ป้อมอาเมร์

พิกัด: 26°59′09″N 75°51′03″E / 26.9859°N 75.8507°E / 26.9859; 75.8507
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้อมอาเมร์
ส่วนหนึ่งของรัฐราชสถาน
อาเมร์ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย
ป้อมอาเมร์ตั้งอยู่ในชัยปุระ
ป้อมอาเมร์
ป้อมอาเมร์
ป้อมอาเมร์ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
ป้อมอาเมร์
ป้อมอาเมร์
พิกัด26°59′09″N 75°51′03″E / 26.9859°N 75.8507°E / 26.9859; 75.8507
ประเภทป้อมปราการ และ พระราชวัง
ข้อมูล
ควบคุมโดยรัฐบาลรัฐราชสถาน
เปิดสู่
สาธารณะ
Yes
สภาพดี
ประวัติศาสตร์
สร้าง967
วัสดุหินทราย และ หินอ่อน
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์ii, iii
ขึ้นเมื่อ2013 (การประชุม ครั้งที่ 37)
เป็นส่วนหนึ่งของหมู่ป้อมเนินแห่งรัฐราชสถาน
เลขอ้างอิง247
ภูมิภาคเอเชียใต้

ป้อมอาเมร์ (ฮินดี: आमेर क़िला, อังกฤษ: Amer Fort) หรือ ป้อมอัมเบร์ (อังกฤษ: Amber Fort) ตั้งอยู่ที่เมืองอาเมร์ ชานเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆที่มีขนาดเพียง 4 ตารางกิโลเมตร (1.5 ตารางไมล์)[1] ห่างจากชัยปุระเป็นระยะทาง 11 กิโลเมตร (6.8 ไมล์) ป้อมอาเมร์นั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชัยปุระ โดยที่ตั้งนั้นโดดเด่นอยู่บนผาหินเหนือทะเลสาบ[2][3] สร้างโดยมหาราชา มาน สิงห์ที่ 1 ป้อมปราการแห่งนี้มีชื่อเสียงทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งผสมผสานกันระหว่างศิลปะฮินดูและศิลปะราชปุตอันเป็นเอกลักษณ์ สามารถมองเห็นได้จากระยะทางไกลเนื่องจากมีขนาดกำแพงปราการที่ใหญ่และแน่นหนา พร้อมประตูทางเข้าหลายแห่ง ถนนที่ปูด้วยหินหลายสาย ซึ่งเมื่ออยู่บนป้อมแล้วสามารถมองเห็นทะเลสาบเมาตาได้อย่างชัดเจนบริเวณด้านหน้า[3][4][5][6]

ความสวยงามของบรรยากาศของป้อมอาเมร์นั้นซ่อนอยู่ภายในกำแพงเมืองที่แบ่งเป็นทั้งหมด 4 ชั้น (แต่ละชั้นคั่นด้วยทางเดินกว้าง) โดยภายในเป็นหมู่พระที่นั่งซึ่งสร้างจากหินทรายสีแดงและหินอ่อน หมู่พระที่นั่งภายในป้อมอาเมร์ประกอบด้วย ทิวันเนอาม (Diwan-E-Aam) หรือท้องพระโรง, ทิวันเนฆัส (Diwan-e-Khas) หรือท้องพระโรงส่วนพระองค์, ศีษมหัล (Shish Mahal) พระตำหนักซึ่งเป็นห้องทรงประดับกระจกสำหรับมหาราช และ ชยมนเทียร (Jai Mandir) ซึ่งเป็นตำหนักอยู่บนชั้นสอง, อารามบาฆ (Aram Bagh) ซึ่งเป็นสวนสวยจัดเป็นรูปดาวแฉกแบบโมกุลคั่นกลางระหว่างอาคาร และ สุชนิวาส (Sukh Niwas) ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ใช้การปรับอากาศภายในพระตำหนักให้เย็นลงด้วยการทำให้ลมเป่าผ่านรางน้ำตกที่มีอยู่โดยรอบภายในพระตำหนัก ทำให้ภายในตำหนักนี้มีอากาศเย็นอยู่เสมอ จากลักษณะโดยรวมอันสวยงามของบริเวณภายในป้อม จึงนิยมเรียกป้อมแห่งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "พระราชวังอาเมร์"[4] พระราชวังในป้อมอาเมร์นี้เคยเป็นที่ประทับของราชปุต มหาราชา และพระราชวงศ์ของอาเมร์ในอดีต นอกจากนี้บริเวณประตูทางเข้าพระราชวังใกล้กับประตูคเณศ เป็นที่ตั้งของมนเทียรศิลามาตาเทวีซึ่งภายในมีศาลบูชาพระแม่ทุรคา ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งมหาราชา มาน สิงห์ทรงเคารพบูชาอย่างสูง เนื่องจากพระองค์ได้ทรงพระสุบินถึงพระแม่ทุรคาทูลให้ทราบว่าพระองค์จะชนะสงครามกับมหาราชาแห่งเบงกอลในปีค.ศ. 1604[3][7][8]

ป้อมอาเมร์ และป้อมชยครห์ ทั้งสองนั้นตั้งอยู่บนเขาจีลกาตีละ (Cheel ka Teela) อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาอะราวัลลี ทั้งสองป้อมนี้ถือว่าเป็นสถานที่เดียวกัน เนื่องจากสามารถเดินทางหากันได้โดยทางเชื่อมใต้ดิน ซึ่งใช้เป็นทางหลบหนีสำหรับเชื้อพระวงศ์ในกรณีที่ป้อมอาเมร์นั้นถูกยึดครอง[4][9][10]

จากสถิติปีค.ศ. 2007 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมป้อมอาเมร์มีจำนวนถึง 5,000 คนต่อวัน และ 1.4 ล้านคนต่อปี[1]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Outlook Publishing (1 December 2008). Outlook. Outlook Publishing. pp. 39–. สืบค้นเมื่อ 18 April 2011.
  2. Mancini, Marc (1 February 2009). Selling Destinations: Geography for the Travel Professional. Cengage Learning. p. 539. ISBN 978-1-4283-2142-7. สืบค้นเมื่อ 19 April 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 Abram, David (15 December 2003). Rough guide to India. Rough Guides. p. 161. ISBN 978-1-84353-089-3. สืบค้นเมื่อ 19 April 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 Pippa de Bruyn; Keith Bain; David Allardice; Shonar Joshi (2010). Frommer's India. Frommer's. pp. 521–522. ISBN 978-0-470-55610-8.
  5. "Amer Fort - Jaipur" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-11-17.
  6. "Maota Sarover -Amer-jaipur". Agam pareek. สืบค้นเมื่อ 2015-09-25.
  7. Rajiva Nain Prasad (1966). Raja Mān Singh of Amer. World Press. สืบค้นเมื่อ 18 April 2011.
  8. Lawrence A. Babb (1 July 2004). Alchemies of violence: myths of identity and the life of trade in western India. SAGE. pp. 230–231. ISBN 978-0-7619-3223-9. สืบค้นเมื่อ 19 April 2011.
  9. "Jaipur". Jaipur.org.uk. สืบค้นเมื่อ 16 April 2011.
  10. D. Fairchild Ruggles (2008). Islamic gardens and landscapes. University of Pennsylvania Press. pp. 205–206. ISBN 978-0-8122-4025-2.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Crump, Vivien; Toh, Irene (1996). Rajasthan (hardback). New York: Everyman Guides. p. 400. ISBN 1-85715-887-3.
  • Michell, George; Martinelli, Antonio (2005). The Palaces of Rajasthan. London: Frances Lincoln. p. 271 pages. ISBN 978-0-7112-2505-3.
  • Tillotson, G.H.R (1987). The Rajput Palaces – The Development of an Architectural Style (Hardback) (First ed.). New Haven and London: Yale University Press. p. 224 pages. ISBN 0-300-03738-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]