ปลาบู่จักรพรรดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับปลาบู่จากที่เป็นปลากลับหัว ดูที่ ปลาบู่จาก

ปลาบู่จักรพรรดิ์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Gobiidae
สกุล: Glossogobius
สปีชีส์: G.  giuris
ชื่อทวินาม
Glossogobius giuris
(F. Hamilton, 1822)
ชื่อพ้อง[1]
  • Gobius giuris F. Hamilton, 1822
  • Acentrogobius giuris (F. Hamilton, 1822)
  • Glossogobius giuris giuris (F. Hamilton, 1822)
  • Gobius gutum F. Hamilton, 1822
  • Awaous gutum (F. Hamilton, 1822)
  • Gobius russelli Cuvier, 1829
  • Gobius catebus Valenciennes, 1837
  • Gobius kora Valenciennes, 1837
  • Gobius kurpah Sykes, 1839
  • Gobius phaiospilosoma Bleeker, 1849
  • Gobius sublitus Cantor, 1849
  • Gobius spectabilis Günther, 1861
  • Euctenogobius striatus F. Day, 1868
  • Gobius striatus (F. Day, 1868)
  • Gobius grandidieri Playfair, 1868
  • Glossogobius tenuiformis Fowler, 1934

ปลาบู่จักรพรรดิ์ หรือ ปลาบู่จาก หรือ ปลาบู่หิน[2] (อังกฤษ: Tank goby; ชื่อวิทยาศาสตร์: Glossogobius giuris[3]) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae)

มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาบู่ทราย แต่มีส่วนหัวแหลมกว่า ลำตัวทรงกระบอก ด้านท้ายของลำตัวแบนด้านข้าง ปากกว้าง ดวงตากลมโต ครีบท้องมี 2 อัน ครีบท้องเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ครีบหางปลายแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนหลังสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำขนาดใหญ่จำนวน 4-5 แถบ ขอบเกล็ดมีสีคล้ำจึงแลดูเป็นลายคล้ายตาข่ายหรือร่างแห ครีบต่าง ๆ ใส

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16-20 นิ้ว กระจายพันธุ์ในแถบน้ำกร่อยและน้ำจืดใกล้ชายฝั่งทะเลในแถบร้อนของทวีปเอเชียโดยทั่วไป ตั้งแต่ทะเลแดง จนถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก ตลอดจนเอเชียใต้จนถึงตอนใต้ของจีนและออสเตรเลีย พบทั้งในชายฝั่งทะเลมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย (โดยในประเทศไทยมีรายงานพบที่แม่น้ำสาละวิน ซึ่งอยู่ห่างไกลจากทะเลนับเป็นพัน ๆ กิโลเมตรด้วย[2]) เป็นปลาที่มีพฤติกรรมนอนนิ่ง ๆ กับพื้นตลอดทั้งวัน ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในป่าชายเลน ในส่วนที่มีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น ที่เป็นพื้นทราย เพื่อซุ่มล่าอาหาร ซึ่งอาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ มีพฤติกรรมการวางไข่ จะวางไข่ยึดติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ โดยพ่อปลาและแม่ปลาจะช่วยกันดูแลไข่จนฟักเป็นตัว

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเลี้ยงเติบโตได้เป็นอย่างในสภาพน้ำจืดสนิท[3] และยังใช้บริโภคกันในบางท้องถิ่นอีกด้วย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Larson, H. & Britz, R. 2012. Glossogobius giuris. In: IUCN 2013. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.1. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 24 August 2013.
  2. 2.0 2.1 "การศึกษาความหลากหลายของชนิดปลาในเขตลุมน้ำสาละวินในเขตพื้นที่ประเทศไทย" (PDF). มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 27 September 2010. สืบค้นเมื่อ 4 March 2014.
  3. 3.0 3.1 หน้า 118, Amphidromous Story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ, "Wild Ambition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 35 ปีที่ 3: พฤษภาคม 2013
  4. ดร.ชวลิต วิทยานนท์. ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 115 หน้า. หน้า 93. ISBN 9744726555

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Glossogobius giuris ที่วิกิสปีชีส์