ปลาอ้ายอ้าว
ปลาอ้ายอ้าว | |
---|---|
ฝูงปลาซิวอ้าว ชนิด L. bleekeri ที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ บึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
วงศ์ย่อย: | Danioninae |
สกุล: | Luciosoma Bleeker, 1822 |
ชนิด | |
|
ปลาอ้ายอ้าว หรือ ปลาซิวอ้าว หรือ ปลาซิวควาย (อังกฤษ: Apollo sharks) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Luciosoma (/ลิว-ซิ-โอ-โซ-มา/)
มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวคล้ายแท่งดินสอ ไม่มีเข็มก้านครีบแรก มีก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ก้านครีบก้นมี 6 ก้านครีบ ปากกว้างโดยที่มุมปากยื่นยาวไปจนอยู่ในระดับใต้ตา ครีบหลังอยู่ในส่วนครึ่งหลังของลำตัว มีจุดเด่นคือ มีลายแถบสีดำข้างลำตัว ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด ขนาดโดยเฉลี่ย โตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร
เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารโดยล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะชวา[1]
พบด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่[2]
- Luciosoma bleekeri (Steindachner, 1878)–เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด
- Luciosoma pellegrinii Popta, 1905
- Luciosoma setigerum (Valenciennes, 1842)
- Luciosoma spilopleura Bleeker, 1855
- Luciosoma trinema (Bleeker, 1852)
นิยมบริโภคกันเป็นปลาที่ใช้บริโภคในท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 104. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ "Luciosoma". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Luciosoma ที่วิกิสปีชีส์