ปลาตะกรับเจ็ดแถบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาตะกรับเจ็ดแถบ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Pomacentridae
สกุล: Abudefduf
สปีชีส์: A.  bengalensis
ชื่อทวินาม
Abudefduf bengalensis
(Bloch, 1787)
ชื่อพ้อง
  • Abudefduf palmeri (Ogilby, 1918)
  • Chaetodon abudafur hanni Forsskål, 1775
  • Chaetodon bengalensis Bloch, 1787
  • Glyphidodon affinis Günther, 1862
  • Glyphisodon palmeri Ogilby, 1918
  • Labrus macrogaster Lacépède, 1801[1]

ปลาตะกรับเจ็ดแถบ (อังกฤษ: Bengal sergent fish, Narrow-banded sergeant major; ชื่อวิทยาศาสตร์: Abudefduf bengalensis) เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae)

มีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับปลาตะกรับห้าแถบ (A. vaigiensis) เพียงแต่มีลายแถบสีคล้ำในแนวตั้งทั้งหมด 7 แถบ และมีสีสันที่คล้ำกว่า มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร

พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังและชายฝั่งในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง และรวมฝูงกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน เป็นปลาที่ไม่ตื่นกลัวมนุษย์ และมักจะเป็นปลาชนิดที่ว่ายเข้ามากินขนมปังที่มนุษย์โปรยให้เป็นอาหารตามทะเลหรือแหล่งท่องเที่ยวทั่วไป ร่วมกับปลาสลิดหินห้าแถบ

ปัจจุบัน เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว เช่นเดียวกับปลาสลิดหินห้าแถบ แต่ทว่าไม่สวยงามเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. ปลาทะเลที่เพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย ตอนจบ, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ หน้า 142 คอลัมน์ Blue Planet นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 22 ปีที่ 2: เมษายน 2012

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Abudefduf bengalensis ที่วิกิสปีชีส์