ปลาปล้องอ้อย (อเมริกาใต้)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาปล้องอ้อย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Characiformes
วงศ์: Anostomidae
สกุล: Leporinus
สปีชีส์: L.  fasciatus
ชื่อทวินาม
Leporinus fasciatus
(Bloch, 1794)
ชนิดย่อย
  • L. f. affinis Günther, 1864
  • L. f. fasciatus (Bloch, 1794)
ชื่อพ้อง[1]
ชื่อพ้อง
  • Chalceus fasciatus Bloch, 1794
  • Salmo fasciatus Bloch, 1794
  • Salmo timbure Natterer in Kner, 1859
  • Leporinus novem fasciatus Borodin, 1929

ปลาน้ำจืดที่เป็นปลาไทย ดูที่: ปลาปล้องอ้อย

ปลาดินสอที่มีขนาดเล็กกว่านี้ ดูที่: ปลาดินสอ

ปลาปล้องอ้อย หรือ ปลาดินสอ (อังกฤษ: Banded leporinus, Black-banded leporinus; ชื่อวิทยาศาสตร์: Leporinus fasciatus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ในวงศ์ปลาปล้องอ้อย (Anostomidae)

ปลาปล้องอ้อย มีรูปร่างกลมและเรียวยาวอย่างเห็นได้ชัดเจน มีจุดเด่น คือ มีลายสีดำพาดผ่านลำตัวในแนวตั้งเป็นปล้อง ๆ ราว 10 ปล้อง อันเป็นที่มาของชื่อเรียก บนพื้นลำตัวสีเหลืองสด

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร แพร่กระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและสาขา ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำลาพลาตา ในกายอานา เป็นต้น โดยเป็นปลาที่ชนพื้นเมืองใช้รับประทานเป็นอาหาร และถูกนำเข้าไปในสหรัฐอเมริกา ในรัฐฟลอริดาและฮาวาย[2] [3]

เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง จัดเป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สาหร่าย, ตะไคร่น้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ

เป็นปลาที่มีความสวยงาม แปลกตาชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยถือเป็นปลาที่มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร และมีความปราดเปรียวว่องไวมาก[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Leporinus fasciatus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  2. Check List of the Freshwater Fishes of South and Central America, Roberto E; Sven O. Kullander, Carl J. Ferraris (2003) ISBN 85-7430-361-5
  3. Nico, Leo; Pamela J. Schofield. "Leporinus fasciatus (Bloch)[ลิงก์เสีย]". Nonindigenous Aquatic Species. US Geological Survey. http://nas.er.usgs.gov/queries/FactSheet.aspx?speciesID=312.
  4. ปลาลีโปรินัส[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Leporinus fasciatus ที่วิกิสปีชีส์