ข้ามไปเนื้อหา

ปีเอโตร ปาโรลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปีเอโตร ปาโรลิน OMRI (อิตาลี: Pietro Parolin, ภาษาอิตาลี: [ˈpjɛːtro paroˈlin], ภาษาเวเนโต: [paɾoˈliŋ]; เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1955) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งรัฐวาติกันตั้งแต่ ค.ศ. 2013 จนถึงวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2025 และเป็นสมาชิกคณะพระคาร์ดินัลตั้งแต่ ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล เนื่องจากเป็นพระคาร์ดินัลมุขนายกที่มีอาวุโสสูงสุดในกลุ่มพระคาร์ดินัลอายุต่ำกว่า 80 ปี เขาจึงเป็นประธานการประชุมเลือกสันตะปาปา ค.ศ. 2025

ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน ปาโรลินทำงานด้านการทูตประจำสันตะสำนักเป็นเวลา 30 ปี ในประเทศไนจีเรีย เม็กซิโก และเวเนซุเอลา รวมทั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเวลากว่า 6 ปี เมื่อดำรงตำแหน่งพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐ ปาโรลินได้กำหนดจุดยืนนโยบายต่างประเทศของนครรัฐวาติกันภายใต้การปกครองสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส จุดยืนของปาโรลินได้แก่ การประณามอิสราเอลและการกระทำของอิสราเอลในฉนวนกาซา เรียกร้องให้ยุติอาชญากรรมสงคราม และปกป้องพลเมืองในฉนวนกาซา เขาวิจารณ์ข้อเสนอของดอนัลด์ ทรัมป์ ต่อฉนวนกาซา โดยกล่าวว่า "ใครก็ตามที่เกิดและเคยอาศัยอยู่ในฉนวนกาซาต้องคงอยู่ในดินแดนของตน"[1]

ปาโรลินเป็นหนึ่งในผู้ร่างข้อตกลงระหว่างวาติกันกับจีนในปี 2018 ซึ่งอนุญาตให้สมเด็จพระสันตะปาปาอนุมัติและยับยั้งมุขนายกที่แต่งตั้งโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน[2] นอกจากนี้ยังสนับสนุนประเด็นผู้ลี้ภัยและวิพากษ์วิจารณ์การเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยม ประชานิยม และการเมืองต่อต้านผู้อพยพในยุโรป[3] ในการประชุมเลือกสันตะปาปา ค.ศ. 2025 ปาโรลินถูกคาดการณ์ว่าเป็น ปาปาบีเล ซึ่งเป็นผู้สมัครชั้นนำที่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ต่อไปสืบทอดจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

อ้างอิง

[แก้]
  1. McElwee, Joshua (February 14, 2025). "'No deportations': Vatican's top diplomat rebukes Trump's Gaza plan". Reuters. สืบค้นเมื่อ May 2, 2025.
  2. Shea, Nina (2025-05-02). "The Next Pope Needs a Better China Policy". First Things (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-05-02.
  3. "Cardinal Pietro Parolin". The College of Cardinals Report (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-11-23. สืบค้นเมื่อ 2025-05-08. Cardinal Parolin has also had friendly connections with Italian Freemasonry dating back to 2002, according to the testimony of former grand master of the Grand Orient of Italy, Giuliano Di Bernardo. In 2019, Di Bernardo testified that he helped Cardinal Parolin “resolve a problem with the Chinese government” a few years before. Three years earlier, he said publicly that Parolin “does not have a negative and hostile attitude” to Freemasonry. In an interview shortly before the 2025 Conclave, De Bernardo said that at that first meeting with Parolin, there was “an immediate understanding and complete elective affinity; in fact, we collaborated on several projects. We’ve remained very good friends.” He added that he hoped Parolin would be elected pope. “If there’s a glimmer of rationality left in the Church, Parolin must be elected,” he said. “In that way, the Church can still have hope of rising again. But it’s not guaranteed.”