ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Malapteruridae
สกุล: Malapterurus
สปีชีส์: M.  electricus
ชื่อทวินาม
Malapterurus electricus
(Gmelin, 1789)
ชื่อพ้อง[1]
  • Silurus electricus Gmelin, 1789

ปลาดุกไฟฟ้าแอฟริกา (อังกฤษ: African electric catfish[1]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malapterurus electricus) ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Malapteruridae)

ลักษณะ[แก้]

มีรูปร่างอ้วนป้อม ลำตัวยาว ลำตัวสีน้ำตาลหรือสีเขียวมะกอกมีลวดลายสีดำคล้ำกระจายอยู่ทั่วลำตัว ใต้ท้องสีขาว ครีบทั้งหมดสั้น ส่วนหัวมีลักษณะมนกลม ช่องปากกว้าง ตามีขนาดเล็กมาก มีหนวดสามคู่อยู่รอบปากใช้สำหรับสัมผัสหาอาหาร ส่วนหางมีลายสีขาวคล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางครีบหาง และมีแถบสีดำสลับขวาพาดอยู่บริเวณคอดหางเห็นได้ชัดเจน

ความสามารถ[แก้]

สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 300 โวลต์ เพื่อป้องกันตัวและหาอาหาร พฤติกรรมเป็นปลาที่เคลื่อนไหวได้ช้าและมักจะกบดานอยู่นิ่ง ๆ ใต้พื้นท้องน้ำ มักหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ใต้น้ำหรือตามกอสาหร่าย ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา ถูกใช้เป็นอาหารบริโภคในท้องถิ่นมาเป็นเวลาช้านาน และยังมีความสำคัญนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก ซึ่งปลาดุกไฟฟ้าปากใหญ่จะพบมีขายในตลาดปลาสวยงามมากกว่าปลาดุกไฟฟ้าปากเล็ก (M. microstoma) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ว่าในสถานที่เลี้ยงจริง ๆ จะเติบโตได้ช้ากว่าปลาดุกไฟฟ้าปากเล็กมาก และมีขนาดเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร เท่านั้น[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Azeroual, A., Entsua-Mensah, M., Getahun, A., Lalèyè, P. & Kazembe, J. (2010). "Malapterurus electricus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.2. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์, โดย ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ คอลัมน์สัตว์สวย ป่างาม, เดลินิวส์: วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Malapterurus electricus ที่วิกิสปีชีส์