ปลาอะโรวาน่าเอเชีย
Scleropages | |
---|---|
Scleropages jardinii | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | อันดับปลาลิ้นกระดูก Osteoglossiformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะพัด Osteoglossidae |
สกุล: | ปลาอะโรวาน่าเอเชีย Scleropages Günther, 1864 |
ชนิดต้นแบบ | |
Scleropages leichardti Günther, 1864 |
ปลาอะโรวาน่าเอเชีย หรือ ปลาตะพัดเอเชีย (อังกฤษ: Asian arowana) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในสกุล Scleropages (/สะ-เคอ-โอ-พา-กิส/) ในวงศ์ Osteoglossidae พบในทวีปเอเชียและทวีปออสเตรเลีย[1]
ถือเป็นปลาโบราณที่สืบเผ่าพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีลักษณะรูปร่างไม่ต่างจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการแยกออกจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนต้น[2]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า Scleropages มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "σκληρός" (skleros) หมายถึง "หนัก" หรือ "ยาก, ลำบาก" และ pages สันนิษฐานว่ามาจากรากศัพท์ละติน หมายถึง "ใบไม้" หมายถึง ลักษณะของเกล็ดบนลำตัวปลาที่มีขนาดใหญ่[3]
ลักษณะและพฤติกรรม
[แก้]เป็นปลาที่มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่เป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม ครีบทุกครีบแหลมยาวโดยเฉพาะครีบอก และฉีกขาดได้ง่ายมาก มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร หนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อซึ่งอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง, สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร
มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว หรือไม่ก็จับกลุ่มเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 3-5 ตัว ในป่าดิบชื้นที่มีน้ำใสสะอาด และในบางแหล่งที่มีสภาพความเป็นกรดของน้ำ (pH) ค่อนข้างสูง เช่น ป่าพรุ
พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลียบริเวณรัฐควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีเท่านั้น
เป็นปลาที่มีสีสันหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและพันธุกรรม ซึ่งมีทั้ง สีเงิน, สีเขียว, สีแดง, สีส้ม หรือเหลือบสีต่าง ๆ เหล่านี้ในเกล็ด โดยเฉพาะในชนิด S. formosus
การจำแนก
[แก้]ปัจจุบันมีชนิดที่ได้รับการยอมรับในสกุลนี้ 4 ชนิด:
ภาพ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อสามัญ | ที่อยู่อาศัย |
---|---|---|---|
Scleropages formosus (S. Müller & Schlegel, 1840) | Asian bonytongue; green arowana,[4] Asian arowana | ไทย กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู | |
Scleropages inscriptus T. R. Roberts, 2012 [5] | Myanmar bonytongue, Scripted arowana, inscriptus arowana | พม่า | |
Scleropages jardinii (Saville-Kent, 1892) | Australian bonytongue, northern barramundi, Jardini arowana | ระบบระบายน้ำอ่าวคาร์เพนแทเรีย ทางตะวันตกของแม่น้ำแอดิเลดในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ทั่วรัฐควีนส์แลนด์ตอนเหนือ และในนิวกินี | |
Scleropages leichardti Günther, 1864 | Spotted bonytongue/Saratoga[6] | ระบบแม่น้ำฟิตซ์รอย ประเทศออสเตรเลีย |
วิวัฒนาการชาติพันธุ์
[แก้]ตารางวิวัฒนาการชาติพันธุ์อิงจากผลงานของ Pouyaud, Sudarto & Teugels 2003[7]
Osteoglossidae |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การแพร่พันธุ์และสถานะ
[แก้]พฤติกรรมเมื่อเวลาผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่กัน เมื่อได้เวลาที่ปลาตัวเมียจะออกไข่ ปลาตัวผู้จะว่ายเข้าไปผสมน้ำเชื้อ ไข่มีลักษณะเป็นลูกกลมสีส้ม ไข่ไม่จับตัวกัน ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่โดยอมไว้ในปากจนกระทั่งฟักเป็นตัว ปริมาณในการวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 40-100 ฟอง ซึ่งอายุของปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้นั้นอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ปี ลูกปลาเมื่อแรกเกิดจะยังว่ายน้ำไม่ได้ และมีถุงไข่แดงติดออกมา ซึ่งถุงไข่แดงนี้จะยุบลงในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ พร้อมกับลูกปลาที่เริ่มจะว่ายน้ำได้แล้วและเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ
ปลาในสกุลนี้ ทุกชนิดเป็นปลาที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว โดยมีชื่อติดอยู่ในรายชื่อบัญชีของ CITES ในบัญชีที่ 1 (Appendix I) ซึ่งผู้ที่เลี้ยง, ค้าขายหรือครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากทางการของแต่ละประเทศซะก่อน
ปัจจุบัน มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในหลายประเทศ จนกลายเป็นอุตสาหกรรมอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เช่น อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย[8]
อนึ่ง ปลาชนิด S. formosus ซึ่งมีสีสันที่หลากหลายนั้นได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นหลายชนิดในปี ค.ศ. 2003 แต่ทว่าชื่อวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังไม่ค่อยใช้แพร่หลายใช้กันเท่าใดนัก ได้แก่ S. aureus, S. legendrei และ S. macrocephalus[9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2016). Species of Scleropages in FishBase. October 2016 version.
- ↑ Kumazawa, Yoshinori (2003). "The reason the freshwater fish arowana live across the sea". Quarterly Journal Biohistory (Winter). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2006-07-02.
{{cite journal}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Tyson R. Roberts (2012). "Scleropages inscriptus, a new fish species from the Tananthayi or Tenasserim River basin, Malay Peninsula of Myanmar (Osteoglossidae: Osteoglossiformes)". Aqua. 18 (2): 113–118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2016-02-22.
- ↑ van Oijen, M.J.P.; van der Meij, S.E.T. (2013). "The types of Osteoglossum formosum Müller & Schlegel, 1840 (Teleostei, Osteoglossidae)" (PDF). Zootaxa. 3722 (3): 361–371. doi:10.11646/zootaxa.3722.3.5. PMID 26171532.
- ↑ Roberts, T.R. (2012): Scleropages inscriptus, a new fish species from the Tananthayi or Tenasserim River basin, Malay Peninsula of Myanmar (Osteoglossidae: Osteoglossiformes). เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน aqua, International Journal of Ichthyology, 18 (2): 113-118.
- ↑ Pusey, B.J.; Fisher, C.; Maclaine, J. (2016). "On the nature of Scleropages leichardti Günther, 1864 (Pisces: Osteoglossidae)". Zootaxa. 4173 (1): 75–84. doi:10.11646/zootaxa.4173.1.7. PMID 27701205.
- ↑ Pouyaud, L.; Sudarto; Teugels, G.G. (2003). "The different colour varieties of the Asian arowana Scleropages formosus (Osteoglossidae) are distinct species: morphologic and genetic evidences". Cybium. 27 (4): 287–305.
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 8-13. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ Pouyaud, L. , Sudarto & G.G. Teugels 2003: The different colour varieties of the Asian arowana Scleropages formosus (Osteoglossidae) are distinct species: morphologic and genetic evidences. Cybium, 27(4): 287-305.