ปลาหางแข็งบั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาหางแข็งบั้ง
ภาพวาดปลาหางแข็งบั้ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Carangidae
สกุล: Atule
Jordan & Jordan, 1922
สปีชีส์: A.  mate
ชื่อทวินาม
Atule mate
(Cuvier, 1833)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Caranx mate,
    Cuvier, 1833
  • Alepes mate,
    (Cuvier, 1833)
  • Caranx xanthurus,
    Cuvier, 1833
  • Caranx affinis,
    Rüppell, 1836
  • Selar affinis,
    (Rüppell, 1836)
  • Selar hasseltii,
    Bleeker, 1851
  • Caranx hasseltii,
    (Bleeker, 1851)
  • Carangus politus,
    Jenkins, 1903
  • Decapterus politus,
    (Jenkins, 1903)
  • Decapterus lundini,
    Jordan & Seale, 1906
  • Decapterus normani,
    Bertin & Dollfus, 1948

ปลาหางแข็งบั้ง หรือ ปลาสีกุนกบ[1] (อังกฤษ: Yellowtail scad, Banded crevalle, Deep trevally; ชื่อวิทยาศาสตร์: Atule mate) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae)

จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Atule [2]

มีลำตัวยาว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากยาวและแหลม นัยน์ตาโตมีเยื่อไขมันหุ้มอยู่ ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเล็ก บนขากรรไกร เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวแข็ง โดยเฉพาะส่วนหางดูเป็นสันแข็งกว่าส่วนอื่น ๆ ครีบหลังมีสองอัน แยกเป็นอิสระจากกัน อันแรกเป็นรูปสามเหลี่ยม อันที่สองตอนหน้าสูงแหลม ตอนท้ายสุดจรดโคนหาง ครีบก้นยาวปลายจรดโคนหาง เช่นกัน ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว ช่วงท้องสีขาว มีแถบสีเทาจาง ๆ พาดตัวลายใหญ่บ้างเล็กบ้างสลับกัน ครีบต่าง ๆ มีสีเหลือง

มีความยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ยที่พบ คือ 15-26 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งและน้ำกร่อยอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ทะเลแดง, หมู่เกาะฮาวาย, แอฟริกา, ซามัว, ตอนเหนือของญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี จึงนิยมแปรรูปเป็นปลาเค็ม, ปลากระป๋อง เป็นต้น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ปลาที่พบในจังหวัดสงขลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21.
  2. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  3. ปลาหางแข็งบั้ง[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]