ปโตเลมี ฟิลาเดลฟัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอเลมี ฟิลาเดลฟัส
กษัตริย์แห่งซีเรีย
(กษัตริย์แห่งฟินีเซียและซิลีเซีย)
รัชกาล34-30 ปีก่อนคริสตกาล
บรมราชาภิเษก34 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าฟิลิปที่ 2 แห่งซีเรีย
ถัดไปมาเวียแห่งซีเรีย (สมเด็จพระราชินีแห่งซีเรีย)
ปกครองร่วมกันกับ(อาจจะพระบิดาและพระมารดา)
ประสูติเดือนสิงหาคมหรือเดือนกัยายน เมื่อ 36 ปีก่อนคริสตกาล
แอนติออค, ซีเรีย
สวรรคต29 ปีก่อนคริสกตาล (สันนิษฐาน)
ราชวงศ์ราชวงศ์ทอเลมี
พระราชบิดามาร์ก แอนโทนี
พระราชมารดาคลีโอพัตราที่ 7

ทอเลมี ฟิลาเดลฟัส (กรีก: Πτολεμαῖος ὁ Φιλάδελφος, "ทอเลมี ผู้เป็นน้องชายอันที่รัก", ประสูติ เดือนสิงหาคม หรือ กันยายน 36 ปีก่อนคริสตกาล - 25 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ทอเลมีและเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้องของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 แห่งอียิปต์กับแม่ทัพมาร์ก แอนโทนี[1]

พระประวัติ[แก้]

วัยพระเยาว์และการขึ้นครองราชย์[แก้]

พระองค์เป็นมีเชื้อสายกรีก-โรมัน เขาเกิดในแอนติออค, ซีเรีย (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของตุรกีสมัยใหม่)[2] พระองต์ได้รับพระนามตามฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส (ฟาโรห์พระองค์ที่สองของราชวงศ์ทอเลมี) และความตั้งใจของพระนางคลีโอพัตราคือการสร้างอาณาจักรทอเลมีเดิมในตอนปลายของ 34 ก่อนคริสต์ศักราช และพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งซีเรีย ฟินีเซีย และซิลีเซีย[3]

พ่อแม่ของพระองค์ต้องพ่ายแพ้แก่ออคตาเวียน (ในอนาคตเป็นจักรพรรดิออกัสตัส) ในระหว่างการรบทางเรือที่แอคเทียมในกรีซ ใน 31 ปีก่อนคริสตกาล ในปีต่อมาพ่อแม่ของพระองค์ได้ทำการอัตวินิบาตกรรม (ฆ่าตัวตาย) ขณะที่ออคตาเวียนและกองทัพบุกเข้ามาในอียิปต์

การจับกุมและความเป็นอยู่[แก้]

ออคตาเวียนได้นำพาพระองค์ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และเจ้าหญิงคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 จากอียิปต์ไปยังอิตาลี ออคตาเวียนได้ฉลองชัยชนะทางทหารของเขาในกรุงโรมด้วยการพาเด็กกำพร้าทั้งสามไปล่ามโซ่สีทองหนักๆ บนถนนในกรุงโรม โซ่ที่หนักจนไม่สามารถเดินได้กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาจากความเห็นอกเห็นใจจากชาวโรมัน[4] พี่น้องสามคนถูกกักขังโดยออคตาเวียน และมอบให้แก่ออคตาเวีย ผู้อ่อนเยาว์ ซึ่งเป็นพระขนิษฐาและเป็นอดีตภรรยาของมาร์ก แอนโทนี[5]

พระองค์อาจจะสิ้นพระชนม์จากความเจ็บป่วยในช่วงฤดูหนาวเมื่อ 29 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่นี่เป็นข้อสันนิษฐาน

อ้างอิง[แก้]

  1. The Life of Rome's First Emperor: Augustus, Anthony Everitt, p. 157
  2. Cassius Dio, Roman History 49.32.4
  3. Plutarch, Antony 54.6-9; Cassius Dio, Roman History 49.41.1-3; Livy, periochae 131.
  4. Cassius Dio, Roman History 51.21.8 (who only says that Alexander Helios and Cleopatra Selene participated in the triumph, but does not mention Ptolemy Philadelphus).
  5. Plutarch, Antony 87.1; Cassius Dio, Roman History 51.15.6; Suetonius, Augustus 17.5