ปาดเขียวตีนดำ
ปาดเขียวตีนดำ | |
---|---|
ปาดเขียวตีนดำ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Amphibia |
ชั้นย่อย: | Lissamphibia |
อันดับ: | Anura |
วงศ์: | Rhacophoridae |
สกุล: | Rhacophorus |
สปีชีส์: | R. nigropalmatus |
ชื่อทวินาม | |
Rhacophorus nigropalmatus Boulenger, 1895 |
ปาดเขียวตีนดำ (อังกฤษ: Wallace's frog, Wallace's flying frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhacophorus nigropalmatus) เป็นปาดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปาดโลกเก่า (Rhacophoridae) มีขนาดความยาวลำตัว 80-100 มิลลิเมตร โดยเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ปาดเขียวตีนดำเป็นหนึ่งในปาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Rhacophorus ซึ่งตาและหูของปาดเขียวตีนดำมีขนาดใหญ่ ส่วนของขาทั้ง 4 มีขนาดยาว และบริเวณระหว่างนิ้วมีพังผืดอยู่ตลอดความยาวนิ้ว ประกอบกับบริเวณข้างลำตัวซึ่งมีผิวหนังที่สามารถยืดได้ระหว่างขาหน้าและขาหลัง ทำให้สามารถกระโดดหรือร่อนจากบนต้นไม้สูงลงสู่บริเวณพื้นที่ต่ำกว่าได้ [2]
ลำตัวด้านบนลำตัวมีสีเขียวมันวาว ส่วนบริเวณด้านท้องมีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีเหลืองซีด ซอกขาและด้านล่างของต้นขามีสีเหลือง ในนิ้วตีนหน้ามีพังผืดสีดำยึดระหว่างนิ้วยาวไปถึงปลายนิ้วแรก นิ้วตีนหลังมีพังผืดยึดโคนนิ้ว ส่วนปลายนิ้วที่เหลือมีสีเหลืองลายแขนงสีดำ
พบอาศัยอยู่ตามต้นไม้สูงๆ ในป่าต่ำ [3]
ปาดเขียวตีนดำพบได้น้อยตั้งแต่บริเวณคาบสมุทรมลายูไปจนถึงทางตะวันตกของอินโดนีเซีย [2]
ปาดเขียวตีนดำโดยปกติอาศัยอยู่บนต้นไม้ จึงมีการร่อนไปในอากาศ โดยได้รับการพยุงตัวให้ลอยอยู่ในอากาศได้จากแผ่นหนังระหว่างนิ้วตีนขนาดใหญ่มาก เมื่อกระโดดลงจากต้นไม้จะกางขาให้อยู่ในระดับเดียวกับลำตัวรวมทั้งกางนิ้วออก ประกอบกับการทำตัวให้แบนราบเพื่อให้มีพื้นที่ต้านอากาศมากขึ้น ทำให้ปาดเขียวตีนดำสามารถร่อนไปในอากาศและลงสู่พื้นดินด้วยมุมน้อยกว่า 18 องศา ซึ่งทำให้ปาดเขียวตีนดำได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ปาดบิน"[4] ซึ่งการร่อนหรือกระโดดครั้งหนึ่งไปไกลได้ถึง 15 เมตร[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ van Dijk, P.P.; Iskandar, D. & Inger, R. (2004). Rhacophorus nigropalmatus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 22 SEPTEMBER 2013.
- ↑ 2.0 2.1 * Tunstall, Tate (ed.) (2003): AmphibiaWeb - Rhacophorus nigropalmatus, Wallace's Flying Frog. Version of 2003-APR-12. Retrieved 2013-SEP-22.
- ↑ ศิริพร ทองอารีย์, ธัญญา จั่นอาจ, ยอดชาย ช่วยเงิน และอังสนา มองทรัพย์. ไม่ระบุปีที่พิมพ์. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในป่า ฮาลา-บาลา.กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
- ↑ "ปาด". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 4 January 2015.
- ↑ new)smart, สารคดีทาง new)tv: อังคารที่ 6 มกราคม 2558
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rhacophorus nigropalmatus ที่วิกิสปีชีส์