ข้ามไปเนื้อหา

ปลาไม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไม้
ปลาไม้
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม木魚
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต ཤིང་ཉ།
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือ
จื๋อโนม
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
목어
ฮันจา
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ木魚
คานะもくぎょ
การถอดเสียง
เฮ็ปเบิร์นปรับปรุงmokugyo
ชื่อภาษาแมนจู
อักษรแมนจู ᡨᠣᡴᠰᡳᡨᡠ
อักษรโรมันtoksitu

ปลาไม้ หรือ มู่-ยฺหวี (จีน: 木魚; พินอิน: mùyú) เป็นเครื่องกระทบไม้ชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ใช้ในฐานะเครื่องประกอบจังหวะโดยพระภิกษุหรือฆราวาสในศาสนาพุทธนิกายมหายาน[1][2][3][4] ปลาไม้ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาพุทธในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และประเทศในทวีปเอเชียอื่น ๆ

ปลาไม้มักใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดพระสูตร มนต์ หรือปกรณ์อื่น ๆ ในนิกายฉาน ปลาไม้ใช้เพื่อรักษาจังหวะระหว่างการสวดมนต์ ในนิกายสุขาวดี ปลาไม้ใช้ระหว่างการสวดพระนามพระอมิตาภพุทธะ

ปลาไม้มีหลากหลายขนาดและรูปร่าง มีตั้งแต่ขนาด 150 มิลลิเมตร (5.9 นิ้ว) สำหรับใช้โดยฆราวาสหรือใช้ปฏิบัติธรรมประจำวันด้วยตนเอง ไปจนถึงขนาด 1.2 เมตร (3.9 ฟุต) สำหรับใช้ในวัด ปลาไม้มักวางอยู่ทางด้านซ้ายของแท่นบูชา (ในวัดจีน) ข้าง ๆ กับระฆังหงายซึ่งเป็นเครื่องกระทบโลหะ ปลาไม้มักวางอยู่บนเบาะปักลายขนาดเล็กเพื่อป้องกันเสียงเคาะไม่พึงประสงค์จากการที่ปลาไม้วางอยู่บนพื้นผิวของโต๊ะแข็งหรือพื้นแข็ง รวมถึงป้องกันไม่ให้ปลาไม้เสียหายด้วย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Beck, John H. (2007). Encyclopedia of Percussion (2nd ed.). New York: Routledge. p. 60. ISBN 978-0-415-97123-2. OCLC 71632274.
  2. Blades, James (1992). Percussion Instruments and Their History. Westport: Bold Strummer. p. 115. ISBN 9780933224612.
  3. Adato, Joseph; Judy, George (1985). The Percussionist's Dictionary: Translations, Descriptions and Photographs of Percussion Instruments from Around the World. Alfred Music Publishing. p. 12. ISBN 9781457493829.
  4. Museum, National Palace (2013-06-01). "Origins and Developments of the Lingnan School of Painting_Monk and Wooden Fish Drum". National Palace Museum (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.[ลิงก์เสีย]