ข้ามไปเนื้อหา

ปีศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราไปรษณียากรอิสราเอลที่ระลึกถึงกองทุนแห่งชาติยิวและยกความจากเลวีนิติ 25:23: "ท่านทั้งหลายจะต้องไม่ขายที่ดินเป็นการถาวร…"

ปีศักดิ์สิทธิ์ (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ปีอิสรภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (อังกฤษ: Jubilee; ฮีบรู: יובל yōḇel; ยิดดิช: yoyvl) เป็นปีที่ตามมาหลังผ่านไป 7 รอบของรอบ 7 ปี (7 วงรอบของปีสับบาโตหรือปีสะบาโต วงรอบละ 7 ปี รวมเป็น 49 ปี) ปีที่ 50 นี้[1] มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับที่ดิน ทรัพย์สิน และสิทธิ์ในที่ดิน ตามกฎเกณฑ์ที่ระบุในหนังสือเลวีนิติ คนที่ไปเป็นทาสตามสัญญาผูกมัดจะได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาส[2] หนี้บางส่วนจะได้รับการยกเว้น[3] และทุกคนจะต้องได้กลับไปอยู่ยังที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของคนในปีศักดิ์สิทธิ์[4]

จุดกำเนิดและวัตถุประสงค์

[แก้]

เลวีนิติ 25:8 -13 ระบุว่า:

ท่านจะต้องนับระยะเวลาเจ็ดปีเจ็ดครั้ง จะได้รวมทั้งสิ้นสี่สิบเก้าปี ในวันที่สิบเดือนเจ็ด ท่านจะสั่งให้เป่าเขาสัตว์ ท่านจะสั่งให้ประกาศวันชดเชยบาปโดยเป่าเขาสัตว์ทั่วแผ่นดินของท่าน ท่านจะต้องประกาศว่าปีที่ห้าสิบนั้นเป็นปีศักดิ์สิทธิ์ และประกาศการปลดปล่อยสำหรับทุกคนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดิน ปีนั้นจะได้ชื่อว่า 'ปีเป่าเขาสัตว์' สำหรับท่าน แต่ละคนจะได้รับที่ดินของตระกูลคืนมา แต่ละคนจะกลับไปยังครอบครัวของตน ในปีที่ห้าสิบซึ่งเป็นปีเป่าเขาสัตว์สำหรับท่านนี้ ท่านจะต้องไม่หว่านพืช ไม่เก็บเกี่ยวข้าวซึ่งงอกขึ้นเอง ไม่เก็บผลองุ่นจากเถาที่ไม่ได้ลิด ปีเป่าเขาสัตว์นี้จะเป็นปีศักดิ์สิทธิ์สำหรับท่าน ตลอดปีนี้ ท่านจะกินพืชผลที่งอกขึ้นเองในทุ่งนา ในปีเป่าเขาสัตว์นี้ แต่ละคนจะได้รับที่ดินของตระกูลคืนมา (ThCB)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Hudson, Michael (1999). "'Proclaim liberty throughout the land': the economic roots of the jubilee". Bible Review. 15: 26–33, 44.
  • Kohn, Risa Levitt (2002a). A New Heart and a New Soul: Ezekiel, the Exile and the Torah. Sheffield: Sheffield Academic Press. ISBN 978-0-8264-6057-8.
  • Kohn, Risa Levitt (2002b). "A prophet like Moses? Rethinking Ezekiel's relationship to the Torah". Zeitschrift für die alttestamentliche Wissenschaft. 114 (2): 236–254. doi:10.1515/zatw.2002.013.
  • Lefebvre, Jean-François (2003). Le Jubilé Biblique: Lv 25 — Exégèse et Théologie. Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht.
  • North, Robert (1954). Sociology of the Biblical Jubilee. Rome: Pontifical Biblical Institute.
  • Young, Rodger C. (2006). "The Talmud's two Jubilees and their relevance to the date of the Exodus" (PDF). Westminster Theological Journal. 68: 71–83.
  • Young, Rodger (1 January 2007). "Three Verifications of Thiele's Date for the Beginning of the Divided Kingdom". Andrews University Seminary Studies. 45 (2): 163–189.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]