ผลระยะยาวของโควิด-19

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายจากโรคระยะเฉียบพลันแล้ว กำลังถูกส่งกลับบ้าน

ผลระยะยาวของโควิด-19 (long COVID) หรือชื่อเรียกอื่น เช่น ผลตามหลังระยะเฉียบพลันของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (post-acute sequelae of SARS-CoV-2 infection), ผลตามหลังระยะเฉียบพลันของโควิด-19 (post-acute sequelae of COVID-19 (PASC)), กลุ่มอาการโควิดเรื้อรัง (chronic COVID syndrome (CCS)) และ โควิดลากยาว (long-haul COVID)[1][2][3] คือภาวะในทางทฤษฎีที่ผู้ป่วยที่หายจากระยะป่วยเฉียบพลันของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้วยังมีอาการอยู่ อาการเหล่านี้เช่น ความอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไข้ต่ำ และมึนงง เป็นต้น

ผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ประมาณ 10% จะมีอาการอยู่นานกว่า 3 สัปดาห์[4] และประมาณ 2% มีอาการอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์[5] เรียกว่ากลุ่มอาการหลังโควิด-19

ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผลระยะยาวของโควิด-19 ยังอยู่ระหว่างการศึกษา โดย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์เกี่ยวกับภาวะนี้ แต่มีการศึกษาฉบับหนึ่งบ่งชี้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ส่งผลกับการเกิดผลระยะยาว ระบบบริการสุขภาพของบางประเทศหรือเขตปกครองได้เริ่มการให้การดูแลกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้โดยจัดเป็นคลินิกพิเศษเพื่อให้การดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีผลระยะยาวจากโควิด-19

ผลระยะยาวของโควิด-19 พบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่ม รวมไปถึงคนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดี[6] และรวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรกเพียงเล็กน้อยด้วย

ข้อมูลนับถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีรายงานว่าตรวจพบอาการที่คล้ายคลึงกับผลระยะยาวของโควิด-19 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วกว่า 100,000 ราย[7][8][9]

ศัพท์และนิยาม[แก้]

Long COVID เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ป่วย มีรายงานว่ามีการใช้ครั้งแรกเป็นแฮชแท็กบนทวิตเตอร์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยเอลิสา เปเรโก (Elisa Perego) นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน[10][11]

ผลระยะยาวของโควิด-19 ไม่มีคำจำกัดความที่เข้มงวดเพียงนิยามเดียว[12] เป็นเรื่องปกติและคาดว่าผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น กลุ่มอาการหลังเข้ารักษาในหอผู้ป่วยหนัก หรือการติดเชื้อทุติยภูมิจะใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยและไม่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ความผันแปรตามธรรมชาติอาจทำให้ยากที่จะระบุว่ากลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละบุคคลนั้นแสดงถึงภาวะปกติโดยพื้นฐานของการใช้เวลาฟื้นตัวนาน หรือผลระยะยาวของโควิด-19 หลักคิดประการหนึ่งคือ ผลระยะยาวของโควิด-19 แสดงถึงอาการที่มีนานกว่าสองเดือน แม้ว่าจะไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อได้ว่าทางเลือกนี้เจาะจงกับการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2[12]

คำจำกัดความของสหราชอาณาจักร[แก้]

สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ (NICE) ของอังกฤษ แบ่งคำจำกัดความทางคลินิกของโควิด-19 ออกเป็น 3 แบบ:

  1. โควิด-19 เฉียบพลัน สำหรับอาการและอาการแสดงในช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  2. อาการใหม่หรือต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ขึ้นไปหลังจากเริ่มโควิด-19 เฉียบพลัน แบ่งออกเป็น:
2.1 โควิด-19 ที่มีอาการต่อเนื่อง ที่มีผลตั้งแต่ 4 ถึง 12 สัปดาห์หลังเริ่มมีอาการ
2.2 กลุ่มอาการหลังโควิด-19 สำหรับผลที่คงอยู่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปหลังจากเริ่มมีอาการ

NICE อธิบายคำว่า ผลระยะยาวของโควิด-19 ว่าใช้ "นอกเหนือจากคำจำกัดความของกรณีทางคลินิก" โดยเป็น "ที่ใช้กันทั่วไปในการอธิบายอาการและอาการแสดงที่ดำเนินต่อไปหรือพัฒนาหลังจากโควิด-19 เฉียบพลันซึ่งมีทั้ง โควิด-19 ที่มีอาการต่อเนื่อง (ตั้งแต่ 4 ถึง 12 สัปดาห์) และกลุ่มอาการหลังโควิด-19 (12 สัปดาห์ขึ้นไป)"[13]

NICE ให้คำจำกัดความของกลุ่มอาการหลังโควิด-19 ว่า "อาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการติดเชื้อที่สอดคล้องกับโควิด‑19 ดำเนินต่อไปนานกว่า 12 สัปดาห์และไม่ได้รับการอธิบายด้วยการวินิจฉัยในทางอื่น โดยปกติแล้วบ่อยครั้งจะแสดงเป็นกลุ่มของกลุ่มอาการที่ทับซ้อนกัน ซึ่งอาจแปรผันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และอาจส่งผลต่อระบบใด ๆ ในร่างกาย กลุ่มอาการหลังโควิด-19 อาจได้รับการวินิจฉัยก่อน 12 สัปดาห์ในขณะที่มีการประเมินความเป็นไปได้ในการเกิดโรคอื่น[13]

คำจำกัดความของสหรัฐ[แก้]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) กล่าวว่าอาการของผลระยะยาวของโควิด-19 อาจรวมถึงความเหนื่อยล้า หายใจถี่ "ภาวะสมองล้า (Brain Fog)" ความผิดปกติของการนอนหลับ มีไข้เป็นพัก ๆ อาการระบบทางเดินอาหาร ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อาการอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือนและมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงทำให้ทุพพลภาพ โดยจะมีอาการใหม่เกิดขึ้นหลังจากช่วงเวลาของการติดเชื้อ ผู้อำนวยการ NIH ฟรานซิส คอลลินส์ กล่าวว่าเงื่อนไขนี้สามารถเรียกรวมกันว่าผลสืบเนื่องฉับพลันหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (Post-Acute Sequelae of SARS-CoV-2; PASC)[14]

อาการ[แก้]

ผู้ป่วยโควิดระยะยาวรายงานอาการต่อไปนี้ ประกอบด้วย[15][16][17][18][19]

  • อ่อนเพลียมาก
  • ไอเรื้อรัง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ไข้ต่ำ
  • ตั้งสมาธิลำบาก
  • เสียความทรงจำ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งบางทีมาคู่กับโรคซึมเศร้าและอาการทางจิตอย่างอื่น
  • ปัญหาการหลับ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดข้อ
  • ปวดเหมือนเข็มต่ำตามแขนขา
  • ท้องร่วง และอาเจียนเป็นคราว ๆ
  • เสียการรับรสและกลิ่น
  • เจ็บคอและกลืนลำบาก
  • เริ่มเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • ผื่นผิวหนัง
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • ใจสั่น
  • ปัญหาของไต
  • ปัญหาสุขภาพปาก (ฟัน น้ำลายและเหงือก)
  • ไม่ได้กลิ่น[20]
  • รู้กลิ่นผิดธรรมดา[20]
  • มีเสียงในหู

อ้างอิง[แก้]

  1. Baig AM (October 2020). "Chronic COVID Syndrome: Need for an appropriate medical terminology for Long-COVID and COVID Long-Haulers". Journal of Medical Virology. doi:10.1002/jmv.26624. PMID 33095459.
  2. Staff (13 November 2020). "Long-Term Effects of COVID-19". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.
  3. "Overview | COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effects of COVID-19 | Guidance | NICE". National Institute for Health and Care Excellence. 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  4. Greenhalgh T, Knight M, A'Court C, Buxton M, Husain L (August 2020). "Management of post-acute covid-19 in primary care". BMJ. 370: m3026. doi:10.1136/bmj.m3026. PMID 32784198. S2CID 221097768.
  5. Sudre CH, Murray B, Varsavsky T, Graham MS, Penfold RS, Bowyer RC, Pujol JC, Klaser K, Antonelli M, Canas LS, Molteni E (19 December 2020). "Attributes and predictors of Long-COVID: analysis of COVID cases and their symptoms collected by the Covid Symptoms Study App". MedRxiv, Preprint Server for the Health Sciences. doi:10.1101/2020.10.19.20214494. S2CID 224805406. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
  6. Brito D, Meester S, Yanamala N, Patel HB, Balcik BJ, Casaclang-Verzosa G, และคณะ (November 2020). "High Prevalence of Pericardial Involvement in College Student Athletes Recovering From COVID-19". JACC. Cardiovascular Imaging: S1936878X20309463. doi:10.1016/j.jcmg.2020.10.023. PMC 7641597 . PMID 33223496.
  7. Polack FP, Thomas SJ, Kitchin N, Absalon J, Gurtman A, Lockhart S, และคณะ (December 2020). "Safety and Efficacy of the BNT162b2 mRNA Covid-19 Vaccine". The New England Journal of Medicine. 383 (27): 2603–2615. doi:10.1056/NEJMoa2034577. PMC 7745181 . PMID 33301246.
  8. Anderson EJ, Rouphael NG, Widge AT, Jackson LA, Roberts PC, Makhene M, และคณะ (December 2020). "Safety and Immunogenicity of SARS-CoV-2 mRNA-1273 Vaccine in Older Adults". The New England Journal of Medicine. 383 (25): 2427–2438. doi:10.1056/NEJMoa2028436. PMID 32991794. PMC 7556339
  9. Mahase E (December 2020). "Covid-19: Oxford vaccine could be 59% effective against asymptomatic infections, analysis shows". BMJ. 371: m4777. doi:10.1136/bmj.m4777. PMID 33298405.
  10. Perego, Elisa; Callard, Felicity; Stras, Laurie; Melville-Jóhannesson, Barbara; Pope, Rachel; Alwan, Nisreen A. (1 October 2020). "Why we need to keep using the patient made term "Long Covid"". The BMJ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
  11. Callard F, Perego E (January 2021). "How and why patients made Long Covid". Social Science & Medicine. 268: 113426. doi:10.1016/j.socscimed.2020.113426. PMC 7539940 . PMID 33199035.
  12. 12.0 12.1 Brodin, Petter (January 2021). "Immune determinants of COVID-19 disease presentation and severity". Nature Medicine (ภาษาอังกฤษ). 27 (1): 28–33. doi:10.1038/s41591-020-01202-8. ISSN 1546-170X. PMID 33442016.
  13. 13.0 13.1 "Context | COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effects of COVID-19". National Institute for Health and Care Excellence. 18 December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  14. Francis S. Collins (23 February 2021). "NIH launches new initiative to study "Long COVID"".
  15. "COVID-19 (coronavirus): Long-term effects". Mayo Clinic. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
  16. "What are the long-term health risks following COVID-19?". NewsGP. Royal Australian College of General Practitioners (RACGP). 24 June 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
  17. Yelin D, Wirtheim E, Vetter P, Kalil AC, Bruchfeld J, Runold M, และคณะ (October 2020). "Long-term consequences of COVID-19: research needs". The Lancet. Infectious Diseases. 20 (10): 1115–1117. doi:10.1016/S1473-3099(20)30701-5. PMC 7462626. PMID 32888409. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
  18. "Chinese study finds most patients show signs of 'long Covid' six months on". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 10 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021.
  19. Yan, W. Their Teeth Fell Out. Was It Another Covid-19 Consequence? The New York Times (2020). https://www.nytimes.com/2020/11/26/health/covid-teeth-falling-out.html
  20. 20.0 20.1 Brewer, Kirstie (28 January 2021). "Parosmia: 'Since I had Covid, food makes me want to vomit'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.