ปลาฉลามหัวค้อนหยัก
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก | |
---|---|
ปลาฉลามหัวค้อนหยักที่เกาะโกโกส คอสตาริกา | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Carcharhiniformes |
วงศ์: | Sphyrnidae |
สกุล: | Sphyrna |
สปีชีส์: | S. lewini |
ชื่อทวินาม | |
Sphyrna lewini (E. Griffith & C. H. Smith, 1834) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก หรือ ปลาฉลามหัวค้อนสั้น หรือ อ้ายแบ้หยัก หรือ อ้ายแบ้สั้น (อังกฤษ: scalloped hammerhead, squat-headed hammerhead, kidney-headed shark; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sphyrna lewini) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน (Sphyrnidae)
รูปร่างยาวเรียวคล้ายกับปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น ๆ มีลักษณะเด่น คือ ส่วนของหัวที่แผ่ออกแบนออกไปทั้งสองข้าง เป็นรูปค้อน นัยน์ตาอยู่ตรงบริเวณปลายส่วนที่แผ่ออกไปทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักลึกด้านหน้าสุดของหัวที่แตกต่างไปจากปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น มีเยื่อหุ้มนัยน์ตา ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ลักษณะคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว ครีบหลังมีขนาดใหญกว่าครีบอก พื้นลำตัวสีเทา หลังสีเทาปนน้ำตาล ท้องสีขาว ขอบครีบมีรอยแต้มสีดำที่ปลาย
มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาล่าเหยื่อที่สามารถกินสัตว์น้ำได้หมดแทบทุกอย่าง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 4.3 เมตร (14 ฟุต) น้ำหนักถึง 150 กิโลกรัม (330 ปอนด์) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณอยู่ที่ 50–100 เซนติเมตร จัดเป็นปลาฉลามหัวค้อนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยหากินตั้งแต่กลางน้ำจนถึงหน้าดิน มีรายงานว่าพบได้ในที่ที่ลึกถึง 500 เมตร ในบางครั้งอาจหากินเข้ามาถึงในแหล่งน้ำกร่อย
มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวาง ตั้งแต่ตลอดแนวชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง จนถึงอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย, ออสเตรเลีย สำหรับน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทย
การอนุรักษ์
[แก้]ใน พ.ศ. 2564 ฉลามหัวค้อนหยักได้รับการจัดสถานะในระดับ "เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์" โดย IUCN Red List[2] โดยอ้างถึงการทำประมงเกินขนาดและการบริโภค ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนประชากรฉลามหัวค้อนหยักลดลง[3] ฉลามหัวค้อนหยักถูกจับมากมีสาเหตุจากขนาดและมีครีบขนาดใหญ่ ซึ่งครีบของมันมี "ปริมาณเส้นหูฉลามสูง"[4]
ความพยายามในการอนุรักษ์ฉลามหัวค้อนหยัก (Sphyrna lewini) ได้แก่
- การใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมจากครีบที่ซื้อจากตลาดฮ่องกงเพื่อระบุตำแหน่งที่ถูกจับและติดตามระดับการจับฉลามหัวค้อนหยักในแต่ละน่านน้ำ[5]
- การปกป้องแหล่งอนุบาลตัวอ่อนในธรรมชาติ ฉลามหัวค้อนหยักมักกลับสู่แหล่งกำเนิดเดิมเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งลูกฉลามหัวค้อนหยักจะใช้ชีวิตปีแรกในพื้นที่อนุบาลริมชายฝั่งเหล่านี้ ก่อนที่พวกมันจะออกสู่ทะเลเปิด[6]
- เขตห้ามจับฉลามในพื้นที่เหล่านี้บางแห่ง เช่น คาบสมุทรยูกาตันตะวันตกในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพื่อปกป้องฉลามหัวค้อนที่มีอายุน้อย[7]
จากการศึกษาในบางส่วนของมหาสมุทรแอตแลนติกประชากรของพวกเขาลดลงกว่าร้อยละ 95 ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สาเหตุของการลดลงคือการทำประมงเกินขนาด และความต้องการหูฉลามที่เพิ่มขึ้น นักวิจัยระบุว่าการเพิ่มขึ้นของความต้องการหูฉลามซึ่งเป็นอาหารอันโอชะราคาแพง (เช่น ซุปหูฉลาม) และใน พ.ศ. 2551 ได้เรียกร้องให้มีการห้ามการตัดเฉพาะหูฉลาม (shark finning) ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในการตัดหูฉลามออกและโยนส่วนที่เหลือของฉลามกลับลงไปในทะเลให้ตาย
ฉลามหัวค้อนชนิดต่าง ๆ เป็นหนึ่งในปลาฉลามที่ถูกจับได้บ่อยที่สุดสำหรับการนำไปบริโภคครีบ (หูฉลาม)[8] เนื่องจาก "ฉลามหัวค้อนมีแนวโน้มรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ทำให้การจับเป็นจำนวนมากด้วยเบ็ดราว อวนลอยหน้าดิน และอวนลากทำได้ง่ายขึ้น"[9] ทั่วโลกปลาฉลามหัวค้อนถูกจับปลามากเกินไปเพราะครีบและน้ำมันตับของพวกมัน ในปี 2563 มีการประมาณจำนวนครีบที่ถูกจับตัดถึง 1.3–2.7 ล้านครีบในแต่ละปีจากฉลามหัวค้อนเรียบ (S. zygaena) และปลาฉลามหัวค้อนหยักเพื่อการค้าครีบฉลาม (หูฉลาม)[10]
ในวารสารเนเจอร์ เดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งศึกษาปลาฉลามและปลากระเบน 31 ชนิดพบว่า จำนวนสายพันธุ์เหล่านี้ที่พบในมหาสมุทรเปิดลดลงร้อยละ 71 ในรอบ 50 ปี ซึ่งปลาฉลามหัวค้อนหยักถูกรวมอยู่ในการศึกษา[11][12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rigby, C.L., Dulvy, N.K., Barreto, R., Carlson, J., Fernando, D., Fordham, S., Francis, M.P., Herman, K., Jabado, R.W., Liu, K.M., Marshall, A., Pacoureau, N., Romanov, E., Sherley, R.B. & Winker, H. (2019). "Sphyrna lewini". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2019: e.T39385A2918526.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "The IUCN Red List of Threatened Species". IUCN Red List of Threatened Species. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30.
- ↑ "The IUCN Red List of Threatened Species". IUCN Red List of Threatened Species. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30.
- ↑ Chapman, Demian D.; Pinhal, Danillo; Shivji, Mahmood S. (2009-12-01). "Tracking the fin trade: genetic stock identification in western Atlantic scalloped hammerhead sharks Sphyrna lewini". Endangered Species Research (ภาษาอังกฤษ). 9 (3): 221–228. doi:10.3354/esr00241. ISSN 1863-5407.
- ↑ Chapman, Demian D.; Pinhal, Danillo; Shivji, Mahmood S. (2009-12-01). "Tracking the fin trade: genetic stock identification in western Atlantic scalloped hammerhead sharks Sphyrna lewini". Endangered Species Research (ภาษาอังกฤษ). 9 (3): 221–228. doi:10.3354/esr00241. ISSN 1863-5407.
- ↑ Kinney, Michael John; Simpfendorfer, Colin Ashley (2009). "Reassessing the value of nursery areas to shark conservation and management". Conservation Letters (ภาษาอังกฤษ). 2 (2): 53–60. doi:10.1111/j.1755-263X.2008.00046.x. ISSN 1755-263X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
- ↑ Cuevas‐Gómez, Gabriela Alejandra; Pérez‐Jiménez, Juan Carlos; Méndez‐Loeza, Iván; Carrera‐Fernández, Maribel; Castillo‐Géniz, José Leonardo (2020). "Identification of a nursery area for the critically endangered hammerhead shark (Sphyrna lewini) amid intense fisheries in the southern Gulf of Mexico". Journal of Fish Biology (ภาษาอังกฤษ). 97 (4): 1087–1096. doi:10.1111/jfb.14471. ISSN 1095-8649. PMID 32691418.
- ↑ Savage, Sam (19 February 2008). "Hammerhead Shark Makes Endangered Species List". redorbit.com.
- ↑ "Sphyrna lewini". Florida Museum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 May 2017. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "Smooth Hammerhead Shark". Oceana (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
- ↑ Briggs, Helen (28 January 2021). "Extinction: 'Time is running out' to save sharks and rays". BBC News. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.
- ↑ Richardson, Holly (27 January 2021). "Shark, ray populations have declined by 'alarming' 70 per cent since 1970s, study finds". ABC News. Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.