ข้ามไปเนื้อหา

ปาเตรีย เอเอ็มวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปาเตรีย เอเอ็มวี
ปาเตรีย เอเอ็มวี ของโครเอเชียติดอาวุธด้วยสถานีอาวุธควบคุมระยะไกลโพรเท็กเตอร์
ชนิดรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ
แหล่งกำเนิดประเทศฟินแลนด์
บทบาท
ประจำการค.ศ. 2007–ปัจจุบัน[1]
ผู้ใช้งานดูประจำการด้านล่าง
สงครามสงครามในอัฟกานิสถาน
การแทรกแซงที่นำโดยซาอุดีอาระเบียในเยเมน[2]
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบปาเดรีย
ข้อมูลจำเพาะ
มวล16,000 ถึง 27,000 กก. (35,000 ถึง 60,000 ปอนด์)
ความยาว7.7 ม. (25 ฟุต)
ความกว้าง2.8 ม. (9 ฟุต 2 นิ้ว)
ความสูง2.3 ม. (7 ฟุต 7 นิ้ว)
ลูกเรือ2–3 นาย (ผู้บัญชาการ, พลขับ, พลปืนเสริม)
ผู้โดยสาร 8–12 นาย[3]

อาวุธหลัก
ปืนใหญ่สูงสุด 105 มม. หรือครกแฝด 120 มม. ในป้อมปืน
เครื่องยนต์ดีไอ 12 สแกนเนียดีเซล หรือดีซี 12 สแกนเนียดีเซล
405 กิโลวัตต์ (543 แรงม้า) หรือ 360 กิโลวัตต์ (480 แรงม้า)
กำลัง/น้ำหนัก15.6 กิโลวัตต์/ชั่วโมง (21.2 แรงม้า/ขั่วโมง) (น้ำหนักสูงสุด), 25.3 กิโลวัตต์/ชั่วโมง (34.4 แรงม้า/ชั่วโมง) (น้ำหนักขั้นต่ำ)
กันสะเทือนขับเคลื่อน 8 ล้อ
ระบบกันสะเทือนอิสระ
พิสัยปฏิบัติการ
600–850 กม. (370–530 ไมล์)
ความเร็วมากกว่า 100 กม./ชม. (60 ไมล์ต่อ ชม.) บนบก
สูงถึง 10 กม./ชม. (6.2 ไมล์ต่อ ชม.) ในน้ำ

ปาเตรีย เอเอ็มวี (ฟินแลนด์: Patria AMV) เป็นยานพานะทหารขับเคลื่อนแปดล้อแบบหลายบทบาท ที่ผลิตโดยปาเตรีย ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของฟินแลนด์

คุณสมบัติหลักของรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนนี้คือการออกแบบให้เป็นชิ้นส่วนประกอบมาตรฐาน ซึ่งช่วยสำหรับการรวมตัวของป้อมปืน, อาวุธ, ตัวรับรู้ หรือระบบการสื่อสารที่แตกต่างกันในโครงรถเดียวกัน การออกแบบมีอยู่สำหรับยานพาหนะรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ (APC) และรุ่นรถรบทหารราบ (IFV), รุ่นคมนาคม, รถพยาบาล และรุ่นที่รองรับการยิงที่แตกต่างกัน ติดอาวุธด้วยปืนครกและระบบปืนเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ยานพาหนะมีระดับการป้องกันทุ่นระเบิดที่ดีมาก และสามารถทนต่อการระเบิดทีเอ็นทีสูงถึง 10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนนี้มีระดับการป้องกันลูกดอกเจาะเกราะส่วนหน้าสูงถึง 30 มม. คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความคล่องตัวที่ดีมาก (ความเร็ว, ความว่องไว และความสะดวกสบายของลูกเรือรวมกัน) ในภูมิประเทศที่ขรุขระ โดยใช้งานแบบสมบุกสมบันแต่มีการปรับระบบกันสะเทือนแบบไฮดรอนิวแมติกที่ทนทานแต่ละล้อแยกกัน[4]

ประวัติ

[แก้]
รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนของโครเอเชีย ที่ห้องด้านหลัง (ป้อมปินไม่ใหญ่นัก)

รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนนี้เกิดจากงานวิจัย ซึ่งผลิตโดยกองบัญชาการกองทัพบกฟินแลนด์ใน ค.ศ. 1995 บนแนวคิดรถหุ้มเกราะที่แตกต่าง ใน ค.ศ. 1996 ยานพาหนะปาเตรียเริ่มพัฒนายานพาหนะด้วยแนวคิดที่แตกต่าง และพบว่าการขับเคลื่อนแปดล้อจำนวนหนึ่งจะเหมาะที่สุดสำหรับการแทนที่สำหรับซิซูปาซิขับเคลื่อนหกล้อ กองทัพฟินแลนด์ (FDF) ได้สั่งซื้อแนวคิดนี้อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1999 ซึ่งพร้อมแล้วเมื่อ ค.ศ. 2000 ปาเตรียยังคงพัฒนายานยนต์และรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนต้นแบบแรกที่พร้อมสำหรับการทดสอบในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 สองตัวอย่างการประเมินได้รับการสั่งซื้อโดยกองทัพฟินแลนด์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 และได้รับการส่งมอบใน ค.ศ. 2003 ในปีเดียวกันนั้น กองทัพฟินแลนด์ได้สั่งซื้อปาเตรีย เอเอ็มวี ที่ติดตั้งอามอสจำนวน 24 คันสำหรับการจัดส่ง ค.ศ. 2006–2009 กองทัพฟินแลนด์ยังกล่าวด้วยว่าพวกเขาต้องการสั่งซื้อ 100 คัน พร้อมกับสถานีอาวุธควบคุมระยะไกล ซึ่งหลังจากนั้นได้สั่งซื้อ 62 คัน ส่วนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2002 กระทรวงกลาโหมโปแลนด์ได้สั่งซื้อยานพาหนะนี้จำนวน 690 คัน ทำให้ปาเตรียเป็นผู้นำในการผลิตรถรบทหารราบช่วง 15–27 ตันในทวีปยุโรป ข้อตกลงที่ตามมาได้ทำทั่วทวีปยุโรป เช่นเดียวกับในแอฟริกาใต้และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์—ในหลาย ๆ สถานที่ที่ผลิตในท้องถิ่น ใน ค.ศ. 2004 รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนได้กลายเป็นพาหนะต่อสู้รุ่นที่ 4 รายแรกในประเภทของมันที่เข้าสู่การผลิตแบบต่อเนื่อง[5]

การออกแบบยึดตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการสร้างปาซิ และความคิดเห็นของลูกค้าเกี่ยวกับยานพาหนะดังกล่าว มันถูกออกแบบมาทั้งหมดในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง 3 มิติก่อนการสร้าง และการทดสอบต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในภายหลังนั้นแสดงให้เห็นว่ามันตอบสนองความคาดหวังทั้งหมด[5]

รถคันนี้ได้รับการออกแบบในรุ่นขับเคลื่อนหกล้อ, แปดล้อ และสิบล้อ แต่รุ่นขับเคลื่อนสิบล้อได้หยุดลงในภายหลัง[6]

เวอร์ชัน

[แก้]
รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนของฟินแลนด์พร้อมป้อมปืนครกอามอส
แบดเจอร์ ซึ่งเป็นรุ่นพิฆาตรถถังของแอฟริกาใต้ พร้อมด้วยปืนใหญ่ขนาด 30 x 173 มม. และปืนครก 60 มม. ที่สามารถติดตั้งในป้อมปืนต่อสู้แบบแยกส่วนได้

ปาเตรีย เอเอ็มวี (เวอร์ชันแรก)

[แก้]

รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนนี้ได้รับการเสนอในสามรุ่นหลัก ได้แก่ แท่นปืนใหญ่พื้นฐาน, แท่นปืนใหญ่หลังคาสูง และแท่นปืนใหญ่อาวุธหนัก

  • รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนแท่นปืนใหญ่พื้นฐาน ประกอบด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ, รถรบทหาราบ, การสั่งการและควบคุม, รถพยาบาล, การลาดตระเวน, รถลำเลียงปืนครก, ยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิง, จรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง และยานพาหนะระบบปืนเคลื่อนที่ แท่นปืนใหญ่พื้นฐานยังสามารถให้เป็นแท่นปืนใหญ่แอล พื้นฐานแบบขยายกับปริมาณภายในที่เพิ่มขึ้น
  • รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนแท่นปืนใหญ่หลังคาสูง มีช่องด้านหลังขนาดใหญ่ขึ้นและสูงขึ้น ซึ่งช่วยให้งานที่ต้องใช้พื้นที่มากขึ้นสามารถทำได้ภายในยานพาหนะ รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนแท่นปืนใหญ่ระบบเหมาะสำหรับระบบบัญชาการ, การควบคุม และการสื่อสาร รวมถึงรถพยาบาลขนาดใหญ่ และยานพาหนะห้องปฏิบัติการ
  • รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนแท่นปืนใหญ่อาวุธหนัก มีคุณสมบัติโครงสร้างที่แข็งแกร่ง ทำให้เหมาะสมกับระบบอาวุธหนัก เช่น ปาเตรียอามอสป้อมปืนครกขนาด 120 มม. หรือระบบปืนเคลื่อนที่

ปาเตรีย เอเอ็มวีเอกซ์พี

[แก้]

ใน ค.ศ. 2013 ปาเตรียได้เปิดตัวเวอร์ชันใหม่ของรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน ส่วนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ปาเตรียได้ประกาศชื่อสำหรับยานเกราะขับเคลื่อนแปดล้อรุ่นต่อไป นั่นคือ ปาเตรีย เอเอ็มวีเอกซ์พี ซึ่งย่อมาจากเอกซ์ตราเพย์โหลด, เอกซ์ตราเพอร์ฟอร์มานซ์ และเอกซ์ตราโพรเทคชัน[7]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ประเทศสโลวาเกียเป็นประเทศแรกที่ได้รับรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนรุ่นใหม่ ภายใต้โครงการความร่วมมือกับประเทศฟินแลนด์ ในความพยายามที่จะแทนที่รถรบทหารราบบีวีพี-1 และบีวีพี-2 ของโซเวียต[8]

รุ่นประจำชาติ

[แก้]
  • รุ่นสโลวีเนีย "สคอฟ สวารัน" ใช้ประตูไฮดรอลิกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ประตูใหม่ยังมีพื้นที่สำหรับบรรทุกกระสุนเพิ่มเติม, อาวุธต่อต้านรถถังแบบอาร์พีจีสองกระบอก และปืนกลอเนกประสงค์หนึ่งกระบอก[9]
  • รุ่น 'แบดเจอร์' ของแอฟริกาใต้ ติดตั้งชุดเกราะใต้พื้นจากแลนด์โมบิลิตีเทคโนโลยีส์ (LMT) และป้อมต่อสู้แบบแยกส่วน (MCT) ของเดเนลแลนด์ซิสเด็มส์ ซึ่งได้นำเสนอในรุ่นย่อยคือ แบบหมวด, สนับสนุนการยิง, ปืนครก, บัญชาการ และขีปนาวุธ[10]
  • รุ่นของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นยาวขึ้นเล็กน้อย (ยาวกว่า 0.4 เมตร) เพื่อให้พอดีกับป้อมปืนบีเอ็มพี-3 ที่มีเนื้อที่มากขึ้น และจำนวนทหารเท่ากับรุ่นรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนดั้งเดิม[11][12]

ฮาวอค (สหรัฐ)

[แก้]

ปาเตรีย และล็อกฮีด มาร์ติน ตกลงร่วมมือกันในการชิงชัยสำหรับโครงการเอ็มพีซี (รถลำเลียงพลนาวิกโยธิน) ของนาวิกโยธินสหรัฐที่ได้รับการกำหนดให้แทนที่แอลเอวี-25 ซึ่งเหล่านาวิกโยธินสหรัฐวางแผนที่จะได้รับรถลำเลียงพลนาวิกโยธิน 600 คัน[13] ทางปาเตรียจะส่งมอบรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนขับเคลื่อนแปดล้อ ส่วนล็อกฮีด มาร์ติน ซิสเต็มส์อินทริเกชัน เป็นผู้รับผิดชอบข้อเสนอของรถลำเลียงพลนาวิกโยธิน เช่นเดียวกับการรวมระบบ, ระบบความอยู่รอด, สายการผลิตของสหรัฐ และเครือข่าย รวมถึงโลจิสติกส์[14] ซึ่งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 นาวิกโยธินให้สัญญากับล็อกฮีดสำหรับการพัฒนายานพาหนะของพวกเขาที่เรียกว่าฮาวอค[15]

เพื่อป้องกันการโจมตีของทุ่นระเบิด ฮาวอคจะใช้ 'ซับเฟรม' แทนตัวถังรูปตัววี[16] เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2013 ฮาวอคประสบความสำเร็จเสร็จสิ้นในการทดสอบสะเทินน้ำสะเทินบกในฐานะส่วนหนึ่งของการประเมินผลสำหรับโครงการรถลำเลียงพลนาวิกโยธิน

รถลำเลียงพลนาวิกโยธินถูกระงับในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013[17] และเริ่มใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014[18] จากนั้นได้ปรับโครงสร้างใหม่เป็นระยะที่ 1 ของโครงการยานรบล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก (ACV)[19] ซึ่งรวมรายการคู่แข่งของรถลำเลียงพลนาวิกโยธินก่อนหน้านี้[20]

ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2013 ฮาวอคได้ทำการทดสอบระบบป้องกันได้สำเร็จในระหว่างการทดสอบการระเบิดหลายครั้ง รถคันนี้เสร็จสิ้นการทดสอบระบบป้องกันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ทั้งหมดโดยมีเครื่องมือบ่งชี้ว่าไม่มีการบาดเจ็บใด ๆ ที่จะส่งผลต่อลูกเรือสามนาย และนาวิกโยธินปลดประจำการ 9 นาย ล็อกฮีดยังส่งรายงานที่แสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างฮาวอคกับยานพาหนะของเหล่านาวิกโยธินอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุน, ข้อกำหนดในการฝึก และความต้องการด้านการส่งกำลังบำรุง[21]

ล็อกฮีดฮาวอค เอเอ็มวี สำเร็จในหลักสูตรเส้นทางภูเขาบัตต์ของศูนย์ทดสอบยานยนต์เนวาดาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ซึ่งล็อกฮีดวางแผนที่จะเสนอฮาวอคในโครงการยานรบล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกระยะที่ 1 ของเหล่านาวิกโยธิน และมอบยานพาหนะ 16 คันเพื่อทดสอบเมื่อมีคำขอสำหรับข้อเสนอ (RFP) ในต้น ค.ศ. 2015[22] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 ความร่วมมือระหว่างปาเตรียกับล็อกฮีด มาร์ติน ได้สิ้นสุดลง และฮาวอคไม่ได้รับการเสนอให้เข้าร่วมโครงการยานรบล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก[23]

ประจำการ

[แก้]
รถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนของสโลวีเนีย
แบดเจอร์ของแอฟริกาใต้พร้อมป้อมปืนดีแอลเอส เอ็มซีที-30

กองทัพบกโปแลนด์ได้สั่งซื้อรถ 690 คันใน ค.ศ. 2003 ซึ่งรวมถึงรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน 313 คันพร้อมป้อมปืนอิตฟิสต์-30ปี โอตีโอ เมลารา ขนาด 30 มม. ของอิตาลี และรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนในองค์ประกอบรุ่นอื่น ๆ 377 คันที่จะส่งมอบระหว่าง ค.ศ. 2004 ถึง 2013 ซึ่งรถของโปแลนด์บางคันได้กรีธาพลสู่ประเทศอัฟกานิสถาน รถของโปแลนด์เป็นที่รู้จักกันในชื่อคาเทออ โรโซมาค ("วุลเวอรีน") ในประจำการกองทัพบกโปแลนด์ ใน ค.ศ. 2013 กองทัพโปแลนด์ได้สั่งซื้อยานพาหนะเพิ่มอีก 307 คัน ซึ่งรวมถึงรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน 122 คัน และติดตั้งปืนครก 80 คัน รวมทั้งหมด 997 คัน ทำให้โปแลนด์เป็นผู้นำมาประจำการที่ใหญ่ที่สุดโดยมีค่าแตกต่างระหว่างราคาทุนกับราคาขายที่ยุติธรรม

กองทัพบกฟินแลนด์สั่งซื้อรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนจำนวน 24 คันพร้อมระบบปืนครกเอมอส และรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน 62 คันที่ติดตั้งระบบอาวุธควบคุมระยะไกลโพรเทกเตอร์ (อาร์ดับเบิลยูเอส) สำหรับปืนกลหนัก.50 เอ็ม2เอชบี คิวซีบี หรือปืนกลยิงลูกระเบิดจีเอ็มจี เวอร์ชันมาตรฐานเป็นที่รู้จักในชื่อเอกซ์เอ-360 ในประจำการกองทัพบกฟินแลนด์ ขณะที่เวอร์ชันเอมอสเป็นที่รู้จักในชื่อเอกซ์เอ-361

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 กระทรวงกลาโหมของสโลวีเนียได้ประกาศว่าปาเตรีย เอเอ็มวี จะเป็นยานรบหุ้มเกราะรุ่นใหม่ของกองทัพสโลวีเนีย ปาเตรียจะจัดหารถ 135 คัน โดยบางคันติดตั้งปืนครกนีโม, บางคันติดตั้งสถานีอาวุธควบคุมด้วยรีโมตเอลบิต 30 มม. และส่วนที่เหลือกับป้อมปืนคองส์เบิร์กโพรเทคเตอร์ ข้อกล่าวหาในสื่อฟินแลนด์ระบุว่าปาเตรียใช้การติดสินบนเพื่อประกันสัญญาของสโลวีเนียซึ่งนำไปสู่เรื่องอื้อฉาวและการสอบสวนทางอาญาในประเทศฟินแลนด์ และอาจมีส่วนทำให้นายกรัฐมนตรี ยาแน็ส ยานชา พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งรัฐสภาของสโลวีเนีย ค.ศ. 2008 เนื่องจากวิกฤตการเงิน ทำให้งบประมาณด้านกลาโหมถูกตัดหลายครั้ง ในตอนแรกสัญญาจัดหายานพาหนะ 135 คันควรได้รับการแก้ไขให้มียานพาหนะน้อยลงพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ดีขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมา กระทรวงกลาโหมได้รับความเดือดร้อนจากการตัดเงินครั้งใหญ่ ส่วนใน ค.ศ. 2012 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ประกาศยกเลิกสัญญาเมื่อถึงเวลารับรถ 30 คัน โดยมีการซื้อรถหุ้มเกราะและอาวุธที่มีความสามารถสูงขึ้นในอนาคตระยะกลาง

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 เดเนลแลนด์ซิสเตมส์ของแอฟริกาใต้ได้รับสัญญาในการสร้างรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนรุ่นปรับปรุง พร้อมการป้องกันขีปนาวุธและทุ่นระเบิดในระดับสูงสำหรับกองทัพแอฟริกาใต้ ซึ่งรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนดังกล่าวจะแทนที่ราเทลของแอฟริกาใต้ในฐานะส่วนหนึ่งของ "โปรเจกต์โฮฟีสเตอร์" (เกือกม้า) รวมห้ารุ่นที่แตกต่างกัน ได้แก่ ยานพาหนะบัญชาการ, ปืนครก, ขีปนาวุธ, แผนก และยิงสนับสนุน[24] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ทางและปาเตรียได้ประกาศว่าพวกเขาได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการผลิตและส่งมอบรถเกราะล้อยางปาเตรีย เอเอ็มวี ขับเคลื่อนแปดล้อไปยังแอฟริกาใต้ ข้อตกลงดังกล่าวรวมถึงยานพาหนะ 238 คัน ซึ่งรถรุ่นพรีซีรีส์ 5 คันได้รับการส่งมอบไปแล้วในระหว่างขั้นตอนการพัฒนา[25]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 กระทรวงกลาโหมโครเอเชียได้เลือกปาเตรีย เอเอ็มวี เป็นยานรบหุ้มเกราะรุ่นใหม่ของกองทัพโครเอเชียในการประกวดราคาระหว่างประเทศครั้งแรกในประวัติศาสตร์[26] โดยจะได้รับรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน 84 คัน แรกเริ่มเดิมที ได้มีแผนเรียกรถขับเคลื่อนแปดล้อ 84 คัน และรถขับเคลื่อนหกล้อ 42 คัน กระทั่งกระทรวงกลาโหมโครเอเชียได้อนุมัติการจัดซื้อยานพาหนะปาเตรีย เอเอ็มวี ขับเคลื่อนแปดล้อจำนวน 84 คัน ส่วนแนวคิดของการกำหนดแบบขับเคลื่อนหกล้อถูกยกเลิก และอีก 42 คันที่เหลือนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นแบบขับเคลื่อนแปดล้อแทน การจัดซื้อรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนอีก 42 คันที่เหลือเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน สัญญาดังกล่าวได้รับการแก้ไขเล็กน้อยในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 โดยมีแผนเริ่มต้นในการเลื่อนไปก่อนตามคำสั่งครึ่งหนึ่ง (มีการกล่าวถึงยานพาหนะ 64 คัน) แต่มีการตัดสินใจว่าทั้งหมด 126 คันจะยังคงอยู่ตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะลดต้นทุนของข้อตกลงได้บ้าง รุ่นที่แพงที่สุด เช่น นีโม หรือหน่วยวิศวกรรมอาจถูกแทนที่ด้วยรุ่นรถลำเลียงพลหุ้มเกราะที่มีราคาถูกกว่า ในทางกลับกัน การผลิตจะเร่งขึ้นและจะส่งมอบรถทั้งหมดภายในสิ้น ค.ศ. 2012

รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนียได้ประกาศใน ค.ศ. 2006 ว่าจะจัดหาประเภทเดียวกับที่กองทัพโครเอเชียเลือกหลังจากการทดลองทดสอบใน ค.ศ. 2007—เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โครงแบบของยานพาหนะปาเตรียที่ชนะการแข่งในที่สุดจะคล้ายกับในราชการของสโลวีเนีย แต่อาจมีจำนวนน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเผยแพร่สัญญาใด ๆ[26]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 บริษัทปาเตรียได้ประกาศว่ากองกำลังติดอาวุธสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้สั่งรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน ซึ่งติดตั้งป้อมปืนบีเอ็มพี-3 โดยยังไม่ได้ประกาศจำนวนยานพาหนะ

เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2008 มีการประกาศว่าปาเตรียได้เสนอให้ส่งมอบรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน 30 คันแรกภายในสี่เดือนของการสั่งซื้อ หากกองทัพเช็กเกียเลือกรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนในฐานะรถลำเลียงพลหุ้มเกราะถัดไป ซึ่งกองทัพเช็กเกียได้เลือกสไตร์ พันดัวร์ ของประเทศออสเตรียในฐานะรถลำเลียงพลหุ้มเกราะถัดไป แต่รัฐบาลเช็กเกียได้ถอนตัวจากข้อตกลงเมื่อปลายปีก่อน โดยอ้างว่าสไตร์ได้ล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดขึ้นจากสัญญา[27]

ส่วนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 บริษัทปาเตรียได้ขายรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วน 113 คันให้แก่ประเทศสวีเดนในข้อตกลงมูลค่า 250 ล้านยูโร ข้อตกลงดังกล่าวรวมถึงตัวเลือกสำหรับรถยนต์อีก 113 คันในอนาคต

ประวัติการรบ

[แก้]
ปาเตรีย เอเอ็มวี เวอร์ชันโปแลนด์ ที่รู้จักกันในชื่อคาเทออ โรโซมัค แบบเอ็ม1เอ็ม ในประเทศอัฟกานิสถาน
สงครามในอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 2001–2014)
  • เหล่ากองกำลังภาคพื้นดินโปแลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังสนับสนุนด้านความมั่นคงนานาชาติได้ปฏิบัติการยานพาหนะคาเทออ โรโซมัค 35 คัน (ภายหลังเพิ่มเป็น 128 คัน) รวมถึงการส่งกลับสายแพทย์ 5 คันในประเทศอัฟกานิสถานตั้งแต่ ค.ศ. 2007 รถลำเลียงพลหุ้มเกราะดังกล่าวได้รับการติดตั้งเกราะผสมเหล็กกล้าเพิ่มเตืม ครั้นในช่วงต้น ค.ศ. 2008 โรโซมัคของโปแลนด์ที่ประจำการในประเทศอัฟกานิสถาน (รุ่นที่อัปเกรดเกราะ) ได้ถูกโจมตีโดยกลุ่มกบฎตอลิบาน ยานพาหนะนี้ถูกยิงด้วยจรวดอาร์พีจี-7 แต่สามารถยิงกลับ และกลับสู่ฐานโดยไม่ต้องให้การช่วยเหลือใด ๆ[28] ส่วนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 โรโซมัคถูกโจมตีโดยกลุ่มตอลิบาน และถูกโจมตีใส่เกราะหน้าของมัน ซึ่งไม่สามารถเจาะเกราะได้ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2009 มีรายงานว่าทหารคนแรกถูกสังหารขณะเดินทางในโรโซมัคหลังจากระเบิดแสวงเครื่องระเบิดใต้รถ และบดขยี้พลปืนที่ยืนอยู่ในป้อมปืนที่เปิดอยู่ ทั้งนี้ การระเบิดที่คล้ายกันซึ่งเกิดจากทุ่นระเบิดและระเบิดแสวงเครื่องได้เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ว่าจะล้มเหลวในการสร้างความเสียหายให้แก่ผู้บาดเจ็บ[29][30][31]
ภารกิจสหภาพยุโรปในประเทศชาด (ค.ศ. 2008–2009)
กองกำลังสหภาพยุโรปในประเทศชาดและสาธารณรัฐแอฟริกากลางใช้คาเทออ โรโซมัค 16 คัน (รวมถึงการส่งกลับสายแพทย์ 2 คัน)[33]
การแทรกแซงที่นำโดยซาอุดีอาระเบียในเยเมน (ค.ศ. 2015–ปัจจุบัน)
กองทัพบกสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใช้ปาเตรีย เอเอ็มวี ขับเคลื่อน 8 ล้อ ที่ติดตั้งป้อมปืนควบคุมระยะไกลในการรุกตามแนวชายฝั่งตะวันตกของประเทศเยเมน[34]

ประจำการ

[แก้]
แผนที่ของปาเตรีย เอเอ็มวี ประจำการเป็นสีน้ำเงิน

ประจำการปัจจุบัน

[แก้]
ปาเตรีย เอเอ็มวี แห่งกองทัพสาธารณรัฐโครเอเชีย
ธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย (126 คัน)
ปัจจุบันมี 126 คันที่เข้าประจำการ ซึ่ง 84 คันได้รับการสั่งซื้อใน ค.ศ. 2007 และเพิ่มเติม 42 คันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 โดย 4 คันแรกส่งมอบในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ทั้งนี้ เนื่องจากการตัดงบประมาณทางทหาร คำสั่งซื้อจึงได้รับการแก้ไขเล็กน้อยในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 แต่จำนวนรวม 126 คันไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งรถทุกคันมีกำหนดส่งมอบในช่วงปลาย ค.ศ. 2012 โครเอเชียมีแนวโน้มที่จะสั่งซื้อปาเตรียจำนวนใหม่เนื่องจากข้อกำหนดสำหรับกองพลน้อยขยาดกลาง โดยสามารถสั่งซื้อปาเตรีย เอเอ็มวี เพิ่มเติมถึง 42 คันพร้อมป้อมปีนเอลบิต ยูที30เอ็มเค2 ก่อน ค.ศ. 2025 ซึ่งในที่สุด ปาเตรีย เอเอ็มวี 160 คันสามารถเข้าประจำการในกองทัพได้[35][36]
ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ (80 คัน)
มีรถลำเลียงพลหุ้มเกราะมาตรฐาน 62 คันที่ติดตั้งป้อมปืนคองสแบร์กและปืนครกอัตตาจรหุ้มเกราะ 18 คันที่ติดตั้งระบบปืนครกเอโมส
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ (1,197 คัน)
มีรถลำเลียงพลหุ้มเกราะและยานรบหุ้มเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก 1,197 คัน ซึ่งผลิตภายใต้ใบอนุญาตที่โรโซมาค เอส.อา โดยทำเครื่องหมายในฐานะคาเทออ โรโซมาค (Kołowy Transporter Opancerzony Rosomak, แปลความหมายคือรถลำเลียงพลหุ้มเกราะล้อยาง "วุลเวอรีน")[37] และยานพาหนะที่สั่งซื้อทั้งหมดได้รับการส่งมอบภายใน ค.ศ. 2019 ซึ่งใน ค.ศ. 2013 คำสั่งซื้อเดิมสำหรับรถรบทหารราบ 359 คัน และรถฐาน 331 คันได้เพิ่มขึ้น 307 คัน—รวมถึงรถรบทหารราบ 122 คันที่มีป้อมปืนใหม่[38] โดยใน ค.ศ. 2013 มีรถประจำการทั้งหมด 570 คัน[39] ครั้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 กองทัพบกโปแลนด์ได้สั่งซื้อยานพาหนะดังกล่าวเพิ่ม 200 คัน[40] ทำให้มียานพาหนะที่ใช้งานได้ทั้งหมดสูงถึง 977 คัน
 สโลวาเกีย (76 คัน)
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 กระทรวงกลาโหมของสโลวาเกียได้เลือกฟินแลนด์ และปาเตรีย เอเอ็มวีเอกซ์พี ขับเคลื่อนแปดล้อเป็นผู้ชนะการประกวดราคาโครงการบีโอวีขับเคลื่อนแปดล้อ โดย 76 คัน รุ่นใหม่ของปาเตรีย เอเอ็มวีเอกซ์พี ได้รับการสั่งซื้อและกำลังส่งมอบ[41]
 สโลวีเนีย (30 คัน)
ส่งมอบไปแล้ว 30 คัน เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและกฎหมาย[42]
ธงของประเทศแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ (238 คัน)
238 คัน ได้รับการตั้งชื่อแบดเจอร์[43] จะมีห้ารุ่น ได้แก่: ลำเลียงพลทหารราบมาตรฐาน, รถบัญชาการ, รุ่นยิงสนับสนุน, ปืนครกอัตตาจร และต่อสู้รถถัง[44]
ปาเตรีย เอเอ็มวี ของสวีเดน
ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน (113 คัน)
สวีเดนได้สั่งซื้อรถ 113 คัน และมีตัวเลือกสำหรับรถจำนวนเท่าเดิม[45] แต่ศาลสวีเดนสั่งให้มีการประกวดอีกครั้ง[46] กระทั่งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2010 การประกวดครั้งใหม่สิ้นสุดลงด้วยผลการประกวดเดิม โดยสวีเดนสั่งซื้อรถ 113 คันจากบริษัทปาเตรีย[47] ซึ่งรถคันแรกได้รับมอบเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2013[48]
ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (55 คัน)
กองทัพบกสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้สั่งซื้อชุดประเมินค่าเบื้องต้น[49] จำนวน 15 คัน[50] ยานพาหนะเหล่านี้จะติดตั้งป้อมปืนบีเอ็มพี-3 และด้วยเหตุนี้จึงมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย รวมทั้งตัวถังที่ค่อนข้างยาวขึ้น[51] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 กองบัญชาการทั่วไปของกองกำลังติดอาวุธสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สั่งซื้อตัวถังปาเตรีย เอเอ็มวี 40 จำนวน 40 คัน พร้อตัวเลือกอีก 50 คัน[52][53] ยานพาหนะเหล่านี้ได้รับการจัดส่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 จากสายการผลิตของปาเตรียในประเทศโปแลนด์[54] และมีการใช้ปาเตรียที่ประเทศเยเมนในการปฏิบัติการรบ[55]

ประจำการในอนาคต

[แก้]
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (140 คัน)
มีรายงานในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ว่ารถปาเตรีย เอเอ็มวีเอกซ์พี ขับเคลื่อนแปดล้อสองคันกำลังได้รับการส่งไปยังญี่ปุ่นจากฟินแลนด์เพื่อทดสอบภาคสนาม เพื่อเข้าร่วมในโครงการรถหุ้มเกราะล้อยางคันต่อไปภายใต้กระทรวงป้องกันประเทศญี่ปุ่น[56] และตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2021 ทางกระทรวงป้องกันประเทศได้เริ่มการทดสอบภาคสนามเพื่อยืนยันยานพาหนะและรถหุ้มเกราะไร้คนขับที่ผลิตโดยมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์[57] ครั้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2022 กระทรวงป้องกันประเทศญี่ปุ่นได้รับสัญญาสำหรับรถเกราะล้อยางแบบแยกส่วนนี้ผ่านปาเตรียญี่ปุ่น[58] โดยคาดว่าจะได้ชุดแรก 140 คัน[59] ซึ่งทางญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเครื่องยนต์ 140 เครื่องต่อบริษัทสกัวเนอสำหรับยานพาหนะนี้[60]
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน (200 คัน)
มีรายงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2023 ว่ายูเครนได้สั่งซื้อยานพาหนะนี้จำนวน 100 คันจากสายการผลิตของโปแลนด์ ยานพาหนะดังกล่าวจะชำระด้วยเงินที่จัดสรรโดยสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา[61] ต่อมา ในการให้สัมภาษณ์ประธานาธิบดีแซแลนสกึยกล่าวว่าจะมียานพาหนะนี้ 200 คัน 100 คันในตอนนี้ และอีก 100 คันในภายหลัง ข้อตกลงนี้จะรวมถึงบรรดาปืนครกอัตตาจรเช่นกัน[62]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Puolustusvoimat hankkii raivaamispanssareita". verkkouutiset.fi (ภาษาฟินแลนด์). Suomen Kansallisverkko Oy. 22 December 2004. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  2. Mac Dougall, David; Huuhtanen, Elias (17 September 2018). "Investigation: Finnish-made Patrias, some with Russian heavy weapons, deployed in Yemen battle zone". News Now Finland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-06. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  3. Gerard O'Dwyer. "Patria Wins Swedish AMV Contract". Defense News. สืบค้นเมื่อ 2009-06-26.[ลิงก์เสีย]
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-13. สืบค้นเมื่อ 2019-07-07.
  5. 5.0 5.1 "Sotataloustietoutta VIII" (PDF). สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.[ลิงก์เสีย]
  6. Panssariseminaari 2006[ลิงก์เสีย]
  7. "Patria News: Patria AMV XP sets a new standard for the future armoured wheeled vehicles (2014-06-17). Retrieved: 2 June 2014". Patria Oy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
  8. Fiorenza, Nicholas (21 November 2017). "Slovakia receives new version of AMV XP under joint IFV programme with Finland". IHS Jane's 360. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2017. สืบค้นเมื่อ 23 November 2017.
  9. Photo of the Svarun vehicle with new door เก็บถาวร 2011-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. "Slovenian Armed Forces"
  10. Denel Land Systems promotional brochure (PDF). Jane's Information Group
  11. "IHS Events, Webinars, Training and User Groups". Janes.com. สืบค้นเมื่อ 2013-01-12.
  12. "SOFEX 2010 - Galleries". Janes.com. สืบค้นเมื่อ 2013-01-12.
  13. "Patria vahvoilla Yhdysvaltain merijalkaväen ajoneuvokaupoissa. YLE Uutiset 18.10.2007". Yle Uutiset. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2008. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
  14. Patrian AMV tarjolla Yhdysvaltain merijalkaväelle. Seppälä, Jarmo: Tekniikka ja Talous 18.10.2007 เก็บถาวร 2008-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. Personnel carrier development contracts awarded เก็บถาวร 2012-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Militarytimes.com, September 10, 2012
  16. Wasserbly, Daniel. "Details emerge on competitors for the USMC's Marine Personnel Carrier." Janes, 28 September 2012.
  17. Commitment to Swimming Vehicle Throws Off Marines’ Tight Modernization Schedule - Nationaldefensemagazine.org, October 2013
  18. Marines Budget Scramble: Commandant Resurrects MPC, ACV In Limbo เก็บถาวร 2014-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Breakingdefense.com, 17 February 2014
  19. Freedberg Jr., Sydney J. (2 April 2014). "A Sneak Peek At Marines' New Amphibious Combat Vehicle". breakingdefense.com. Breaking Media, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2014. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  20. Marines upgrading, replacing amphibs under new strategy เก็บถาวร 2014-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Militarytimes.com, 24 September 2014
  21. Havoc 8x8 Demonstrates High Levels of Crew Protection in Marine Corps' Blast Testing เก็บถาวร 2013-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Deagel.com, 24 September 2013
  22. Lockheed Martin's Havoc 8x8 Armored Modular Vehicle successfully completed automotive tests - Armyrecognition.com, 24 September 2014
  23. Lockheed Martin Ends Collaboration with Patria on Havoc & Will Present its Own Design for ACV เก็บถาวร 2015-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Armyrecognition.com, 11 July 2015
  24. "Defense Aerospace: Denel Lands Biggest Contract In Its History". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2014. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
  25. "Patria.fi: Denel and Patria announce an Agreement on Armoured Wheeled Vehicles to South Africa (14.11.2013)". Patria Oy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-08. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014.
  26. 26.0 26.1 "Finci dobivaju posao za nabavu oklopnih vozila - 24 July 2007". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007. สืบค้นเมื่อ 24 July 2007.
  27. "Patria offers Czechs to supply first 30 APCs within four months - ČeskéNoviny.cz". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
  28. Afghanistan: 14 lipca dotrą dodatkowe pancerze dla Rosomaków. เก็บถาวร 2008-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. www.eu.org: European armoured vehicles: current programmes: http://wyborcza.pl. เก็บถาวร 2009-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  30. "Dajcie nam rosomaki". Wyborcza.pl. 1999-10-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-19. สืบค้นเมื่อ 2013-01-12.
  31. To pierwszy żołnierz, który zginął w Rosomaku. เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PL)
  32. "Solemn line-up marking the departure of the 14th contingent to Afghanistan". Slovenskavojska.si. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ 2013-01-12.
  33. "Informacje nt. misji w Czadzie". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-06. สืบค้นเมื่อ 2013-01-12.
  34. "Patria AMV 8x8 armored combat proven in Yemen with UAE army". 10 December 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2017. สืบค้นเมื่อ 15 December 2017.
  35. Patria AMV chosen as the preferred vehicle in Croatia, August 2007
  36. Patria's press release, January 2009[ลิงก์เสีย]
  37. "Rosomaki dłużej w produkcji. Nowa wersja" ["Wolverine" production extended. New upgrades]. defence24.pl (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ March 20, 2022.
  38. "Kolejne Rosomaki dla WP". www.altair.com.pl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2013.
  39. "Będą kolejne Rosomaki dla Sił Zbrojnych RP". Ministerstwo Obrony Narodowej. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2013.
  40. "Poland Orders Additional 200 Rosomak Armored Vehicles". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2015-01-14.
  41. "Defensenews.com: Slovakia, Finland ink production deal for 76 Patria combat vehicles, 31.8.2022". 31 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-07.
  42. "Lahjusjutun tahrima panssarikauppa kutistui 80 prosenttia" [Armour trade, tainted by the bribery case, shrank by 80 per cent]. Turun Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). 5 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2015.
  43. "Engineering News 1.6.2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-13.
  44. "DefenceWeb: Denel orders Saab computers for Hoefyster, 26.6.2009". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.
  45. Patria press release 25.6.2009[ลิงก์เสีย]
  46. "Försvarets materielverk - Brister i komplex upphandling". August 13, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2010.
  47. "Försvarets materielverk - Nya hjulgående stridsfordon till försvaret - pressmeddelande". August 25, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2010.
  48. Sweden Receives First Batch of AMV 8×8 Wheeled Armored Vehicles เก็บถาวร 2013-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Deagel.com, March 5, 2013
  49. "Patria.fi: Patria's AMV vehicle selected for United Arab Emirates (29.1.2008)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-17. สืบค้นเมื่อ 2023-07-11.
  50. "Artem Defence" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
  51. "Image of Patria AMV with BMP-3 turred at IDEX 2007". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-19. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
  52. "UAE orders Patria AMVs | IHS Jane's 360". www.janes.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-30. สืบค้นเมื่อ 2016-01-30.
  53. United Arab Emirates has ordered Finnish-made Patria AMV 8x8 armoured vehicles เก็บถาวร 2016-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Armyrecognition.com, 28 January 2016
  54. Rosomak APC For The UAE. Agreement Finalized. Improved Armour, No Amphibious Capabilities. เก็บถาวร 2017-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน defence24.com
  55. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ YemenWar
  56. "Patria AMVXP 8X8 test vehicles on the way to Japan". www.armyrecognition.com.
  57. "Japan conducts field tests with Finnish Patria AMV XP 8x8 armored vehicle | Defense News December 2021 Global Security army industry | Defense Security global news industry army year 2021 | Archive News year".
  58. "Japan selects Patria's AMV for Type 96 replacement programme". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-10.
  59. Yeo, Mike (2022-12-13). "Japan selects winner of wheeled armored personnel carrier competition". Defense News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.
  60. "Trade Registers". armstrade.sipri.org. สืบค้นเมื่อ 2023-06-22.
  61. [1]
  62. [2]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]