ข้ามไปเนื้อหา

ปลาโลมาน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาโลมาน้อย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Osteoglossiformes
วงศ์: Mormyridae
สกุล: Mormyrus
สปีชีส์: M.  kannume
ชื่อทวินาม
Mormyrus kannume
Forsskål, 1775
ชื่อพ้อง
  • Mormyrus bachiqua
  • Mormyrus hildebrandi
  • Mormyrus nacra
  • Mormyrus oxyrhynchus
  • Murmyrous kannume

ปลาโลมาน้อย หรือ ปลาโลมาน้ำจืด หรือ ปลางวงช้างจมูกสั้น (อังกฤษ: Elephant-snout fish, Dolphin mormyrid, Bottlenose mormyrid) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mormyrus kannume อยู่ในวงศ์ปลางวงช้าง (Mormyridae)

มีรูปร่างเรียวยาว มีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำอมน้ำเงิน ตามีขนาดเล็กมาก มีลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนจมูกหรือจะงอยปากจะทู่สั้นกว่าปลาจำพวกเดียวกันสกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน โดยที่ยังเป็นปลาวัยอ่อนส่วนจมูกจะสั้นและหนามากจนแทบมองไม่เห็น แต่จะยาวขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปลาโตขึ้น แต่รูปร่างจะผอมเพรียว แต่ก็ยังสั้นและหนาอยู่ดี โดยที่ปากมีขนาดเล็กและอยู่สุดปลายของจะงอยปากที่งองุ้มลงด้านล่าง ครีบหลังยาวติดต่อกันจนถึงโคนครีบหาง โคนครีบหางยาว ครีบหางยาวแยกเป็น 2 แฉก

มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร นับว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยใช้กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ที่ปล่อยออกมาช่วยนำทางแทนตาซึ่งใช้การได้ไม่ดี กินอาหารจำพวก ไส้เดือนน้ำหรือหนอนแดงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ รวมถึงปลาหมอสีที่มีอยู่ดาษดื่นในถิ่นที่อยู่ ในเวลากลางคืน โดยอาจจะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ออกล่าอาหารร่วมกัน[2] พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบวิกตอเรีย, ทะเลสาบคโยกา, ทะเลสาบมาลาวี, ทะเลสาบแทนกันยีกา, ลุ่มแม่น้ำไนล์ และแม่น้ำอติ ในประเทศเคนยา

เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ก้าวร้าวต่างกับปลาขนาดใหญ่ชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน อีกทั้งยังมีพฤติกรรมชอบเคลื่อนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ในที่เลี้ยงด้วยการใช้ส่วนหัวดัน หรือเล่นลูกบอลที่ลอยเหนือน้ำได้ด้วย และเชื่องกับผู้เลี้ยงได้เมื่อคุ้นเคยกันดีแล้ว ซึ่งพฤติกรรมการแสดงออกที่แสนรู้เช่นนี้ประกอบกับส่วนหัวที่แลดูคล้ายโลมา ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกขานกัน [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก IUCN
  2. "Planet Earth 19 ธันวาคม 2558 พิภพโลก ตอนที่ 3". นาว 26. 19 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 10 January 2016. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. "Mormyrus kannume โลมาไซส์มินิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-22. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]