ผีเสื้อจักรพรรดิ
ผีเสื้อจักรพรรดิ | |
---|---|
ตัวเมีย | |
ตัวผู้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Lepidoptera |
วงศ์: | Nymphalidae |
สกุล: | Danaus |
สปีชีส์: | D. plexippus |
ชื่อทวินาม | |
Danaus plexippus (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง | |
ผีเสื้อจักรพรรดิหรือผีเสื้อโมนาร์ช (อังกฤษ: Monarch butterfly) อยู่ในสายพันธุ์ Nymphalidae[3]มันเป็นผีเสื้อที่รู้จักกันดีในทวีปอเมริกาเหนือพวกมันจะผสมเกสรดอกไม้ทำให้ดอกไม้แพร่พันธุ์ได้ดี[4]เสวมันมีปีกสีขาว,ส้ม.ดำและมีขนาดประมาณ 8.9-10.2 ซม. (3ครึ่ง-4 นิ้ว)[5]พวกมันมีสีและลวดลายที่คล้ายคลึงกัน แต่มีขนาดเล็กและมีแถบสีดำเป็นพิเศษทีแตกต่างกันในแต่ละตัว มันมีสิ่งที่น่าสังเกตคือการอพยพในช่วงปลายฤดูร้อน - ฤดูใบไม้ร่วงจากภาคเหนือและภาคกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางใต้ของประเทศแคนาดาไปยังรัฐฟลอริด้าและประเทศเม็กซิโก[6][7]ผีเสื้อจักรพรรดิถูกส่งไปสถานีอวกาศและได้มีการทดลองกับมันที่นั้นด้วย[8]
อนุกรมวิธาน
[แก้]ชื่อของผีเสื้อจักรพรรดินั้นถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแต่พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ[9]ซึ่งถูกอธิบายลักษณะโดยคาโรลัส ลินเนียสในหนังสือระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ปี ค.ศ. 1758 ซึ่งถูกจัดอยู่ในสกุลPapilio[10]
ลักษณะ
[แก้]ผีเสื้อจักรพรรดิมีปีกสีขาว,ส้ม.ดำและมีขนาดประมาณ 8.9-10.2 ซม. (3ครึ่ง-4 นิ้ว)[5]สีพื้นของปีกเป็นสีส้มมีขอบสีดำและมีจุดเล็กๆสีขาว ปีกด้านล่างของพวกมันจะมีลักษณะเหมือนกันแต่บางตัวอาจมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้มและอาจมีจุดใหญ่สีขาวด้วย[11]พวกมันจะมีสีที่เข็มขึ้นจนเป็นสีแดงในช่วงการอพยพ[12]
ขนาดปีกของผีเสื้อจักรพรรดิไม่ได้อยู่ทีการอพยพแต่อยู่ที่ถิ่นกำเนิดถ้าผีเสื้อจักรพรรดิอยู่ในฝั่งตะวันออกจะมีปีกที่ใหญ่กว่าฝั่งตะวันตก[8]
พวกมันบินค่อนข้างช้า[13]ความเร็วของของพวกมันคือประมาณ9 กม. / ชม. หรือ 5.5 ไมล์ต่อชั่วโมง[14]ซึ่งช้ากว่าการวิ่งหย่อกๆของมนุษย์ซะอีก
ตัวผู้นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย[8][11]แต่ปีกของตัวผู้จะเบาและเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย[15]และยังมีอีกพวกหนึ่งที่พบในประเทศออสเตรเลีย,ประเทศอินโดนีเซีย,ประเทศมาเลเซียรวมถึงภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเรียกว่า nivosus สีปีกของพวกมันจะมีสีขาวและมีสีส้มมันเป็นจำนวนประชากรเพียง1%ของผีเสื้อจักรพรรดิทั้งหมดอีกทั้งยังมีผีเสื้อจักรพรรดิจำนวนถึง10%ที่สามารถพบได้บนเกาะฮาวายอีกด้วย[16]
การอพยพ
[แก้]ตามธรรมชาติแล้ว ถ้าผีเสื้อชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศอเมริกาเหนือ ในทุกๆปี พวกมันจะบินอพยพหนีฤดูหนาวตามเส้นทางจากทางทิศตะวันออกของอเมริกาเหนือไปยังตอนกลางของประเทศเม็กซิโกที่มีอากาศอบอุ่นกว่า และเป็นผีเสื้อที่มีการนำทางในการบินโดยใช้กลไกนาฬิกาในร่างกาย เปรียบเสมือนมีเครื่องบอกเวลาอัตโนมัติให้กับตัวมันเอง ทำงานสอดคล้องกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา มาใช้นำทางการบินของพวกมัน มุ่งตรงไปยังทางทิศใต้ในระยะไกลมากๆถึง 4,000 กิโลเมตร ได้อย่างถูกต้อง
นักวิจัยกลุ่มนี้ได้พยายามหาวิธีตรวจสอบว่า ทำไมสมองของผีเสื้อชนิดนี้สามารถมองเห็นภาพรวมของเส้นทางการบินได้อย่างไร จากการทดลองพบว่า พวกผีเสื้อจักรพรรดินี้ได้อาศัยดวงอาทิตย์ช่วยกระตุ้นสัญญาณกระแสประสาทเหมือนใช้เป็นนาฬิกาบอกเวลาในระดับโมเลกุลตรงบริเวณหนวดของพวกมัน เพื่อให้พวกมันสามารถบินไปในระยะทางที่ไกลๆไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการได้ กลุ่มนักวิจัยนี้ได้ลองสร้างสมการคณิตศาสตร์นำมาจำลองทิศทางการบินของผีเสื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากผลของการคำนวณอัตราการกระพริบของสัญญาณกระแสประสาทที่หนวดของมัน และดวงตาทั้งสองข้างของผีเสื้อชนิดนี้จะมีวงจรรับแสงหันไปตามการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงอาทิตย์ โดยที่ลำตัวของผีเสื้อจะทำมุมชี้ไปตามทิศทางของดวงอาทิตย์ในมุมที่ค่อยๆแคบลงเรื่อยๆ ในที่สุดจะมีผลทำให้ผีเสื้อชนิดนี้บินทำมุมฉากกับตัวมันเองทำให้บินได้อย่างยากลำบากตรงตามที่คาดการณ์ไว้ในแบบจำลอง โดยการจำลองทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะสามารถนำมาใช้ตรวจสอบการทำนายเส้นทางการบินของผีเสื้อจักรพรรดิจริงๆที่เลี้ยงไว้ในห้องทดลองได้ด้วย[17]
วงจรชีวิต
[แก้]1.ไข่. 2.หนอน 3.ดักแด้ 4.ผีเสื้อ
ไข่
[แก้]ผีเสื้อจักรพรรดิเมื้อหลังจากผ่านการผสมพันธุ์แล้ว[18] จะบินไปที่พืชที่เป็นอาหารของตัวหนอนเช่นใบอ่อนของต้น milkweed [19][20]เพื่อวางไข่ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม่ผลิ[21] ไข่จะมีสีครีมหรือสีเขียวอ่อนไข่ไก่และมีรูปทรงกรวยและมีขนาดประมาณ 1.2 × 0.9 มม ไข่มีน้ำหนักน้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัม และอาจวางไข่ได้มากถึง290 ถึง 1180 ฟอง[22][18]ไข่ใช้เวลา 3 ถึง 8 วันในการพัฒนาและฟักเป็นหนอน[8][23]
หนอน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดักแด้
[แก้]พวกมันกลายเป็นดักแด้แล้วกลายเป็นของเหลวจากนั้นก็จะกลายเป็นผีเสื้อเมือผีเสื้ออกจากดักแด้พวกมันจะมีสีที่ซีดและปีกที่เปียก
ผีเสื้อ
[แก้]พวกมันจะกลายเป็นผีเสื้อแล้วออกมาจากเป็นดักแด้2สัปดาห์จากนั้นมันจะตากปีกให้แห้งเพื่อที่จะทำให้สามารถบินได้[8][24][25]
-
ไข่
-
หนอน
-
หนอนกินใบไม้
-
ดักแด้
-
ออกจากดักแด้
-
พบคู่ผสมพันธุ์
-
วางไข่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Committee On Generic Nomenclature, Royal Entomological Society of London (2007) [1934]. The Generic Names of British Insects. Royal Entomological Society of London Committee on Generic Nomenclature, Committee on Generic Nomenclature. British Museum (Natural History). Dept. of Entomology. p. 20.
- ↑ Scudder, Samuel H.; William M. Davis; Charles W. Woodworth; Leland O. Howard; Charles V. Riley; Samuel W. Williston (1989). The butterflies of the eastern United States and Canada with special reference to New England. The author. p. 721. ISBN 0-665-26322-8.
- ↑ "Conserving Monarch Butterflies and their Habitats". USDA. 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Conserving Monarch Butterflies and their Habitats". USDA. 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 Garber, Steven D. (1998). The Urban Naturalist. Courier Dover Publications. pp. 76–79. ISBN 0-486-40399-8.
- ↑ Groth, Jacob (10 November 2000). "Monarch Migration Study". Swallowtail Farms. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
- ↑ "Monarch Migration". Monarch Joint Venture. 2013.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Petition to protect the Monarch butterfly (Danaus plexippus plexippus) under the endangered species act" (PDF). Xerces Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-12. สืบค้นเมื่อ 1 September 2014.
- ↑ Adams, Jean Ruth (1992). Insect Potpourri: Adventures in Entomology. CRC Press. pp. 28–29. ISBN 1-877743-09-7.
- ↑ Linnaeus, Carl (1758). Systema Naturae (ภาษาละติน). Vol. 1. Stockholm: Laurentius Salvius. p. 471. OCLC 174638949. สืบค้นเมื่อ 5 June 2012.
- ↑ 11.0 11.1 Braby, Michael F. (2000). Butterflies of Australia: Their Identification, Biology and Distribution. CSIRO Publishing. pp. 597–599. ISBN 0-643-06591-1.
- ↑ Satterfield, Dara A.; Davis, Andrew K. (April 2014). "Variation in wing characteristics of monarch butterflies during migration: Earlier migrants have redder and more elongated wings". Animal Migration. 2 (1). doi:10.2478/ami-2014-0001.
- ↑ Klots, Alexander B. (1951). A Field Guide to the Butterflies of North America, East of the Great Plains (Tenth ed.). Boston: Houghton Mifflin Company. pp. 78, 79. ISBN 0395078652.
- ↑ "monarchscience". Akdavis6.wixsite.com. 31 December 2016. สืบค้นเมื่อ 6 January 2017.
- ↑ "Monarch, Danaus plexippus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2008.
- ↑ Gibbs, Lawrence; Taylor, O.R. (1998). "The White Monarch". Department of Entomology University of Kansas. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
- ↑ "การอพยพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-01.
- ↑ 18.0 18.1 Oberhauser (2004), p. 3
- ↑ Lefevre, T.; Chiang, A.; Li, H; Li, J; de Castillejo, C.L.; Oliver, L.; Potini, Y.; Hunter, M.D.; de Roode, J.C. (2012). "Behavioral resistance against a protozoan parasite in the monarch butterfly". Journal of Animal Ecology. 81 (1): 70–9. doi:10.1111/j.1365-2656.2011.01901.x. PMID 21939438.
- ↑ "The other butterfly effect – A youth reporter talks to Jaap de Roode". TED Blog. สืบค้นเมื่อ 12 December 2014.
- ↑ "Monarch Butterfly Life Cycle and Migration". National Geographic Education. 24 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 15 August 2013.
- ↑ Oberhauser (2004), p. 23
- ↑ Oberhauser (2004), p. 51
- ↑ "Reproduction". Monarch Lab. Regents of the University of Minnesota. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-03. สืบค้นเมื่อ 13 December 2014.
- ↑ Flockhart, D. T. Tyler; Martin, Tara G.; Norris, D. Ryan (2012). "Experimental Examination of Intraspecific Density-Dependent Competition during the Breeding in Monarch Butterflies (Danaus plexippus)". PLoS ONE. 7 (9): e45080. Bibcode:2012PLoSO...745080F. doi:10.1371/journal.pone.0045080. PMC 3440312. PMID 22984614.