ผอบพระเจ้ากนิษกะ
หน้าตา
ผอบพระเจ้ากนิษกะ | |
---|---|
ผอบพระเจ้ากนิษกะ อายุราว ค.ศ. 127 แสดงภาพของพระโคตมพุทธเจ้า รายล้อมด้วยพระอินทร์และพระพรหม พระเจ้ากนิษกะอยู่ทางใต้ของกล่อง, พิพิธภัณฑ์บริติช[1] | |
สร้าง | คริสต์ศตวรรษที่ 2 |
ที่อยู่ปัจจุบัน | พิพิธภัณฑ์บริติช ลอนดอน |
ผอบพระเจ้ากนิษกะ (อังกฤษ: Kanishka casket หรือ Kanishka reliquary) เป็นผอบพุทธ ทองแดงเคลือบ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 127 ปีแรกในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ จักรพรรดิแห่งกุษาณะ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ผอบนี้ขุดพบอยู่ในห้องลับใต้กณิษกสถูประหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีในปี 1908-1909 ในเขตชนบทของเปศวาร์ เชื่อกันว่าภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสามองค์ของพระโคตมพุทธเจ้า[2] ซึ่งต่อมาถูกนำออกมาและส่งไปประดิษฐานที่ประเทศพม่าโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษ[3] ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุยังคงประดิษฐานอยู่ที่มัณฑะเลย์
จารึก
[แก้]ผอบปรากฏจารึกภาษาขโรษฐี เนื้อหาระบุว่า:
บรรทัด | คำที่ปรากฏ (อักษรขโรษฐี) | ทับศัพท์อักษรโรมัน | คำแปล |
---|---|---|---|
2 | 𐨐𐨞𐨁𐨮𐨿𐨐𐨤𐨂𐨪𐨅 𐨞𐨒𐨪𐨅 𐨀𐨩𐨎 𐨒𐨢𐨐𐨪𐨎𐨜𐨅 𐨨𐨱𐨪𐨗𐨯 𐨐𐨞𐨁 | Kaṇiṣkapure ṇagare ayaṃ gadhakaraṃḍe maharajasa Kaṇi- | In Kaṇiṣkapura city, this incense box is the great king Kanishka's |
4 | 𐨮𐨿𐨐𐨯 𐨬𐨁𐨱𐨪𐨅 𐨨𐨱𐨯𐨅𐨣𐨯 𐨯𐨎𐨓𐨪𐨐𐨿𐨮𐨁𐨟𐨯 𐨀𐨒𐨁𐨭𐨫𐨣𐨬𐨐𐨪𐨿𐨨𐨁𐨀𐨣 | ṣkasa vihare Mahasenasa Saṃgharakṣitasa agiśalanavakarmiana | monastery's superintendents of construction of the fire hall, Mahasena's and Saṃgharakṣita's, |
3 | 𐨡𐨅𐨩𐨢𐨪𐨿𐨨𐨅 𐨯𐨪𐨿𐨬𐨯𐨟𐨿𐨬𐨣 𐨱𐨁𐨟𐨯𐨂𐨱𐨪𐨿𐨠 𐨧𐨬𐨟𐨂 | deyadharme sarvasatvana hitasuhartha bhavatu | donation. May it be for the benefit and pleasure of all living beings. |
1 | 𐨀𐨕𐨪𐨿𐨩𐨣 𐨯𐨪𐨿𐨬𐨯𐨿𐨟𐨁𐨬𐨟𐨁𐨣 𐨤𐨿𐨪𐨟𐨁𐨒𐨿𐨪𐨱𐨅 | acaryana sarvastivatina pratigrahe | In the possession of the Sarvāstivādin teachers. |
หากแปลจารึกเป็นภาษาไทย จะได้ความว่า "ในนครกณิษกปุระ กล่องเครื่องหอมนี้มาจากการบริจาคของมหาเสนาและสังฆรักษิตะ ผู้ควบคุมการก่อสร้างโถงไฟในวิหารของพระเจ้ากนิษกะ ขอสิ่งนี้เป็นผลบุญและนำความสุขแก่สัตว์ทั้งปวง [ผอบนี้เป็น]ของบรรดาอาจารย์สรวาสติวาท"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Myer, Prudence R. (1966). "Again the Kanishka Casket". The Art Bulletin. 48 (3/4): 396. doi:10.2307/3048396. ISSN 0004-3079.
- ↑ Spooner, D. B. (1908-9): "Excavations at Shāh-ji-Dherī." Archaeological Survey of India, p. 49.
- ↑ Marshall, John H. (1909): "Archaeological Exploration in India, 1908-9." (Section on: "The stūpa of Kanishka and relics of the Buddha"). Journal of the Royal Asiatic Society, 1909, pp. 1056-1061.
- ↑ Baums, Stefan. (2012). Catalog and Revised Text and Translations of Gandhāran Reliquary Inscriptions. Gandhāran Buddhist Reliquaries. D. Jongeward. Seattle, University of Washington Press
- ↑ Organ, R.M. (1964). "The Restoration of the Relic Casket from Shāh-jī-kī-ḍherī". The British Museum Quarterly (1): 46–51. ISSN 0007-151X.
- ↑ Translated by B. N. Mukherjee. BMQ, Vol. XXVIII, pp. 41-43. Quoted in: Dobbins, K. Walton. (1971): The Stūpa and Vihāra of Kanishka I. The Asiatic Society of Bengal Monograph Series, Vol. XVIII. Calcutta.