勇者特急マイトガイン
(Yūsha Tokkyū Maitogain)
แนวเมคา
อนิเมะ
กำกับโดยชินจิ ทากามัตสึ
เขียนบทโดยทากาโอะ โคยามะ
ดนตรีโดยทากาชิ คุโด
สตูดิโอซันไรส์
ฉาย 30 มกราคม ค.ศ. 1993 22 มกราคม ค.ศ. 1994

ไมท์ไกน์ หุ่นสายฟ้าประจัญบาน[1] (ญี่ปุ่น: 勇者特急マイトガイン; อังกฤษ: The Brave Express Might Gaine) หรือในชื่อแปลตรงตัว ผู้กล้ารถด่วน ไมท์ไกน์ เป็นอนิเมะซีรีส์โทรทัศน์ลำดับที่ 4 ของ ยูฉะซีรีส์หรือซีรีส์ผู้กล้า ซึ่งสร้างโดยบริษัททาการะและซันไรส์ ภายใต้การกำกับของชินจิ ทากามัตสึ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1993 ถึงวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1994 มีจำนวนตอนทั้งหมด 47 ตอน

เรื่องราว[แก้]

เซมปูจิ ไมโตะ เป็นมหาเศรษฐีวัยรุ่นที่ต่อสู้กับอาชญากรรม เขาเข้าครอบครองบริษัทและทรัพย์สินของพ่อเมื่ออายุเพียง 15 ปี โดยควบคุมทีมหุ่นยนต์ไมท์ไกน์ที่บิดาผู้ล่วงลับของเขาสร้างขึ้น เซมปูจิและทีมหุ่นยนต์ที่มีอิสระในการคิดได้ต่อสู้กับเหล่าอาชญากรที่ทำให้เกิดภัยพิบัติไปทั่วเมืองนีโอโตเกียว[1]

ตัวละคร[แก้]

ตัวละครหลัก[แก้]

เซ็มปูจิ ไมโตะ (旋風寺 舞人)
ตัวเอกของเรื่อง อายุ 15 ปี (ในตอนที่ 29 เป็นอายุ 16 ปี) ลูกชายของประธานกลุ่มบริษัทเซ็มปูจิ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปลายของโรงเรียนมัธยมปลายนิคคัทสึ นอกจากนี้เป็นหัวหน้ากลุ่มผู้กล้ารถด่วนอีกทั้งเป็นผู้ขับไมท์ไกน์
โยชินากะ แซลลี่ (吉永 サリー)

ผู้เกี่ยวข้องกับไมโตะ[แก้]

ฮามาดะ นัตสึฮิโกะ (浜田 満彦)
นักวิทยาศาตร์ อายุ 15 ปี (ในตอนที่ 37 เป็น 16 ปี) เป็นเพื่อนสนิทและเพื่อนสมัยเด็กของไมโตะ เป็นผู้ร่วมพัฒนาสร้างยานยนต์ต่างๆ
อาโอคิ เคย์อิจิโร่ (青木 桂一郎)
พ่อบ้านประจำตระกูลเซ็มปูจิ อายุ 50 ปี
มัตสึบาระ อิซึมิ (松原 いずみ)
เลขาของไมโตะ อายุ 22 ปี ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่โอเปอเรเตอร์ของกลุ่มผู้กล้ารถด่วน ไมโตะนับถือเธอว่าเป็นพี่สาว มีบุคลิกเฮฮา ในอดีตเป็นเลขาของกลุ่มบริษัทเซ็มปูจิ แต่หลังจากที่ยูอิจิโร่เสียชีวิตไป ทำให้มาทำหน้าที่เป็นเลขาของไมโตะ
เซ็มปูจิ ยูจิโร่ (旋風寺 裕次郎)
ปู่ของไมโตะ อายุ 88 ปี
โอซากะ จิโร่ (大阪 次郎)
เจอร์รี่ (チャーリー)
เซ็มปูจิ อากิระ (旋風寺 旭)
พ่อของไมโตะ
เซ็มปูจิ รุริโกะ (旋風寺 ルリ子)
แม่ของไมโตะ
โยชินากะ เท็ตสึยะ (吉永 テツヤ)

คู่ปรับ และ ตำรวจ[แก้]

ไรบารุ โจ (雷張 ジョー)
โอซาวะ โชอิจิโร่ (小沢 昭一郎)

กลุ่มของวูลฟ์กัง[แก้]

วูลฟ์กัง (ウォルフガング)
อิทช์ (イッヒ), รีเบะ (リーベ), ดิทช์ (ディッヒ)

กลุ่มนินจาก่อการร้าย กองทัพเงา[แก้]

โจกัง มิฟุเนะ (ショーグン・ミフネ)
โคโจ (胡蝶)

เอเชียมาเฟีย[แก้]

ฮอย โค โล (ホイ・コウ・ロウ)
ชิงจา รุส (チンジャ・ルース)

กลุ่มหัวขโมยข้ามชาติ พิงค์แคท[แก้]

แคทเธอรีน บิตอน (カトリーヌ・ビトン)
โอโดลี่ (オードリー)

แบล็คนัวร์[แก้]

เพอร์เพิล (パープル)
จามาเนะ (ジャーマネ)
อากิ (アキ), เคย์ (ケイ), โทโมะ (トモ), ฮิโระ (ヒロ)
เอ็กเซบ (エグゼブ)
ซิกซ์ (シックス)
เซเวน (セブン)
แบล็คนัวร์ (ブラックノワール)

กลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ[แก้]

ฮารุโอะ (ハルオ), จุน (ジュン), โจซาคุ (チョウサク)

ตัวร้ายกลุ่มอื่น[แก้]

ฮารุโอะ (ハルオ), จุน (ジュン), โจซาคุ (チョウサク)

นักฆ่ารับจ้าง[แก้]

กลุ่มนักฆ่าของเชลเนนโกะ (抜き打ちのチェルネンコ)
ยมฑูติ ไวล์เดอร์ (死神ワイルダー)
อิชิบาชิ (イシバシ)
อัพเปอร์ (アッパー), พันช์ (パンチ)
ยูเรียส (ユリウス)

กลุ่มผู้กล้ารถด่วน[แก้]

ไมท์ไกน์[แก้]

ไกน์ (ガイン)
หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างพื้นฐานมาจากรถไฟชินคังเซ็นซีรีส์ 300 โนโซมิ เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกติดตั้งสุดยอดปัญญาประดิษญ์ G ซิสเต็ม ทำให้สามารถเข้าใจและพูดภาษามนุษย์ได้
ไมท์วิงก์ (マイトウィング)
ยานรบที่สร้างพื้นฐานมาจากรถไฟชินคังเซ็นซีรีส์ 400 สึบาสะ เป็นยานรบประจำตัวของไมโตะ
โลโคโมไลเซอร์ (ロコモライザー)
ยานรบประเภทรถจักรไอน้ำยักษ์ มีขนาดใหญ่สุดในกลุ่ม
ไมท์ไกน์ (マイトガイン)
หุ่นยนต์ที่รวมร่างระหว่างไกน์, ไมท์วิงก์ และ โลโคโมไลเซอร์
ดริลทคคิว (ドリル特急)
รถด่วนที่บรรทุกไคเซอร์ดริล, ไคเซอร์ 1-5, ไคเซอร์แคเรียร์ ทำหน้าที่เดียวกับโลโคโมไลเซอร์ที่ทำหน้าที่เคลื่อนที่เดินทาง
ไคเซอร์ดริล (カイザードリル)
ไคเซอร์แคเรียร์ (カイザーキャリア)
ไคเซอร์ 1 (カイザー1)
ไคเซอร์ 2 (カイザー2)
ไคเซอร์ 3 (カイザー3)
ไคเซอร์ 4 (カイザー4)
ไคเซอร์ 5 (カイザー5)
ไมท์ไคเซอร์ (マイトカイザー)
หุ่นยนต์ที่รวมร่างระว่างไคเซอร์ดริล และ ไคเซอร์ 1-5
ไมท์กันเนอร์ (マイトガンナー)
หุ่นยนต์ผู้ช่วยที่มีลักษณะมาจากรถไฟหัวกระสุน สามารถแปลงร่างเป็นหุ่นยนต์และปืนใหญ่
เกรทไมท์ไกน์ (グレートマイトガイン)
หุ่นยนต์ที่รวมร่างระหว่างไมท์ไกน์และไมท์ไคเซอร์เข้าไว้ด้วยกัน ในการคำสั่งรวมร่างไมโตะพูดว่า เล็ทส์ ไมท์ไกน์! จากนั้นไมท์ไกน์ตอบร้บคำสั่งว่า เกรท แดช!! เพื่อเรียกไมท์ไคเซอร์มารวมร่าง
เกรทไมท์ไกน์ เพอร์เฟ็กต์โหมด (グレートマイトガイン・パーフェクトモード)
กาแล็คซี่เอ็กเพรส (ギャラクシーエクスプレス)

บอมเบอร์ส[แก้]

กลุ่มหุ่นยนต์ผู้ช่วยทีมหลัก สามารถแปลงร่างรูปแบบรถไฟและหุ่นยนต์ ต่อมาฮานาดะได้เพิ่มไอเดียด้วยการเพิ่มแอนิมอลโหมดที่สามารถแปลงร่างเป็นสัตว์ได้ ทำให้มีลักษณะพิเศษคือสามารถเปลี่ยนร่างที่มีลักษณะรูปลักษณ์ที่มาจากสัตว์ สามารถรวมร่างแบบรถไฟได้โดยใช้ชื่อว่า แอนิมอลทคคิว (アニマル特急) แต่หลังจากที่เพิ่มฮอร์นบอมเบอร์เข้ามาทำให้มีชื่ออีกชื่อว่า โมจูทคคิว (猛獣特急)

ไลโอบอมเบอร์ (ライオボンバー)
หุ่นยนต์ที่มีต้นแบบมาจาก ชินคันเซ็นซีรีส์ 200 มีชื่อเดิมว่า ยามาบิโกะบอมเบอร์ เมื่อแปลงร่างเป็นแอนิมอลโหมดมีลักษณะเป็นสิงโต เป็นหัวหน้าทีมบอมเบอร์ส
ไดโนบอมเบอร์ (ダイノボンバー)
หุ่นยนต์ที่มีต้นแบบมาจาก ซูเปอร์ฮิตาชิซีรีส์ 651 มีชื่อเดิมว่า ฮิตาชิบอมเบอร์ เมื่อแปลงร่างเป็นแอนิมอลโหมดมีลักษณะเป็นไทแรนโนซอรัส
เบิร์ดบอมเบอร์ (バードボンバー)
หุ่นยนต์ที่มีต้นแบบมาจาก นาริตะ เอ็กซ์เพรสซีรีส์ 253 มีชื่อเดิมว่า นาริตะบอมเบอร์ เมื่อแปลงร่างเป็นแอนิมอลโหมดมีลักษณะเป็นนก
ฮอร์นบอมเบอร์ (ホーンボンバー)
หุ่นยนต์ที่มีต้นแบบมาจาก ชินคันเซ็นซีรีส์ 100 มีชื่อเดิมว่า ฮิคาริบอมเบอร์ เมื่อแปลงร่างเป็นแอนิมอลโหมดมีลักษณะเป็นไทรเซราท็อปส์
ไทรบอมเบอร์ (トライボンバー)
หุ่นยนต์ที่บอมเบอร์สทั้ง 3 รวมร่าง
แบทเทิลบอมเบอร์ (バトルボンバー)

ไดเวอร์ส[แก้]

กลุ่มหุ่นยนต์ผู้ช่วยอีกทีมทำหน้าที่ในการกู้ภัยเป็นหลัก เมื่อรวมร่างในรูปแบบรถไฟถูกเรียกว่า เรสคิวทคคิว (レスキュー特急) ที่มีลักษณะเป็นรถไฟความเร็วสูง TGV ถูกสร้างหลังจากไมท์ไกน์และบอมเบอร์ส ทำให้มีระบบสุดยอดปัญญาประดิษฐ์มีความสามารถที่วิเคราะห์ยิ่งขึ้น

ไฟร์ไดเวอร์ (ファイアダイバー)
หัวหน้าทีมไดเวอร์ แปลงร่างมาจากรถดับเพลิง
โปริสไดเวอร์ (ポリスダイバー)
แปลงร่างมาจากรถตำรวจลาดตระเวณ
เจ็ทไดเวอร์ (ジェットダイバー)
แปลงร่างมาจากเครื่องบินเจ็ท
ดริลไดเวอร์ (ドリルダイバー)
แปลงร่างมาจากรถดำดิน
การ์ดไดเวอร์ (ガードダイバー)
หุ่นยนต์รวมร่างที่เกิดการการรวมตัวของหุ่นไดเวอร์ 4 ตัว

หุ่นยนต์และยานรบอื่นๆ[แก้]

ไมท์สเตชั่น (マイトステーション)
กาบาเมนท์ด็อก (ガバメントドッグ)
ขบวน JIS125 (JIS125式)

ยานรบและอาวุธของฝั่งศัตรู[แก้]

วูลฟ์กัง[แก้]

ฮิริว (飛龍)
โกริว (轟龍)
ทีเกล 5656 (ティーゲル5656)
แพนเซอร์ CR-17 (パンツァーCR-17)
เมกะโซนิค 8823 (メガソニック8823)
มาร์ส 1133 (マルス1133)
สตาร์ค 4126 (シュタルク4126)
D9-B
D9-B2
คูลมินท์ 3636 (クールミント3636)
แครปเป้ (クラッペ)
ไดรเซน 1313 (ドライツェン1313)

กองทัพเงา[แก้]

หุ่นยนต์นักดาบ เค็นโก (剣豪ロボ ケンゴー)
ยัคโก (ヤッコー)
นินจา (ニンジャ)
คาราเต้ (カラテ)
อาชูร่า (アシュラ)
หุ่นยนต์ภูติวายุ (妖風ロボ)
หุ่นยนต์วายุมาร (魔風ロボ)
หุ่นยนต์วายุมืด (闇風ロボ)
นิโอ (ニオー)
โคโจ (コチョウ)
ฮันเนีย (ハンニャ)
หุ่นยนต์โชกุน โชกุน (将軍ロボ ショーグン)

พิงค์แคท[แก้]

เฮอร์เมรุน (ハーメルン)
ฟลอเมจ (フロマージュ)
มิเรน I (ミレーヌI)
มิเรน II (ミレーヌII)
มิเรน III (ミレーヌIII)
มิเรเนียน (ミレニアン)
ออคพาธี (オクトパシー)
ครูเตอร์ (クルーター)
สโนว์บี (スノービー)
อาร์แซน (アルセーヌ)
บัมพ์กิน (バンプキン)
มาการิต้า (マルガリータ)
เพรชิโอเน่ (プレシオーネ)

เอเซียมาเฟีย[แก้]

เปาซู (パオズー)
จูเรนไป หมายเลข 1 (チューレンパイ1号)
จูเรนไป หมายเลข 2 (チューレンパイ2号)
จูเรนไป หมายเลข 3 (チューレンパイ3号)
เทรนบอมบ์ (トレインボム)
แก็งค์โรโบ (ギャングロボ)
คร็อกโรชอาย (コックローチアイ)
หุ่นยนต์นัดหมาย (任侠ロボ)
เซียวไม (シャオマイ)
แบล็คไกน์ (ブラックガイン) / แบล็คไมท์ไกน์ (ブラックマイトガイン)
ปรากฏตัวในตอนที่ 16 เป็นหุ่นยนต์ที่สร้างโดยฮอย โดยได้ทำการลอกเลียนแบบไกน์ทั้งคัดลอกข้อมูลรูปร่างและระบบปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงสร้างแบล็คไมท์วิงก์, แบล็คโลโคโมไรเซอร์ และสร้างยานชิ้นส่วนเพิ่มเติม แบล็คไพล์เดอร์ เพื่อทำการรวมร่างเป็น แบล็คไมท์ไกน์ แต่ด้วยการคัดลอกข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ทำให้มีความคิดเดียวกันกับไกน์ที่เป็นตัวจริงขึ้นมารวมทั้งนับถือไกน์เป็นพี่ชาย ทำให้กลายเป็นพวกของกลุ่มหุ่นยนต์รถด่วน จนฮอยไม่พอใจเลยทำให้ใช้ปุ่มควบคุมทำลายอาละวาด แต่ได้สติทำให้ต้องสละชีพไปยังอวกาศเพื่อไม่ให้เกิดการระเบิดกลางเมือง
รินริน (リンリン)
รันรัน (ランラン)
จินไร (ジンライ)
ไรจิน (ライジン)
ไรโก (ライゴー)

เทรเจอร์โรโบเทค[แก้]

ริคเคนแบ็คเกอร์ (リッケンバッカー)
อาโทรัส MK-II (アトラスMK-II)
อิมพีเรียล
X (เซตต์)
Y (เอปซิลอน)
Z (อิคส์)
ป้อมปราการลอยฟ้า บรันกา (空中要塞ブランカ)

รายชื่อตอน[แก้]

วิดีโอเกม[แก้]

ไมท์ไกน์ได้รับการดัดแปลงในเกมยูฉะซีรีส์เช่นเดียวกับในยูฉะเรื่องอื่น ๆ ทังหมด ผลงานเรื่องนี้ยังได้รับการดัดแปลงเป็นซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น วี สำหรับเพลย์สเตชัน 4 และเพลย์สเตชัน วิตา โดยมีสมาชิกทุกคนในหน่วยเบรฟเอกซ์เพรสทีมเป็นตัวละครที่เล่นได้ แม้ว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดและตัวแบ่งแยกจะปรากฏเฉพาะในคัตซีนเท่านั้น ซึ่งแบล็คไมท์ไกน์ก็เป็นความลับหนึ่งเช่นกัน ด้วยความศรัทธาในการแสดงแบล็คนัวร์เป็นจุดเด่นในศึกก่อนลำดับหลังสุด เผยให้เห็นว่าเป็นผู้เขียนทุกความขัดแย้งที่สำคัญรวมถึงเหตุการณ์จากอนิเมะอื่น ๆ และได้ร่วมทีมกับจักรพรรดิแห่งความมืดจากชิน มาชินก้า อิมแพค แซด ต่างจากซีรีส์แบล็คนัวร์ที่ตัวเอกคนอื่นคาดเดาว่าเป็นการสร้างสรรค์จากอารยธรรมที่ล้ำสมัยทางเทคโนโลยีที่คิดว่าตัวเองสูงส่งเกินไป ไมท์ไกน์ยังได้นำเสนอในการติดตามจิตวิญญาณซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น เอกซ์ ในระบบเดียวกัน รวมถึงซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น ที

การออกอากาศ[แก้]

ผู้กล้ารถด่วนไมท์ไกน์ ออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 17:00 น. - 17:30 น. ทางทีวีอาซาฮิ เริ่มฉายเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1993 ถึงวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1994

ในส่วนประเทศไทย สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ได้ออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2544 ในชื่อ ไมท์ไกน์ หุ่นสายฟ้าประจัญบาน ในช่วงแรกออกอากาศทุกวันพุธถึงวันศุกร์เวลา 7:00 - 7:30 น. แต่ได้หยุดออกอากาศไปชั่วคราวจากการปรับผังรายการในส่วนเวลาช่วงเช้า จนกระทั่งได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งโดยได้ย้ายวันและเวลาเป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 6:00 - 6:30 น. เมื่อเดือนพฤศจิกายน ในปีเดียวกันจนออกอากาศจบเรื่อง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ไมท์ไกน์ หุ่นสายฟ้าประจัญบาน [เรื่องย่อ / ตัวละคร / ของเล่น]". Metal Bridges. สืบค้นเมื่อ 2021-09-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ไมท์ไกน์ หุ่นสายฟ้าประจัญบาน ถัดไป
ผู้กล้าในตำนาน ดา การ์น ยูฉะซีรีส์
(ค.ศ. 1993–1994)
ผู้กล้ายอดมือปราบ เจเด็คเกอร์