โอลิมปิกฤดูร้อน 1996

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 26
Games of the XXIII Olympiad
เมืองเจ้าภาพสหรัฐ แอตแลนตา สหรัฐ
คำขวัญงานเฉลิมฉลองแห่งศตวรรษ
(อังกฤษ: The Celebration of the Century)
ประเทศเข้าร่วม197
นักกีฬาเข้าร่วม10,320 (6,797 ชาย 3,523 หญิง)
กีฬา26 ชนิด
พิธีเปิด19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
พิธีปิด4 สิงหาคม พ.ศ. 2539
ประธานพิธีบิล คลินตัน
(ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ)
ผู้จุดคบเพลิงมูฮัมหมัด อาลี
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาโอลิมปิก

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 26 ประจำปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) จัดการแข่งขันที่เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งถือเป็นการจัดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นการครบรอบ 100 ปีของการจัดโอลิมปิกเกมส์ และได้สร้างสถิติการแข่งขันมากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนนักกีฬา, เจ้าหน้าที่รวมทั้มประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันอีกด้วย

สำหรับนักกีฬาไทยที่ส่งไปแข่งขันเมื่อ 44 ปีที่แล้วถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่จากการส่งนักกีฬาไป 9 ชนิดกีฬา ซึ่งประเทศไทยได้ฮีโร่กำปั้นคนแรกในประวัติศาสตร์ "สมรักษ์ คำสิงห์" นักชกรุ่นเฟอเธอร์เวต คว้าเหรียญทองแรกในประวัติศาสตร์ของไทย

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ[แก้]

การตัดสินรอบสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2532 ในการประชุม IOC Session ครั้งที่ 96 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพ
เมือง ประเทศ รอบ 1 รอบ 2 รอบ 3 รอบ 4 รอบ 5
เอเธนส์ ธงของประเทศกรีซ กรีซ 23 23 26 30 35
แอตแลนตา  สหรัฐ 19 20 26 34 51
เบลเกรด ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย 7 - - - -
แมนเชสเตอร์ ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 11 5 - - -
เมลเบิร์น ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 11 21 16 - -
โทรอนโต ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 14 17 18 22 -

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์โอลิมปิกปี 1996 เป็นรูปคบเพลิงและเปลวไฟตัวเลข100อยู่ใต้คบเพลิงและตราห้าห่วง และมีอักษรอังกฤษคำว่า Atlanta 1996กำกับที่ตอนล่าง

  • คบเพลิง หมายถึง ฐานคบเพลิงที่สนามกีฬากลางแอตแลนตา ซิตี้
  • ตัวเลข 100 หมายถึง 100ศตวรรษนครแอตแลนตา

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน[แก้]

แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

สรุปเหรียญการแข่งขัน[แก้]

ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหรัฐ (เจ้าภาพ) 44 32 25 101
2 รัสเซีย 26 21 16 63
3 เยอรมนี 20 18 27 65
4 จีน 16 22 12 50
5 ฝรั่งเศส 15 7 15 37
6 อิตาลี 13 10 12 35
7 ออสเตรเลีย 9 9 23 41
8 คิวบา 9 8 8 25
9 ยูเครน 9 2 12 23
10 เกาหลีใต้ 7 15 5 27

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 1996 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 1992
(บาร์เซโลนา สเปน)
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(19 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม ค.ศ. 1996)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2000
(ซิดนีย์ ออสเตรเลีย)