ปลาฉลามแนวปะการัง
ปลาฉลามแนวปะการัง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 45–0Ma[1] ยุคกลางไมโอซีนถึงปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับใหญ่: | Selachimorpha |
อันดับ: | Carcharhiniformes |
วงศ์: | Carcharhinidae |
สกุล: | Carcharhinus Blainville, 1816 |
ชนิดต้นแบบ | |
Carcharias melanopterus Quoy & Gaimard, 1824 | |
ชื่อพ้อง | |
ปลาฉลามแนวปะการัง หรือ ปลาฉลามปะการัง (อังกฤษ: Reef sharks, Requiem sharks) เป็นสกุลของปลาฉลามสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Carcharhinus (/คา-คา-ไร-นัส/)
เป็นปลาฉลามที่ว่ายหากินอยู่บริเวณผิวน้ำและตามแนวปะการังเป็นหลัก จึงมักเป็นปลาฉลามที่เป็นที่รู้จักดีและพบเห็นได้บ่อยที่สุดในทะเล จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ออสเตรเลียพบว่า ปลาฉลามกลุ่มนี้มีประโยชน์ในเชิงนิเวศวิทยา คือ ช่วยรักษาแนวปะการังและปะการังให้ดำรงยั่งยืนอยู่ได้ เนื่องจากเป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร จึงเป็นตัวควบคุมนักล่าระดับกลางที่กินปลาขนาดเล็กที่มีประโยชน์ต่อปะการัง และดูแลปะการังให้เจริญเติบโต โดยพบจากการศึกษาว่า น่านน้ำแถบเกรตแบร์ริเออร์รีฟ คือ แถบตะวันตกเฉียงเหนือมีจำนวนปลาฉลามกลุ่มนี้มากกว่าน่านน้ำแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ปะการังในแถบที่พบปลาฉลามกลุ่มนี้มากจะเจริญเติบโตมากขึ้นรวมถึงการฟื้นตัวจากภาวะปะการังฟอกขาวก็เร็วกว่าด้วย[2]
เป็นปลาฉลามที่ใช้เวลาอุ้มท้องนานประมาณ 8–12 เดือน มีลูกครั้งละ 10–40 ตัว ออกลูกเป็นตัว โดยอาจจะมีการกินกันเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ด้วยอายุอย่างน้อยที่สุด 4–5 ปี[3]
พบทั้งหมด 32 ชนิด โดยมี ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) เป็นชนิดต้นแบบ
การจำแนก
[แก้]- Carcharhinus acronotus (Poey, 1860)
- Carcharhinus albimarginatus (Rüppell, 1837)
- Carcharhinus altimus (Springer, 1950)
- Carcharhinus amblyrhynchoides (Whitley, 1934)
- Carcharhinus amblyrhynchos (Bleeker, 1856)
- Carcharhinus amboinensis (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus borneensis (Bleeker, 1858)
- Carcharhinus brachyurus (Günther, 1870)
- Carcharhinus brevipinna (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus cerdale Gilbert, 1898
- Carcharhinus cautus (Whitley, 1945)
- Carcharhinus dussumieri (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus falciformis (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus fitzroyensis (Whitley, 1943)
- Carcharhinus galapagensis (Snodgrass & Heller, 1905)
- Carcharhinus hemiodon (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus isodon (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus leiodon Garrick, 1985
- Carcharhinus leucas (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus limbatus (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus longimanus (Poey, 1861)
- Carcharhinus macloti (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus macrops Liu, 1983
- Carcharhinus melanopterus (Quoy & Gaimard, 1824)
- Carcharhinus obscurus (Lesueur, 1818)
- Carcharhinus perezii (Poey, 1876)
- Carcharhinus plumbeus (Nardo, 1827)
- Carcharhinus porosus (Ranzani, 1839)
- Carcharhinus sealei (Pietschmann, 1913)
- Carcharhinus signatus (Poey, 1868)
- Carcharhinus sorrah (Müller & Henle, 1839)
- Carcharhinus tilstoni (Whitley, 1950)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Carrier, J.C., J.A. Musick and M.R. Heithaus (2004). Biology of Sharks and Their Relatives. CRC Press. p. 52. ISBN 084931514X.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ หน้า 10 ต่างประเทศ, ฉลามช่วยคุ้มครองปะการัง. "กรุงเทพธุรกิจ กรุงเทพมอนิเตอร์". กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10533: วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
- ↑ จุดประกาย 2 โลก คน เมือง, หากพรุ่งนี้ไร้ฉลาม. "กรุงเทพธุรกิจ เล่ารอบตัว" โดย กตตน์ ตติปาณิเทพ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10533: วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
- ↑ "Carcharhinus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.