ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Acipenseriformes
วงศ์: Acipenseridae
สกุล: Acipenser
สปีชีส์: A.  baerii
ชื่อทวินาม
Acipenser baerii
(Brandt, 1869)
ชนิดย่อย
  • A. b. baicalensis
  • A. b. stenorrhynchus
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (อังกฤษ: Siberian sturgeon) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acipenser baerii ในวงศ์ Acipenseridae มีรูปร่างเหมือนปลาสเตอร์เจียนทั่วไป มีจะงอยปากขาว มีหนวด 4 เส้น ที่หน้าปากด้านหลังมีสีน้ำตาลเทาจนถึงดำ สีท้องมีสีขาวจนถึงเหลือง พบในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในลุ่มแม่น้ำของไซบีเรีย ในรัสเซีย, คาซัคสถาน และจีน

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 200 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม สามารถมีอายุยืนได้ถึง 60 ปี

มีชนิดย่อยทั้งหมด 2 ชนิด คือ A. b. baicalensis พบในทะเลสาบไบคาล (มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า สเตอร์เจียนไบคาล) และ A. b. stenorrhynchus

ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย นับเป็นปลาสเตอร์เจียนชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมจับเพื่อการพาณิชย์เพื่อการบริโภคมาก โดยนิยมรับประทาน ไข่ปลาคาเวียร์ และนำไข่ปลาคาเวียร์นี้ไปทำเป็นเครื่องสำอาง สำหรับในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิดนี้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี [2]โดยทำการเพาะฟักจากไข่ปลาที่นำเข้ามาจากรัสเซีย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 พบว่ามีอัตรารอดสูงถึงร้อยละ 90 เพราะเป็นสถานที่ ๆ มีอากาศหนาวเย็น โดยปลาจะเติบโตได้ดีในอุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส และพบว่าปลาที่จะให้ไข่ ต้องมีความสมบูรณ์และเติบโตจนกระทั่งอายุได้ 10 ปี โดยจะให้ไข่เพียงร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัว มีระยะเวลาห่างของการให้ไข่แต่ละครั้ง 2 ปี[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ruban, G. & Bin Zhu (2010). "Acipenser baerii". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 24 October 2009.
  2. "นำ "สเตอร์เจียน" จากรัสเซีย เลี้ยงเติบโตได้ดีที่อินทนนท์". คมชัดลึก. 20 November 2008. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
  3. "เกษตรน่ารู้ : ไข่ปลาปลาสเตอร์เจียน". ช่อง 7. 28 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]