ปืนใหญ่จู่โจม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชตูก 3 ปืนใหญ่จู่โจมด้วยอาวุธหลักขนาด 75 มม ซึ่งกองทัพซีเรียได้เลิกใช้งานแล้ว.

ปืนใหญ่จู่โจม เป็นรูปแบบหนึ่งของปืนใหญ่อัตตาจร[1] ซึ่งถูกใช้ในฐานะที่เป็นปืนใหญ่สนับสนุนทหารราบที่ถูกติดตั้งบนโครงสร้างรถยานยนต์ โดยทั่วไปแล้วจะเรียกได้ว่า ยานเกราะรบ[2] ปืนใหญ่จู่โจ่มได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การยิงสนับสนุนแบบโดยตรงสำหรับการโจมตีของทหารราบโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้เข้าปะทะกับตำแหน่งทหารราบหรือป้อมปราการฝ่ายข้าศึก[3] คำศัพท์นี้ได้แปลตามตัวอักษรของภาษาเยอรมันด้วยคำว่า "ชตวร์มเกอชึทซ์" ซึ่งได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้เป็นปืนจู่โจมที่ถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์นี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ชตูก 3 ในปี ค.ศ. 1940[3]

ในประวัติศาสตร์ แนวคิดของปืนจู่โจมซึ่งมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับรถถังทหารราบ ซึ่งทั้งสองแบบต่างก็เป็นยานพาหนะรบที่มีเป้าหมายที่จะไปพร้อมกับกองกำลังทหารราบในการเข้าสู่สนามรบ[4] อย่างไรก็ตามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปืนจู่โจมนั้นมีความคล่องตัวกว่ารถถังและสามารถใช้งานเป็นปืนใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อม[4] แม้ว่าพวกเขาจะสามารถประเมินพลังการยิงของรถถังได้ แต่ปืนจู่โจมส่วนใหญ่จะยิงด้วยกระสุนระเบิดแรงสูงที่มีความเร็วค่อนข้างต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับบทบาทของพวกมันในการจัดการกับจุดที่แข็ง เช่น ตำแหน่งป้อมปราการและอาคารบ้านเรือน[4] อย่างไรก็ตาม เมื่อความขัดแย้งได้คืบหน้า การเพิ่มจำนวนรถถังในสนามรบได้บังคับทำให้เกืดหน่วยปืนจู่โจ่มจำนวนมากซึ่งได้หุ้มเกราะในการปกป้องทหารราบและนำไปสู่กองทัพที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบที่มีความเอนกประสงค์ที่รวมบทบาทแยกจากแบบดั้งเดิมของปืนจู่โจ่มและรถถังพิฆาต[5]

ปืนใหญ่จู่โจมของเยอรมันและโซเวียตต่างได้ถูกนำเสนอในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มักจะถือว่าพวกมันเป็นอาวุธหลักในป้อมปราการที่ล้อมรอบได้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งถูกนำมาใช้แทนที่ป้อมปืน[6] แม้ว่าสิ่งเหลานี้จะมีการระดมยิงที่จำกัดและการเคลื่อนที่ของอาวุธ ซึ่งยังมีข้อดีคือการลดแรงงานและทำให้เกิดกระบวนการผลิตที่ง่ายมากขึ้น[6] สหรัฐอเมริกาไม่เคยพัฒนาปืนจู่โจ่มที่ถูกสร้างโดยเฉพาะในช่วงยามสงคราม แม้ว่าจะทำการดัดแปลงยานเกราะรบที่มีอยู่แล้วสำหรับบทบาทนั้น รวมทั้งเอ็ม 4 เชอร์แมน และเอ็ม 5 สจวต และรถกึ่งสายพาน เอ็ม 3[7]

แนวคิดปืนใหญ่จู่โจมซึ่งส่วนใหญ่ได้ถูกทิ้งในช่วงยุคหลังสงครามในความนิยมต่อรถถังหรือรถถังพิฆาตที่อเนกประสงค์ที่มาพร้อมกับกองกำลังทหารราบ ซึ่งยังสามารถให้การยิงสนับสนุนโดยตรงตามเท่าที่ต้องการได้ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ ปืนจู่โจมได้เลิกที่จะจดจำว่ามันเป็นยานเกราะรบที่ซ่อนตัวในซอกหรือช่องในกำแพง ด้วยตัวอย่างของแต่ละคันที่ถูกจัดว่าเป็นปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์อัตตาจรหรือรถถัง[8] สหภาพโซเวียตยังคงระดมทุนในการพัฒนาปืนจู่โจมแบบใหม่ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1967 แม้ว่าจะมีการออกแบบที่เล็กน้อยในช่วงหลังสงครามก็ได้ถูกนำมาใช้จำนวนมาก[9] ในกองทัพโซเวียตและประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันออก ปืนใหญ่จู่โจมแบบเดิมได้ถูกแทนที่ส่วนมากโดยรถถังพิฆาต เช่น เอสยู-100 ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนแก่ทหารราบหรือยานเกราะ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bull, Stephen. Encyclopedia of Military Technology and Innovation (2004 ed.). Greenwood Publishing Group. p. 229. ISBN 978-1573565578.
  2. Bradford, James. International Encyclopedia of Military History (2006 ed.). Routledge Books. pp. 123–124. ISBN 978-0415936613.
  3. 3.0 3.1 Blennemann, Dirk (2003). Hitler's Army: The Evolution And Structure Of German Forces 1933-1945. Boston: Da Capo Press. pp. 66–63. ISBN 978-0306812606.
  4. 4.0 4.1 4.2 Gudmundsson, Bruce (2004). On Armor. Westport, Connecticut: Prager Books. pp. 114–126. ISBN 978-0812216202.
  5. Tucker-Jones, Anthony (2016). German Assault Guns and Tank Destroyers 1940 - 1945: Rare Photographs from Wartime Archives. Barnsley, South Yorkshire: Pen & Sword Books, Ltd. p. 114. ISBN 978-1473845992.
  6. 6.0 6.1 Levine, Mark (2000). D-Day to Berlin: The Northwest Europe Campaign, 1944-45. Mechanicsburg: Stackpole Books. pp. 21–22. ISBN 978-0811733861.
  7. Gabel, Christopher; Estes, Kenneth (August 1999). Hoffman, George; Starry, Donn (บ.ก.). Camp Colt to Desert Storm: The History of U.S. Armored Forces. Lexington, Kentucky: University Press of Kentucky. pp. 149–156, 479–481. ISBN 978-0813121307.
  8. 8.0 8.1 Underhill, Garrett (November–December 1972). "The Story Of Soviet Armor: Assault Guns And Self-Propelled Artillery". Armor magazine. Fort Knox, Kentucky: US Army Armor Center: 28–38.
  9. Warford, James (July–September 2016). "Armored Vehicle Development Behind The Curtain: The Secret Life Of The Soviet SU-122-54 Assault Gun". Armor magazine. Fort Knox, Kentucky: US Army Armor Center: 12–14.