ปลาตะเพียนลายมาเลย์
ปลาตะเพียนลายมาเลย์ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
Not evaluated (IUCN 3.1)
| |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Striuntius Kottelat, 2013 |
สปีชีส์: | S. lineatus |
ชื่อทวินาม | |
Striuntius lineatus (Duncker, 1904) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลาตะเพียนลายมาเลย์[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Striuntius lineatus) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Striuntius โดยเป็นสกุลใหม่ที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 2013 แทนที่สกุลเดิม คือ Puntius โดยคำว่า Striuntius มาจากภาษาละตินคำว่า "striatus" หมายถึง "ลาย" หรือ "ริ้ว" และคำว่า Puntius ซึ่งเป็นชื่อสกุลเดิม [1]
มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาตะเพียนลาย (Desmopuntius johorensis) ซึ่งเดิมเคยอยู่ร่วมสกุลเดียวกันมา แต่ม่ความแตกต่างกันคือ ปลาตะเพียนลายมาเลย์จะไม่มีหนวดที่มุมปาก[2] (แต่ก็พบมีบางตัวที่มี แต่ก็เป็นหนวดคู่หลังที่มีความยาวสั้นมาก) ขอบท้ายของริมฝีปากจะไม่ม้วนเข้า นอกจากนี้แล้วตามลำตัวมีลายตามยาว 4-6 แถบ โดยลายดังกล่าวจะพบได้ทุกช่วงวัย ไม่เหมือนกับปลาตะเพียนลายจะมีลายตามยาวเมื่อเป็นปลาวัยโตแล้ว มีก้านครีบแข็งที่ครีบหลัง มีขอบเป็นซี่จักร เกล็ดมีลักษณะเป็นท่อในแนวเส้นข้างลำตัวประมาณ 25-28 เกล็ด[3]
ปลาตะเพียนลายมาเลย์ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 5.3 เซนติเมตร (2.1 นิ้ว) พบในบึงน้ำหรือหนองน้ำที่มีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น และมีสภาพน้ำเป็นกรดอ่อน ๆ สีชาเช่น ป่าพรุ ในแหลมมลายู และอินโดนีเซีย เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเหมือนกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกัน[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Kottelat, M. (2013): The Fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.
- ↑ 2.0 2.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 148. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ 3.0 3.1 หน้า 70, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. นิตยสาร The FISH MAX ปีที่ 4 ฉบับที่ 55: กุมภาพันธ์ 2014
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Striuntius lineatus ที่วิกิสปีชีส์