ปลาย่าดุก (สกุล)
ปลาย่าดุก | |
---|---|
ปลาย่าดุกตะวันออก (B. dubius) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Batrachoidiformes |
วงศ์: | Batrachoididae |
สกุล: | Batrachomoeus Ogilby, 1908 |
ชนิด | |
|
ปลาย่าดุก (อังกฤษ: Frogfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาคางคก (Batrachoididae) ใช้ชื่อสกุลว่า Batrachomoeus
มีลำตัวทรงกระบอก อ้วนป้อม หัวโต ปลายหัวมนกลม ลำตัวลู่ไปทางข้างหางจนถึงคอดหางซึ่งสั้นมาก ส่วนท้องกลม ปากกว้างมากเป็นรูปโค้ง ตามีขนาดเล็กหรือปานกลาง มีติ่งเนื้อสั้น ลักษณะเป็นเส้นหรือแบนเรียงเป็นแถวอยู่รอบขากรรไกรทั้งบนและล่าง มีติ่งเนื้อในแนวขอบกระดูกฝาเหงือกแผ่นหน้าและกระจายอยู่ทางด้านบนของหัวโดยเฉพาะที่ใกล้บริเวณขอบบนของตา แผ่นปิดเหงือกมีหนามแหลมและแข็งมาก บริเวณโคนครีบอกมีตุ่มเนื้อประปราย มีเส้นข้างตัว 1–2 เส้น ครีบหลังมี 2 ตอนแยกกัน ครีบก้นสั้น ครีบหางมีขอบกลมเป็นรูปพัด ครีบอกมีฐานกว้างตั้งอยู่ในแนวดิ่ง ครีบท้องตั้งอยู่ใต้ส่วนท้ายของหัวในแนวห่างจากหน้าครีบอก ตลอดหัวและลำตัว และครีบมีสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีคล้ำขะมุกขะมอมเป็นด่างเป็นดวงหรือลวดลายขวางไม่เป็นระเบียบ หนามและกระดูกแหลมบนหัวและครีบมีพิษ
เป็นปลาที่อาศัยอยู่เพียงลำพังตัวเดียว เป็นปลาที่อาศัยและมักอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่งหรือในพื้นที่น้ำจืดที่ไม่ไกลจากทะเลมากนัก เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน โดยซ่อนตัวอยู่ในรูหรือในวัสดุต่าง ๆ เพื่อดักรอเหยื่อ ที่ได้แก่ ปลาหรือสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยการฮุบกินไปทั้งตัว เป็นปลาที่เมื่อถูกจับพ้นน้ำแล้ว สามารถส่งเสียงร้องว่า "อุบ ๆ ๆ" ได้
การจำแนก
[แก้]- Batrachomoeus dahli (Rendahl, 1922)
- Batrachomoeus dubius (White, 1790)
- Batrachomoeus occidentalis Hutchins, 1976
- Batrachomoeus rubricephalus Hutchins, 1976
- Batrachomoeus trispinosus (Günther, 1861) [1]
เป็นปลาที่มักพบปะปนมากับปลาเป็ดที่นำมาทำเป็นปลาป่นสำหรับทำอาหารสัตว์ เป็นปลาที่มีความอดทน สามารถที่จะอยู่ในกองปลาเป็ดได้นาน ๆ โดยไม่ตาย และบางครั้งมีการวบรวมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[2]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Batrachomoeus ที่วิกิสปีชีส์