ปลาโรซี่บาร์บ
ปลาโรซี่บาร์บ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน Cypriniformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae |
วงศ์ย่อย: | ปลาบาร์บ Barbinae |
สกุล: | สกุลเพเธีย Pethia (F. Hamilton, 1822) |
สปีชีส์: | Pethia conchonius |
ชื่อทวินาม | |
Pethia conchonius (F. Hamilton, 1822) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาโรซี่บาร์บ (อังกฤษ: Rosy barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pethia conchonius) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้ จากอัฟกานิสถานถึงบังกลาเทศ[2][3]
มีลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีแดงอมส้ม แผ่นหลังสีเขียวมะกอก เกล็ดมีขนาดเล็กเป็นมันแวววาวระยิบระยับ ลำตัวบริเวณใกล้โคนหางมีจุดสีดำอยู่ ข้างละ 1 จุด เพศผู้จะมีสีแดงเข้มและหางยื่นยาวกว่าเพศเมีย
จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 14 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เซนติเมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย บริเวณรัฐอัสสัมและรัฐเบงกอล
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาเสือสุมาตรา (Puntigrus tetrazona), ปลาเสือข้างลาย (P. partipentazona) เป็นต้น[4] สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงเช่นเดียวกับปลาวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ โดยปลาจะมีพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นหมู่ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง โดยจะวางไข่ติดกับพืชไม้น้ำหรือสาหร่าย ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนมีสีสันสวยงามกว่าปลาที่พบในธรรมชาติ และมีครีบต่าง ๆ ที่ยาวกว่าเพื่อเพิ่มความสวยงามอีกด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dahanukar, N. 2010. Pethia conchonius. In: IUCN 2012. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 3 May 2013.
- ↑ Pethiyagoda, R., Meegaskumbura, M. & Maduwage, K. (2012): A synopsis of the South Asian fishes referred to Puntius (Pisces: Cyprinidae). เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ichthyological Exploration of Freshwaters, 23 (1): 69-95.
- ↑ Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2013). "Pethia conchonius" in FishBase. April 2013 version.
- ↑ ปลาโรซี่บาร์บ
- ↑ ปลาโรซี่บาร์บหัวตะกั่ว