ปลาขิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาขิ้ง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Chagunius
สปีชีส์: C.  baileyi
ชื่อทวินาม
Chagunius baileyi
Rainboth, 1986

ปลาขิ้ง หรือ ปลาขิ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chagunius baileyi) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวค่อนข้างโต ปากกว้างและริมฝีปากหนา มีหนวด 2 คู่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของส่วนหัว ส่วนแก้มกว้างทำให้ส่วนหัวดูค่อนข้างสูง เกล็ดมีขนาดเล็กหลุดง่าย มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 42-45 แถว ลำตัวสีเงินเจือชมพูอ่อน ๆ เหนือครีบอกมีแถบสีดำตามแนวตั้ง ครีบทุกครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ปลายครีบหางมีแต้มสีแดงปนส้มทั้ง 2 แฉก

มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินพืชน้ำและตะไคร่น้ำเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กในแหล่งน้ำไหล [1] พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า และแม่น้ำสาละวินซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Chagunius ที่พบได้ในประเทศไทย[2]

ค้นพบครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ที่ห้วยแม่ละเมา บ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่พิกัด 16°48’N, 98°44’E, โดยที่คำว่า Chagunius ดัดแปลงมาจากคำว่า "คากูนี (chaguni)" ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่เรียกปลาสกุลนี้ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย และ baileyi ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน รีฟ เอ็ม. ไบเลย์

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 195 หน้า. หน้า 139. ISBN 9744841486
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 57. ISBN 974-00-8701-9
  3. "Chagunius baileyi RAINBOTH, 1986". seriouslyfish.com. สืบค้นเมื่อ 21 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]