ปูเยติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Kiwa hirsuta
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Anomura
วงศ์: Kiwaidae
สกุล: Kiwa
สปีชีส์: K.  hirsuta
ชื่อทวินาม
Kiwa hirsuta
Macpherson, Jones & Segonzac, 2006

บทนำ[แก้]

ปูเยติ (Kiwa hirsuta) ปูชนิดนี้ถูกค้นพบในทะเลลึกแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างออกไปทางใต้จากเกาะอิสเตอร์ราว 1,500 กิโลเมตรในเขตน่านน้ำของประเทศชิลี การค้นพบนี้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญจากการที่มีเรือดำน้ำลงไปสำรวจทะเลที่ความลึก 2,200 เมตร (7,200 ft) และพบว่ามีตัวแปลกๆ เกาะอยู่ที่รอยแยกตรงพื้นทะเล ด้วยลักษณะที่มีขนปกคลุมจึงถูกเรียกว่า เยติ มาเรื่อย ปูเยติ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Kiwa hirsuta

ลักษณะ[แก้]

ปูเยติ จัดอยู่ในไฟลัม Arthropoda ไฟลัมย่อย Crustacea ชั้น Malacostraca วงศ์: Kiwaidae สกุล: Kiwa ชนิด: K. hirsuta โดยมีที่มาของชื่อจากลักษณะของขนสีขาวบนตัวและก้ามที่มีความคล้ายคลึงกับขนของเยติ(Yeti) มนุษย์หิมะ แห่งเทือกเขาหิมาลัยตามความเชื่อของชาวเชอร์ปา นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ขนบนลำตัวของปูเยติออกเป็นสองแนวความคิด คือ ฝ่ายแรกเห็นว่าขนเหล่านี้น่าจะมีเพื่อเป็นกับดักแบตทีเรีย ที่ปูเยติใช้เป็นอาหาร แต่อีกฝ่ายแย้งว่าขนมากมายเหล่านั้นน่าจะมีหน้าที่ในการกรองธาตุที่มีพิษ ที่พ่นออกมาจากช่องใต้ทะเลมากกว่า นอกจากนี้ปูเยติ ยังมีก้ามที่มีลักษณะสีสันสวยงามโดยมักจะยื่นก้ามเข้าไปในน้ำแร่ร้อนที่พ่นออกตามรอบแยกของพื้นทะเล ทั้งนี้ก็ยังปริศนาอีกประการว่าการกระทำเช่นนี้ทำไปเพื่ออะไร

ถิ่นที่อยู่และการค้นพบปูเยติ[แก้]

ปูเยติเริ่มเป็นที่รู้จักโดยบุคคลภายนอกจากนักบุกเบิก ในปลายยุค 1950 และ 1960 การค้นพบนี้เกิดขึ้นขณะที่กำลังทำการสำรวจโดยใช้เรือดำน้ำ ( submersible vehicles ) ที่ความลึกกว่า 1250 กิโลเมตร ขณะนั้นกับพบว่ามีอะไรบางอย่างเกาะอยู่บริเวณใกล้รอยแยกที่พื้นทะเล ที่มีน้ำแร่ร้อน เรียกว่า hydrothermal vents[1] มันเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบมาก่อน และจากรูปลักษณ์ที่มีขนสีขาวปกคลุม คล้ายกับตัว เยติ ทำให้มันได้รับชื่อว่า ปูเยติ และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ” Kiwa hirsuta “ หลังจากการค้นพบหนึ่งปีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา ปูเยติ ต่างลงความเห็นว่า “มีอีกหลายอย่างเกี่ยวกับ ปูเยติ ที่พวกเรายังไม่เข้าใจมัน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ของขนบนลำตัวของมันนั้นเอง[2]



ปริศนาที่ยังรอการพิสูจน์ค้นคว้า[แก้]

เนื่องจากปูเยติถูกค้นพบได้ไม่นานนักข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปูชนิดนี้จึงมีอยู่อย่างจำกัด โดยนักวิทยาศาสตร์ นักสำรวจ นักวิจัย ล้วนแล้วแต่ตั้งคำถามเกี่ยวกับปูชนิดนี้ค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็น

  • ปูเยติมีการวิวัฒนาการตัวเองให้มีขนตามตัวเพื่อสาเหตุใด
  • อาหารและการดำรงชีวิตของปูเยติเป็นไปในลักษณะใด
  • แหล่งที่อยู่อื่นที่ปูชนิดนี้อาศัยอยู่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของปูชนิดนี้
  • หน้าที่ของอวัยวะและพฤติกรรมของปูเยติ

อย่างไรก็ดีในปัจจุบันได้มีการสำรวจเพิ่มเติมมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าในอนาคต ประเด็นปัญหาในช้างต้นจะได้รับการหาคำตอบอย่างแน่นอน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.baanmaha.com/community/thread46833.html
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-25. สืบค้นเมื่อ 2013-10-10.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-20. สืบค้นเมื่อ 2013-10-10.