ปลาสเตอร์เจียนยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาสเตอร์เจียนยุโรป
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Acipenseriformes
วงศ์: Acipenseridae
สกุล: Acipenser
สปีชีส์: A.  sturio
ชื่อทวินาม
Acipenser sturio
Linnaeus, 1758

ปลาสเตอร์เจียนยุโรป หรือ ปลาสเตอร์เจียนธรรมดา (อังกฤษ: Baltic sturgeon, common sturgeon, European sturgeon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Acipenser sturio) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสเตอร์เจียน (Acipenseridae)

มีรูปร่างหนาตัวยาวเรียว มีเกล็ดซึ่งเรียงกันเป็นหนามอยู่ 5 แถวทำให้ลำตัวเป็นเหลี่ยม ส่วนหัวขนาดใหญ่ค่อนข้างยาวแบนลง ส่วนปลายสุดค่อน ข้างแหลมงอนขึ้นเล็กน้อย มีลักษณะคล้ายพลั่วตักดิน ตามีขนาดเล็กสีดำกลมกลืนกับ สีลำตัวที่ด้านหน้าตอนใต้ของตามีช่องเปิด 2 ช่อง ช่วยในการหายใจ และดมกลิ่น ปาก อยู่ด้านใต้ที่ส่วนหน้าของปากมีหนวด 4 เส้น ซึ่งเป็นประสาทสัมผัสที่ไวมาก ปากสามารถ ยืดหดออกมาเพื่อดูดอาหาร มีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางโคนหางมีขนาดเล็ก หน้าครีบหลังมีแถวหนามเรียงกัน โดยเริ่มตั้งแต่ด้านหลังส่วนหัวเป็นต้นไป ครีบหางเป็นแฉกเว้ายาวไม่เท่ากัน ครีบหางตอนบนจะยื่นยาวออกไปมากกว่าครีบหางตอนล่าง ซึ่งสั้นมากลักษณะคล้ายหางของปลาฉลาม ครีบท้องและครีบก้นอยู่ค่อนมาทางตอน ท้ายของลำตัว สีลำตัวเป็นสีเทาเข้ม หรือสีดำ ส่วนใต้ท้องมีสีขาวจาง

มีความยาวโดยเฉลี่ย 1–2 เมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 3.5 เมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 150 กิโลกรัม พบหนักที่สุดถึง 315 กิโลกรัม อายุเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในตัวเมียอยู่ที่ 16–18 ปี ขณะที่ตัวผู้อยู่ที่ 12–14 ปี มีอายุยืนได้ถึง 40 ปี

พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสาบ, แม่น้ำ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ยกเว้นทะเลดำ

ปลาสเตอร์เจียนยุโรป เป็นปลาสเตอร์เจียนชนิดที่นิยมบริโภคและนำไข่ทำคาเวียร์ มากที่สุด อีกทั้งลูกปลาขนาดเล็กยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย [2] [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. Burnie, David, ed. (2001), "European sturgeon", Animal, Dorling Kindersly, pp. 481
  3. "Atlantic sturgeon - Acipenser sturio (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acipenser sturio ที่วิกิสปีชีส์