ปลาการ์ตูนลายปล้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาการ์ตูนลายปล้อง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Pomacentridae
วงศ์ย่อย: Amphiprioninae
สกุล: Amphiprion
สปีชีส์: A.  clarkii
ชื่อทวินาม
Amphiprion clarkii
Bennett, 1830
ชื่อพ้อง
  • Amphiprion boholensis
  • Amphiprion chrysargyrus
  • Amphiprion japonicus
  • Amphiprion melanostolus
  • Amphiprion papuensis
  • Amphiprion snyderi
  • Anthias clarkii
  • Sparus milii

ปลาการ์ตูนลายปล้อง หรือ ปลาการ์ตูนลายปล้องหน้าทอง (อังกฤษ: Clark's anemonefish, Yellowtail clownfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amphiprion clarkii) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง

มีสีสันบนลำตัวเมื่อยังเล็ก ด้านล่างจะเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม และด้านบนบริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงดำ เมื่อโตขึ้นสีดำนี้จะค่อย ๆ ลามลงมาเรื่อย ๆ ทางด้านท้องจนดำสนิททั้งตัว

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5.5 นิ้ว พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียจนถึง เมลานีเซีย, ไมโครนีเซีย, เกาะไต้หวัน, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, หมู่เกาะริวกิว และออสเตรเลีย ทางน่านน้ำไทย ไม่พบทางฝั่งอ่าวไทย แต่จะพบทางฝั่งอันดามัน

เป็นปลาการ์ตูนอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง แต่ปลาที่มีขายในตลาดปลาสวยงามส่วนใหญ่ในประเทศไทย ยังเป็นปลาที่จับมาจากแหล่งธรรมชาติจากต่างประเทศอยู่ เนื่องจากมีสีสันที่สวยและได้มาตรฐานกว่า อีกประการ คือ ปลาที่จับได้ในน่านน้ำไทยมักจะตายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากการกระบวนการจับที่ผิดวิธี [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ, ปลาทะเลสวยงาม ที่เพาะพันธุ์ได้ ในประเทศไทย คอลัมน์ Blue Planet หน้า 126 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 21: มีนาคม 2012

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]