ปลากัดอัลบิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากัดอัลบิ
ปลาตัวผู้ (ซ้าย), ตัวเมีย (ขวา)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Anabantiformes
วงศ์: Osphronemidae
สกุล: Betta
สปีชีส์: B.  albimarginata
ชื่อทวินาม
Betta albimarginata
Kottelat & Ng, 1994

ปลากัดอัลบิ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta albimarginata) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae)

จัดเป็นปลากัดประเภทอมไข่ มีรูปร่างยาว หัวมีขนาดใหญ่ มีจุดเด่น คือ สีตลอดทั้งลำตัวเป็นสีแดงเข้ม มีลักษณะคล้ายกับปลากัดชานอยเดส (B. channoides) ที่มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ปลากัดอัลบิ จะมีครีบหางที่มีแถบสีดำเต็มขอบหาง และครีบหลังจะมีแถบสีดำเป็นแต้มอยู่ด้านล่างขอบครีบหลังที่เป็นสีขาว อีกทั้งยังมีลำตัวสีแดงเข้มทึบกว่า

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30-35 มิลลิเมตร พบในแหล่งน้ำที่เป็นลำธารที่มีใบไม้ร่วงลงพื้นในป่าของจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก ในอินโดนีเซีย

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาซื้อขายแพง เนื่องจากเป็นปลากัดประเภทอมไข่ จึงสามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ แต่ปลากัดอัลบิมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าปลากัดอมไข่ชนิดอื่น ๆ พอสมควร โดยตัวผู้มักจะไล่กัดตัวเมีย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยปรับสภาพน้ำให้มีสภาพความเป็นกรดต่ำกว่าค่าความเป็นกลาง (pH ต่ำกว่า 7) ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอมไข่ไว้ในปาก เป็นเวลาประมาณ 12-14 วัน ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำได้เองภายใน 15-20 วัน[1] [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. มาเพาะพันธุ์ปลากัดชานอยเดชกันดีกว่า หน้า 57 คอลัมน์ Aqua Breeder , นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 13 ปีที่ 2: กรกฎาคม 2012
  2. ปลากัดอมไข่ โดย ภวพล: โลกวันนี้ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2489 ประจำวันพุธ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2009

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Betta albimarginata ที่วิกิสปีชีส์