ปอปปูเลรีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปอปปูเลรีส
ผู้นำหลักติแบริอุส แกรคคัส
กาอิอุส แกรคคัส
กาอิอุส มาริอุส
ลูกิอุส กอร์เนลิอุส กินนา
ลูกิอุส แอปปูเลอุส แซเทอร์นินุส
มาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส
ปูบลิอุส เกลาดิอุส ปุลเชอร์
จูเลียส ซีซาร์
มาร์กุส อันโตนิอุส
อ็อกตาเวียน
ก่อตั้งประมาณ 133 ปีก่อนคริสตกาล
ถูกยุบประมาณ 36 ปีก่อนคริสตกาล
อุดมการณ์ลัทธิอิงสามัญชน
ผลประโยชน์ของพลีเบียน
การผ่อนปรนหนี้
ลัทธิการขยายอิทธิพล
Cura Annonae
การปฏิรูปที่ดิน
ประชาธิปไตยโดยตรง
การเมืองโรมโบราณ
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ปอปปูเลรีส (ละติน: Populares, แปลว่า "เป็นที่นิยมของประชาชน", เอกพจน์ popularis) เป็นกลุ่มแยกการเมืองช่วงปลายสาธารณรัฐโรมันที่ถือฝ่ายพลีเบียน (สามัญชน)

ปอปปูเลรีสอุบัติในช่วงการปฏิรูปของพี่น้องแกรคคัส ผู้ดำรงตำแหน่งผู้แทนสภาสามัญช่วง 133 และ 121 ปีก่อนคริสตกาล แม้พี่น้องแกรคคัสจะมาจากชนชั้นสูงเนื่องจากเป็นหลานของสกีปิโอ แอฟริกานุส กงสุลโรมันและแม่ทัพในสงครามพิวนิกครั้งที่สอง แต่พวกเขาให้ความสนใจชาวเมืองที่ยากจน พี่น้องแกรคคัสพยายามผลักดันหลายนโยบายเพื่อบรรเทาปัญหาสังคม เช่น ส่งออกและกระจายธัญพืชให้ประชาชน จัดตั้งเมืองใหม่ และจัดสรรที่ดินของรัฐ นอกจากนี้ยังพยายามร่างกฎหมายมอบความเป็นพลเมืองโรมันแก่โซชิไอ กลุ่มชนอิตาลิกที่เป็นพันธมิตรกับโรม รวมถึงปฏิรูปอำนาจตุลาการเพื่อแก้ปัญหาทุจริต

ต่อมาพี่น้องแกรคคัสถูกสังหารโดยกลุ่มออปติเมตส์ ปรปักษ์สายอนุรักษนิยมที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของอภิชนที่ผูกขาดที่นั่งในวุฒิสภาโรมัน ลูกิอุส แอปปูเลอุส แซเทอร์นินุส และปูบลิอุส เกลาดิอุส ปุลเชอร์ ผู้แทนสภาสามัญจึงใช้การออกเสียงประชามติเพื่อหลบเลี่ยงสมาชิกวุฒิสภาในการผ่านนโยบายของพี่น้องแกรคคัส แต่ท้ายที่สุดพวกเขาถูกสังหารเช่นกัน อย่างไรก็ตามนักการเมืองยุคหลังหลายคนแสดงตนเป็นฝ่ายปอปปูเลรีสเพื่อเรียกความนิยม เช่น จูเลียส ซีซาร์ และอ็อกตาเวียน (ต่อมาเป็นจักรพรรดิเอากุสตุส)

ปอปปูเลรีสจำนวนหนึ่งมีชาติกำเนิดเป็นแพทริเซียน เช่น แอปปิอุส เกลาดิอุส ปุลเชอร์, ลูกิอุส กอร์เนลิอุส กินนา และจูเลียส ซีซาร์ กลุ่มนี้ยังเป็นพันธมิตรกับนักการเมืองที่สถานะต่ำกว่า โดยเฉพาะนอวุสฮอมอ เช่น กาอิอุส มาริอุส และกาอิอุส นอร์บานุส

ประวัติ[แก้]

สภาสามัญโรมันแย่งชิงอำนาจกับวุฒิสภาโรมันช่วงการปฏิรูปพี่น้องแกรคคัส โดยกลุ่มออปติเมตส์เป็นแกนนำฝ่ายวุฒิสภา ขณะที่สภาสามัญมีนักการเมืองกลุ่มปอปปูเลรีสหนุนหลัง เช่น กาอิอุส มาริอุส และจูเลียส ซีซาร์ ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายมีบทบาทในสงครามกลางเมืองปลายยุคสาธารณรัฐ เช่น สงครามกลางเมืองซัลลาครั้งที่หนึ่ง (88–87 ปีก่อนคริสตกาล), สงครามกลางเมืองซัลลาครั้งที่สอง (83–81 ปีก่อนคริสตกาล), สงครามเซอร์ทอเรียน (80–72 ปีก่อนคริสตกาล), สงครามกลางเมืองซีซาร์ (49–45 ปีก่อนคริสตกาล) และสงครามกลางเมืองผู้ปลดปล่อย (44–42 ปีก่อนคริสตกาล)

ปอปปูเลรีสขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจสี่ช่วง ช่วงที่หนึ่งคือพี่น้องแกรคคัสขับเคลื่อนนโยบายเพื่อพลีเบียนเมื่อ 133 ปีก่อนคริสตกาล และ 122 ปีก่อนคริสตกาล[1] ครั้งที่สองคือกาอิอุส มาริอุสและบุตรชาย กาอิอุส มาริอุสผู้เยาว์ยึดอำนาจและปกครองโรมระหว่าง 87 ปีก่อนคริสตกาลถึง 82 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนเกิดสงครามกลางเมืองซัลลาครั้งที่สอง[2] ครั้งที่สามคือจูเลียส ซีซาร์ดำรงตำแหน่งกงสุลเมื่อ 59 ปีก่อนคริสตกาล ด้วยการสนับสนุนจากปอมปีย์และมาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุส สองสมาชิกคณะสามผู้นำที่หนึ่งซึ่งมีซีซาร์ร่วมด้วย[3] และครั้งที่สี่คือสงครามกลางเมืองซีซาร์ที่ซีซาร์ปกครองโรมตั้งแต่ 49 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารใน 44 ปีก่อนคริสตกาล[4][5]

ตัวอย่างสมาชิก[แก้]

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. de Ligt, Luuk and Northwood, Simon J. People, Land, and Politics: Demographic Developments and the Transformation of Roman Italy 300 BC-AD 14 (2008). Leiden. Brill NV.
  2. Santangelo, Federico (2007). Sulla, the Elites and the Empire a Study of Roman Policies in Italy and the Greek east. Brill Leiden. pp. 18–23.
  3. Sheppard, P. (producer). (2010). Rome: Part Two: From the Late Republic to the Fall of the Roman Empire: 121 BC to 476 AD (2010, audio video file). Phil Sheppard Productions. Retrieved from World History in video database.
  4. Pelling, Christopher. "Plutarch and Roman Politics" in Past Perspectives: Studies in Greek and Roman Historical Writing. Papers Presented at a Conference in Leeds, 6–8 April 1983 (Cambridge University Press, 1986). pp. 159–16, 165–169.
  5. Plutarch (Parallel Lives, the Life of Caesar) is very concerned to explain Julius Caesar's rise to tyranny. From the beginning, Caesar is the champion and the favorite of the Roman demos. When they support him, he rises, but when he loses their favor he falls too.