ป้ายจราจรในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ป้ายจราจรประเทศไทย)

รายการด้านล่างนี้เป็นป้ายจราจรที่ใช้ในประเทศไทย

ป้ายบังคับ[แก้]

ตัวอย่างป้ายบังคับ (จำกัดความเร็วแบ่งตามประเภทของรถ)

ป้ายบังคับ (Regulatory Signs) ได้แก่ ป้ายจราจรที่มีความหมายเป็นการบังคับให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามความหมายของเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏอยู่ในป้ายนั้น โดยการกำหนดให้ผู้ใช้ทางต้องกระทำ งดเว้นการกระทำ หรือจำกัดการกระทำ ในบางประการ หรือบางลักษณะ

ป้ายบังคับ มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามข้อบังคับที่ได้แสดงไว้ตาม ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนแผ่นป้ายอย่างเคร่งครัด หากผู้ใดฝืนย่อมมีความผิดตามกฎหมาย แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. ป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ (Priority Regulating Signs)
  2. ป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ (Prohibitory or Restrictive Signs)
  3. ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs)
  4. ป้ายอื่น ๆ

โดยทั่วไป ป้ายบังคับมีรูปร่างเป็นแผ่นกลม มีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข ตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้าย และเส้นขีดกลางเป็นสีแดง ยกเว้นป้ายดังต่อไปนี้

  1. ป้ายหยุด (Stop Sign) เป็นรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า ตัวอักษรสีขาวบนพื้นป้ายสีแดง เส้นขอบป้ายสีขาว
  2. ป้ายให้ทาง (Give Way Sign) เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มุมชี้ลง ตัวอักษรสีดำ เส้นขอบป้ายสีแดง พื้นป้ายสีขาว
  3. ป้ายห้ามจอดรถหรือป้ายห้ามหยุดรถ เป็นรูปแผ่นกลม พื้นป้ายสีน้ำเงิน เส้นขอบป้ายและเส้นขีดกลางสีแดง
  4. ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs) เป็นป้ายรูปแผ่นกลม พื้นป้ายสีน้ำเงิน เครื่องหมาย สัญลักษณ์ตัวเลข และเส้นขอบป้ายสีขาว
  5. ป้ายสุดเขตบังคับ เป็นรูปแผ่นกลม พื้นป้ายสีขาว ไม่มีเส้นขอบป้าย แต่มีเส้นขีดสีดำทแยงจากขวาด้านบนลงซ้ายด้านล่าง
  6. ป้ายบังคับข้อความ เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้ายสีแดง ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์สีดำหรือสีแดง
  7. ป้ายประกอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นสีขาว เส้นขอบป้าย ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์สีดำ

ป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ (Priority Regulating Signs)[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายหยุด (ป้ายรูปแบบเดิม )

ป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ (Prohibitory or Restrictive Signs)[แก้]

  • หมายเหตุ
    • มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ในป้าย  เนื่องจากบางป้ายมีการปรับสัญลักษณ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลทั่วไป  เช่น  ป้ายห้ามเข้า เป็นต้น  มีจำนวน 16 ป้าย ได้แก่
      • ป้ายห้ามเข้า (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายห้ามรถยนต์
      • ป้ายห้ามรถบรรทุก
      • ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์
      • ป้ายห้ามรถพ่วง
      • ป้ายห้ามรถยนต์สามล้อ
      • ป้ายห้ามรถสามล้อ
      • ป้ายห้ามรถจักรยาน
      • ป้ายห้ามล้อเลื่อนลากเข็น
      • ป้ายห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์
      • ป้ายห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ และรถจักรยานยนต์
      • ป้ายหยุดตรวจ (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายจำกัดความเร็ว (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายจำกัดน้ำหนัก
      • ป้ายจำกัดความกว้าง
      • ป้ายจำกัดความสูง
    • มีการเพิ่มป้ายใหม่ เนื่องจากสภาพการจราจรหรือกายภาพของถนนที่เปลี่ยนไป ป้ายเหล่านี้ไม่มีในคู่มือมาตรฐานป้ายจราจรของกรมทางหลวงมาก่อน  มีจำนวน 12 ป้าย ได้แก่
      • ป้ายห้ามกลับรถไปทางขวา
      • ป้ายห้ามกลับรถไปทางซ้าย
      • ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย
      • ป้ายห้ามเลี้ยวขวา
      • ป้ายห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย
      • ป้ายห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา
      • ป้ายห้ามเลี้ยวขวาหรือกลับรถ
      • ป้ายห้ามเลี้ยวซ้ายหรือกลับรถ
      • ป้ายห้ามเกวียน
      • ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์สามล้อ
      • ป้ายห้ามคน
      • ป้ายจำกัดความยาว

ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs)[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายบังคับประเภทคำสั่งบางแผ่นป้ายยังคงใช้แบบสัญลักษณ์เดิม แต่เปลี่ยนสีพื้นป้ายและสีสัญลักษณ์ในป้าย มีจำนวน 8 ป้าย ได้แก่
      • ป้ายให้รถเดินทางเดียวไปข้างหน้า (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายรถเดินทางเดียวไปทางซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายรถเดินทางเดียวไปทางขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายให้ชิดซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายให้ชิดขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายให้ชิดซ้ายหรือชิดขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายให้เลี้ยวซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายให้เลี้ยวขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
      • ป้ายวงเวียน (ป้ายรูปแบบเดิม )
    • ป้ายบังคับประเภทคำสั่งบางแผ่นป้าย ได้มีการเพิ่มเข้ามาใหม่ มีจำนวน 8 ป้าย ได้แก่
      • ป้ายให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย
      • ป้ายให้ตรงไปหรือเลี้ยวขวา
      • ป้ายช่องเดินรถประจำทาง
      • ป้ายช่องเดินรถมวลชน
      • ป้ายช่องเดินรถจักรยานยนต์
      • ป้ายช่องเดินรถจักรยาน
      • ป้ายเฉพาะคนเดิน
      • ป้ายความเร็วขั้นต่ำ

ป้ายอื่น ๆ[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้าย สุดเขตบังคับ ใช้เมื่อสิ้นสุดเขตบังคับของป้ายบังคับที่ติดตั้งก่อนหน้านี้แล้ว เช่น เมื่อสิ้นสุดเขตห้ามแซง หรือ เมื่อสิ้นสุดเขตห้ามใช้เสียง หรือ เมื่อสิ้นสุดเขตจำกัดความเร็ว เป็นต้น
    • ป้ายสุดเขตบังคับ (ชื่อเดิม “ป้ายสุดเขตบังคับความเร็ว” และ “ป้ายสุดเขตบังคับห้ามแซง”) (ป้ายรูปแบบเดิม , )

ป้ายบังคับข้อความ[แก้]

  • หมายเหตุ ป้ายจำกัดความเร็ว แบบแบ่งความเร็วตามประเภทของรถ จะติดตั้งก่อนเข้าเขตชุมชน และหลังออกเขตชุมชน ใช้ในกรณีที่มีรถหลายประเภท วิ่งผ่านเขตชุมชน ซึ่งรถแต่ละประเภทใช้ความเร็วไม่เท่ากัน และความเร็วที่ปรากฏบนป้ายนั้น ๆ ได้อ้างอิงตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะ และ/หรือประกาศเจ้าพนักงานจราจรจังหวัด...... เรื่อง กำหนดอัตราความเร็วของรถในทาง...... ซึ่งประกาศและบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา แต่ในกรณีที่ต้องการให้รถทุกชนิดใช้ความเร็วสูงสุดเท่ากัน ให้ใช้ป้ายบังคับจำกัดความเร็ว แทน ส่วนจำนวนความเร็วที่มีหน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้กำหนดตามดุลยพินิจและการออกแบบตามหลักวิศวกรรม[1]

ป้ายบังคับสำหรับทางจักรยาน[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายจุดเริ่มต้นทางจักรยาน และป้ายจุดสิ้นสุดทางจักรยาน ใช้ติดตั้งร่วมกับป้ายช่องเดินรถจักรยาน บนเสาป้ายเดียวกัน

ป้ายเสริม[แก้]

ป้ายเตือน[แก้]

ตัวอย่างป้ายเตือน (เขตชุมชน)
ตัวอย่างป้ายเตือน (เตือนเขตตรวจจับความเร็ว)

ป้ายเตือน (Warning Signs) ได้แก่ ป้ายจราจรที่มีความหมายเป็นการเตือนผู้ใช้ทางให้ทราบล่วงหน้าถึงสภาพทางหรือข้อมูลอย่างอื่นที่เกิดขึ้นในทางหรือทางหลวงข้างหน้า อันอาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ใช้ทางใช้ความระมัดระวังในการใช้ทางซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุดังกล่าวได้

ป้ายเตือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบล่วงหน้าถึงสภาพทางว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือมีจะการบังคับใช้อุปกรณ์ควบคุมการจราจรบางประเภท ทำให้ผู้ขับขี่ต้องเพิ่มความระมัดระวังและ/หรือต้องลดความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านบริเวณนั้น

บริเวณที่ซึ่งจะใช้ป้ายเตือนมีดังต่อไปนี้

  1. ทางโค้ง
  2. ทางแยก
  3. สัญญาณไฟจราจรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการจราจร
  4. บริเวณที่จำนวนช่องจราจรลดลง
  5. บริเวณที่ผิวจราจรแคบลง
  6. ทางลาดชัน
  7. สภาพผิวทางไม่ปกติ
  8. โรงเรียนและทางข้ามต่าง ๆ
  9. ทางรถไฟตัดผ่าน
  10. สิ่งกีดขวาง
  11. อื่น ๆ

โดยทั่วไปป้ายเตือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งมุมขึ้น ยกเว้นป้ายเตือนบางแบบที่ใช้ข้อความ หรือเครื่องหมายนอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ ป้ายเตือนทุกแบบใช้พื้นป้ายสีเหลือง เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข ตัวอักษรสีดำ ยกเว้นป้ายเตือนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและงานบำรุงทาง ซึ่งจะใช้พื้นป้ายสีส้ม (Orange) เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย สัญลักษณ์ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ

ทางโค้งลักษณะต่าง ๆ[แก้]

ทางแยกลักษณะต่าง ๆ[แก้]

เตือนวงเวียนข้างหน้า[แก้]

บริเวณที่ผิวจราจรแคบลง (เตือนทางแคบต่าง ๆ)[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายทางแคบลงทั้งสองด้าน (ป้ายรูปแบบเดิม )

เตือนสะพานแคบ[แก้]

บริเวณที่จำนวนช่องจราจรลดลง (เตือนช่องจราจรปิด)[แก้]

ทางรถไฟตัดผ่าน (เตือนทางข้ามทางรถไฟ)[แก้]

เตือนความสูงหรือความกว้าง[แก้]

ทางลาดชัน[แก้]

สภาพผิวทางไม่ปกติในลักษณะต่าง ๆ (เตือนสภาพผิวทาง)[แก้]

เตือนเปลี่ยนช่องเดินรถ[แก้]

เตือนทางขนาน[แก้]

เตือนทางร่วม[แก้]

เตือนทางคู่[แก้]

เตือนจุดกลับรถ[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายจุดกลับรถ (ขวา) (ป้ายรูปแบบเดิม )
    • ป้ายจุดกลับรถ (ซ้าย) (ป้ายรูปแบบเดิม )

เตือนทางเดินรถสองทิศทาง[แก้]

สัญญาณไฟจราจรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการจราจร (เตือนลักษณะทางแยก)[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายหยุดข้างหน้า (ป้ายรูปแบบเดิม )

โรงเรียนและทางข้ามต่าง ๆ[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก (ป้ายรูปแบบเดิม )

เตือนให้ระวัง[แก้]

เตือนเขตห้ามแซง[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้าย เขตห้ามแซง จะติดตั้งอยู่ทางด้านขวาของป้ายบังคับห้ามแซง
    • ป้ายเขตห้ามแซง (ป้ายรูปแบบเดิม )

เตือนแนวทางต่าง ๆ[แก้]

ป้ายเตือนอื่น ๆ / ป้ายเตือนเสริม[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายเตือนเสริม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นป้ายสีเหลือง เส้นขอบป้ายสีดำ บรรจุข้อความภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษสีดำใช้เพื่ออธิบายความหมายของป้ายเตือนและ/หรือขยายความหมายขอบเขตความยาวของสภาพทางข้างหน้า
    • ป้ายเตือนเสริมใช้ติดตั้งควบคู่ใต้ป้ายเตือนปกติชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งมุม โดยทั่วไปป้ายเตือนเสริมจะมีขนาดเล็กกว่าป้ายเตือนปกติ ในกรณีที่จำเป็น ขนาดของป้ายอาจกว้างขึ้นได้ แต่ต้องไม่กว้างกว่าป้ายเตือนปกติที่ติดคู่กัน ป้ายเตือนเสริมนี้อาจหมดความจำเป็น เมื่อผู้ใช้ทางส่วนมากเข้าใจความหมายป้ายเตือนปกติแล้ว ป้ายเตือนเสริมไม่จำเป็นต้องติดตั้งเสมอไป เมื่อมีความจำเป็นต้องติดตั้งให้พิจารณาติดตั้งเฉพาะกับป้ายเตือนปกติที่แสดงไว้ในคู่มือมาตรฐานป้ายจราจรเท่านั้น
    • ป้ายเตือนความเร็ว (ป้ายรูปแบบเดิม )
    • ป้ายเตือนความเร็ว (ป้ายรูปแบบเดิม )
    • ป้ายเตือนทางแยกข้างหน้า (กรณีทางแยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร) (ป้ายรูปแบบเดิม )
    • ป้ายเตือนทางแยกข้างหน้า (กรณีทางแยกมีสัญญาณไฟจราจร) (ป้ายรูปแบบเดิม )

ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว[แก้]

ป้ายเตือนช่องหยุดฉุกเฉิน (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ช่องหยุดรถฉุกเฉิน เป็นช่องทางเดินรถรูปแบบพิเศษ ในกรณีที่ยานพาหนะขัดข้องไม่สามารถหยุดรถได้ทันท่วงที (เบรกแตกหรือขัดข้อง) ขณะขับรถลงทางลาดชัน เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะดังกล่าวสามารถหักหลบเข้าช่องหยุดรถฉุกเฉินได้ มักพบตามทางหลวงที่มีความลาดชันและพาดผ่านพื้นที่ภูเขาสูง

ป้ายเตือนช่องทางไต่ทางลาดชัน สำหรับรถบรรทุกหนัก (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)[แก้]

ป้ายเตือนแบบแขวนสูง (Mast arm) (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)[แก้]

ป้ายเตือนทางน้ำล้นผ่าน (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)[แก้]

ป้ายเตือนงานอำนวยความปลอดภัยและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย กรณีติดตั้งอุปกรณ์เตือนรถเข้าสู่ทางแยก (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)[แก้]

ป้ายเตือนทางรถไฟ (แบบมาตรฐานงานทางสำหรับ อปท. กรมทางหลวงชนบท)[แก้]

ป้ายเตือนที่ใช้ป้ายเตือนเสริมติดตั้งด้วยเพื่ออำนวยความปลอดภัย[แก้]

รูปป้าย ป้ายที่ใช้ ความหมายของป้ายและการใช้งานป้าย
ป้ายทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย และป้ายเตือนเสริม ทางคดเคี้ยวยาว --- กม. หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางโค้งคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางซ้าย ซึ่งทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
ป้ายทางคดเคี้ยวเริ่มขวา และป้ายเตือนเสริม ทางคดเคี้ยวยาว --- กม หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางโค้งคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางขวา ซึ่งทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
ป้ายสะพานแคบ และป้ายให้รถสวนทางมาก่อน หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสะพานแคบ รถไม่สามารถเดินสวนทางหรือหลีกทางกันได้ ต้องให้รถที่กำลังแล่นสวนทางมาก่อน ใช้ในกรณีที่ข้างหน้ามีสะพานแคบ ซึ่งรถไม่สามารถเดินสวนทาง หรือหลีกทางกันได้ และสะพานนั้น ๆ เหมาะสมที่จะจัดการจราจรในรูปแบบที่ให้รถสวนทางขับผ่านไปก่อนได้
ป้ายทางขึ้นลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ขึ้นเขายาว --- กม. หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดชันขึ้นเขาหรือขึ้นเนิน สันเขาหรือสันเนิน อาจกำบังสายตาไม่ให้มองเห็นรถที่สวนทางมา ซึ่งทางขึ้นเขานั้น มีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางขึ้นเขานั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
ป้ายทางลงลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ลงเขายาว --- กม. หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดลงเขาหรือลงเนิน ซึ่งทางลงเขานั้น มีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางลงเขานั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
ป้ายทางลงลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ใช้เกียร์ต่ำ หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดลงเขาหรือลงเนิน และผู้ขับรถควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อความปลอดภัย ใช้ในกรณีที่ทางลงเขานั้นลาดชันมากและเตือนให้ผู้ขับรถใช้เกียร์ต่ำ
ป้ายทางลงลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ใช้เกียร์ต่ำ หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดลงเขาหรือลงเนิน และผู้ขับรถควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อความปลอดภัย ใช้ในกรณีที่ทางลงเขานั้นลาดชันมากและเตือนให้ผู้ขับรถใช้เกียร์ต่ำ
ป้ายเตือนรถกระโดด และป้ายเตือนเสริม รถกระโดด หมายความว่า ทางข้างหน้ามีการเปลี่ยนระดับอย่างกะทันหัน เช่น บริเวณคันชะลอความเร็ว ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังในการขับรถผ่านบริเวณดังกล่าว
ป้ายเตือนทางขรุขระ และป้ายเตือนเสริม ทางขรุขระ หมายความว่า ทางข้างหน้ามีการเปลี่ยนระดับอย่างกะทันหัน เช่น บริเวณคันชะลอความเร็ว ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังในการขับรถผ่านบริเวณดังกล่าว
ป้ายทางลื่น และป้ายเตือนเสริม ถนนลื่น หมายความว่า ทางข้างหน้าลื่น เมื่อผิวทางเปียกอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในการขับรถผ่านบริเวณผิวทางที่ลื่นได้ง่าย
ป้ายทางร่วมด้านซ้าย และป้ายเตือนเสริม ระวังรถทางซ้าย หมายความว่า ทางข้างหน้าจะมีรถเข้ามาร่วมทิศทางเดียวกันจากทางซ้าย ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังรถทางด้านซ้าย
ป้ายทางร่วมด้านขวา และป้ายเตือนเสริม ระวังรถทางขวา หมายความว่า ทางข้างหน้าจะมีรถเข้ามาร่วมทิศทางเดียวกันจากทางขวา ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังรถทางด้านขวา
ป้ายทางเดินรถสองทาง และป้ายเตือนเสริม รถวิ่งสวนทาง หมายความว่า ทางข้างหน้าจะเป็นทางเดินรถสองทิศทาง และสวนทางกัน ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังที่รถสวนทางมา
ป้ายสัญญาณจราจร และป้ายเตือนเสริม สัญญาณไฟข้างหน้า หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจร ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร
ป้ายสัญญาณจราจร และป้ายเตือนเสริม สัญญาณไฟ --- ม. หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจร ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร
ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก และป้ายเตือนเสริม โรงเรียน หมายความว่า ทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ข้างทาง ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านเขตโรงเรียน
ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก และป้ายเตือนเสริม โรงเรียน 200 ม. หมายความว่า ทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ข้างทาง ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านเขตโรงเรียน
ป้ายเตือนแนวทางและป้ายเตือนความเร็ว หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทิศทางที่ชี้ตามลักษณะตามลูกศร และต้องใช้ความเร็วไม่เกินกว่าที่ป้ายระบุ
ป้ายเตือนระวัง 100 เมตร ถึงทางรถไฟ และป้ายเตือนเสริมความเร็ว หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านทางรถไฟ
ป้ายเตือนระวัง 300 เมตร ถึงทางรถไฟ และป้ายเตือนเสริมความเร็ว หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านทางรถไฟ
ป้ายเตือนระวัง 500 เมตร ถึงทางรถไฟ และป้ายเตือนเสริมความเร็ว หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านทางรถไฟ

ป้ายเตือนอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในคู่มือมาตรฐานป้ายจราจรของกรมทางหลวง[แก้]

ป้ายเตือนในงานก่อสร้าง[แก้]

ป้ายจราจรที่ใช้ในงานก่อสร้าง งานบูรณะ และงานบำรุงทางหลวง รวมทั้งงานซ่อมแซมก่อสร้างสาธารณูปโภคบนทางหลวง จัดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด เช่นเดียวกับป้ายจราจรทั่วไปที่ติดตั้งบนทางหลวง คือ

  1. ป้ายบังคับ
  2. ป้ายเตือน
  3. ป้ายแนะนำ

สำหรับป้ายแนะนำให้รวมถึงป้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น ป้ายที่ใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ และป้ายโครงการเป็นต้น

ลักษณะของป้ายจราจรนี้ให้เป็นไปตามแบบและมาตรฐานป้ายจราจรทั่วไป แต่เพื่อที่จะเน้นให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น จึงกำหนดให้ใช้สีป้ายเตือนและป้ายแนะนำเป็นสีส้ม (Fluorescent Orange) เป็นส่วนมาก

ป้ายจราจรที่ใช้ในงานก่อสร้าง งานบูรณะ และงานบำรุงทางหลวง (แบบที่ใช้สัญลักษณ์)[แก้]

ป้ายจราจรที่ใช้ในงานก่อสร้าง งานบูรณะ และงานบำรุงทางหลวง (แบบที่ใช้ข้อความและลูกศร)[แก้]

  • หมายเหตุ
    • ป้ายเตือนอุบัติเหตุข้างหน้า (ป้ายรูปแบบเดิม )

ป้ายจราจรที่ใช้ในงานสาธาณูปโภค (แบบที่ใช้ข้อความ)[แก้]

ป้ายจราจรที่ใช้ในโครงการก่อสร้าง[แก้]

ป้ายแนะนำ[แก้]

ตัวอย่างป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว

ป้ายแนะนำ (Guide Signs) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ป้ายแนะนำทั่วไป (Guide Sign – Conventional Highways) และป้ายแนะนำบนทางหลวงพิเศษ (Guide Sign – Freeways and Expressways)

ป้ายแนะนำ มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้ผู้ขับขี่ทราบถึงทิศทางและระยะทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเดินทางตลอดการใช้บริการทางหลวงนั้น ๆ ด้วย และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ทางตามความหมายของป้ายนั้น ๆ เช่น แนะนำทิศทางของการเดินทางล่วงหน้า จุดหมายปลายทาง บอกสถานที่ บอกระยะทาง ตำแหน่งคนเดินข้ามทาง ข้อมูลสำคัญและทางเดินรถประจำทาง เป็นต้น

ป้ายแนะนำทั่วไปมี 3 ลักษณะ คือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านสั้นเป็นส่วนตั้ง หรือมีด้านยาวเป็นส่วนตั้ง และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยการใช้สีบนป้ายแนะนำทั่วไปมี 4 รูปแบบ ดังนี้

  • แบบที่ 1 พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ใช้สีดำ หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย บรรจุอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยทั่วไปใช้สำหรับ ป้ายบอกหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง ป้ายบอกระยะทาง และป้ายบอกสถานที่
  • แบบที่ 2 พื้นป้ายสีน้ำเงิน เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ใช้สีขาว หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย บรรจุอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยทั่วไปใช้สำหรับแสดงข้อมูล ข่าวสาร และการบริการ เช่น ป้ายแสดงตำแหน่งของทางข้าม ป้ายแสดงโรงพยาบาล ป้ายแสดงที่พักริมทาง และป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน
  • แบบที่ 3 พื้นป้ายสีน้ำเงิน ตัวป้ายมีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านยาวเป็นด้านตั้ง ภาพสัญลักษณ์สีน้ำเงิน บรรจุในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข และตัวอักษรใช้สีขาว ใช้สำหรับป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ กิจกรรม และแหล่งชุมชน
  • แบบที่ 4 พื้นป้ายสีขาว ตัวป้ายมีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้านยาวเป็นด้านตั้ง ภาพสัญลักษณ์เป็นสีขาว บรรจุอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำตาล เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษรสีน้ำตาล ใช้สำหรับป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวโบราณทางประวัติศาสตร์และศาสนสถาน
  • หมายเหตุ
    • ป้ายจุดกลับรถขวา (ป้ายรูปแบบเดิม , )
    • ป้ายจุดกลับรถซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม , )
    • ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก (ชื่อเดิม “ป้ายแสดงด่านชั่งน้ำหนัก”) (ป้ายรูปแบบเดิม , , )
    • ป้ายจักรยานและจักรยานยนต์ชิดซ้าย (ชื่อเดิม “ป้ายจักรยานชิดซ้าย”) (ป้ายรูปแบบเดิม )

ป้ายแนะนำพื้นที่เฉพาะรถจักรยานและรถจักรยานยนต์บริเวณทางแยกสัญญาณไฟจราจร (Bike Box)[แก้]

ป้ายแนะนำทั่วไปและป้ายแนะนำโครงการ (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)[แก้]

ป้ายชี้ทางไประบบขนส่งมวลชน[แก้]

ป้ายแสดงการบริการในจุดบริการทางหลวง[แก้]

ป้ายจราจรมาตรฐานสูง (แบบแขวนสูงชนิดแขนยื่นเหนือผิวจราจร)[แก้]

ป้ายจราจรมาตรฐานสูง (แบบแขวนสูงชนิดคร่อมผิวจราจร)[แก้]

ป้ายแบ่งเขตควบคุม (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)[แก้]

ป้ายแนะนำทางเลี่ยงช่วงเทศกาล (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)[แก้]

ป้ายแจ้งข่าว (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)[แก้]

ป้ายหมายเลขทางหลวงตามประเภททางหลวง[แก้]

รูปป้าย ประเภททางหลวง ความหมาย
ทางหลวงแผ่นดิน ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (1 หลัก)
ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (2 หลัก)
ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (3 หลัก)
ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (4 หลัก)
ทางหลวงพิเศษ ป้ายหมายเลขทางหลวงพิเศษ (ไม่เก็บค่าผ่านทาง)
ป้ายหมายเลขทางหลวงพิเศษ (เก็บค่าผ่านทาง)
ทางหลวงเอเชีย/อาเซียน ป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (1 หลัก)
ป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (2 หลัก)
ป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (3 หลัก)
ทางหลวงชนบท ป้ายหมายเลขทางหลวงชนบท (สำหรับติดตั้งในสายทางหลวงชนบท)
ป้ายหมายเลขทางหลวงชนบท (สำหรับติดตั้งในสายทางหลวงแผ่นดิน)
ทางหลวงท้องถิ่น ป้ายหมายเลขทางหลวงท้องถิ่น (แสดงรหัสสายทาง)
ป้ายหมายเลขทางหลวงท้องถิ่น (แสดงชื่อสายทาง)

ป้ายกิโลเมตรลักษณะต่าง ๆ[แก้]

ป้ายหมายเลขทางออก[แก้]

ป้ายลูกศรระบุทิศทาง[แก้]

ป้ายชุดทางหลวงเปลี่ยนทิศทาง (Advance turn arrow signs/Route Turn Assemblies)[แก้]

ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทางหลวงพิเศษ

ป้ายชุดระบุทิศทาง (Directional arrow signs)[แก้]

ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทางหลวงพิเศษ

ป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยว (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)[แก้]

สัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งธรรมชาติ[แก้]

สัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งโบราณสถานและศาสนสถาน[แก้]

สัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งกิจกรรม[แก้]

ป้ายรูปแบบเดิม[แก้]

เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง[แก้]

เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง ได้แก่ เครื่องหมายจราจรที่ทำให้ปรากฏอยู่บนพื้นทาง ทางจราจร ไหล่ทาง ทางเท้า ขอบทาง ขอบวงเวียน หรือขอบคันหิน โดยการใช้กระเบื้อง หมุดโลหะ วัสดุสะท้อนแสง สี หรือวัสดุอื่นใด ปูตอก ฝัง พ่น ทา รีดทับ หรือทำโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้ปรากฏซึ่งเครื่องหมายจราจร

เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ ได้แก่ เครื่องหมายจราจรที่มีความหมายเป็นการบังคับให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามความหมายของเครื่องหมายนั้น โดยกำหนดให้ผู้ใช้ทางต้องกระทำ งดเว้นการกระทำ หรือจำกัดการกระทำในบางประการหรือบางลักษณะ
  2. เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน ได้แก่ เครื่องหมายจราจรที่มีความหมายเป็นการเตือนผู้ใช้ทางให้ทราบล่วงหน้าถึงสภาพทางหรือข้อมูลอย่างอื่นที่เกิดขึ้นในทางหรือทางหลวงข้างหน้าอันอาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ใช้ทางใช้ความระมัดระวังในการใช้ทาง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุดังกล่าวได้

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เก็บถาวร 2019-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. แบบแนะนำการติดตั้งป้ายจำกัดความเร็ว