ปลาสีกุนครีบยาว
สำหรับปลาผมนางสกุลอื่น ดูที่: ปลาผมนาง
สำหรับปลามงแซ่ชนิดอื่น ดูที่: ปลาจุยจินขาว
ปลาสีกุนครีบยาว | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidei |
วงศ์ใหญ่: | Percoidea |
วงศ์: | Carangidae |
สกุล: | Carangoides |
สปีชีส์: | C. hedlandensis |
ชื่อทวินาม | |
Carangoides hedlandensis (Whitley, 1934) | |
แผนที่การกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาสีกุนครีบยาว[1] หรือ ปลามงแซ่ หรือ ปลาผมนาง (อังกฤษ: Bumpnose trevally, Longfin trevally; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carangoides hedlandensis[2]) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae)
มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวโต หน้าสั้น สันหัวโค้งนูน นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางเล็กและสั้นมาก ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกมีขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมอันที่สองยาวมีปลายครีบอ่อนบางอันยืดยาวออกเป็นเส้นเดียวประมาณ 7 อัน คล้ายปลาผมนาง ครีบก้นส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนมีลักษณะเช่นเดียวกับครีบหลังอันที่สอง และมีหนามแหลมสั้น ๆ 2 อัน อยู่หน้าครีบก้น ครีบหูเรียวเป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดแข็งอยู่บริเวณโคนหางพื้นลำตัวสีขาว มีสีเหลืองอ่อนตามแนวเส้นข้างตัว ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกมีแถบสีดำเล็ก ๆ อยู่ข้างละแถบ ครีบหางสีเหลืองจัด ครีบอื่น ๆ สีน้ำตาลจาง ๆ เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 32 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก พบตั้งแต่แอฟริกาใต้จนถึงญี่ปุ่น และซามัว ด้านฝั่งตะวันออก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน
เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปลาที่พบในจังหวัดสงขลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 2.0 2.1 ผมนาง จากสนุกดอตคอม
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Carangoides hedlandensis ที่วิกิสปีชีส์