ปังขา
พังคา (อังกฤษ: punkah หรือ pankha) มาจากจาก ปังขา (อูรดู: پَنکھا, ฮินดี: पंखा, paṅkhā) เป็นชนิดของพัดโบราณ
ในสมัยอาณานิคม อินเดียของอังกฤษและอาณานิคมอื่นในโลกเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนได้นำคำนี้จากคนท้องถิ่นในอนุทวีปอินเดียมาใช้เรียกพัดขนาดใหญ่ที่ยึดติดอยู่กับเพดาน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยทำการขยับพัดเรียกว่าปังขาวลา (punkah wallah) ในช่วงเวลาที่อากาศร้อน[1] ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ เช่นในอาคารสำนักงานหรือศาล จะมีการเชื่อมต่อปังขาเข้าด้วยกันโดยใช้เชือก เกิดเป็นระบบปังขาที่สามารถพัดไปได้พร้อม ๆ กัน วัสดุที่ใช้ทำมีตั้งแต่กกสำหรับทำเสื่อ ไปจนถึงผ้าราคาแพง ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าพัดลักษณะนี้มีใช้งานมาตั้งแต่เมื่อไร แต่เป็นที่เข้าใจว่ามีใช้ในโลกอาหรับมาตั้งแต่ศตวรรษที่แปดเป็นอย่างน้อย[1] It และพึ่งเข้ามาแพร่หลายในอินเดียไม่เกินปลายศตวรรษที่ 18[1] ปังขาเริ่มถูกแทนที่ในอาคารต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 20 ด้วยพัดลมไฟฟ้า[1]
ในอินเดียเรียกผู้ทำการพัดปังขาว่า ปังขาวลา (punkhawallah, pankha wallah) เป็นตำแหน่งทาสที่ทำหน้าที่พัดโดยส่วนมากผ่านระบบรอก[2]
คำว่า พังคาลูฟร์ (punkah louvre) มีใช้งานสืบต่อมาเป็นคำเรียกทางออกสำหรับอากาศเย็นแบบเป็นทิศทาง (directional outlet for cool air) ที่ใช้ในอากาศยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหนือที่นั่งผู้โดยสาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 22 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 657.
- ↑ "punkahwallah". Wiktionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2017. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
- Datta, Arunima (9 September 2019). "Keeping India Cool". History Today. 69 (9).