ปลากะรังหน้างอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากะรังหน้างอน
ปลาขนาดใหญ่
เมื่อยังเล็ก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Serranidae
วงศ์ย่อย: Epinephelinae
สกุล: Cromileptes
Swainson, 1839
สปีชีส์: C.  altivelis
ชื่อทวินาม
Cromileptes altivelis
(Valenciennes, 1828)
ชื่อพ้อง
  • Cromilepis altivelis

ปลากะรังหน้างอน หรือ ปลากะรังหงส์ หรือ ปลาเก๋าหงส์ (อังกฤษ: Humpback grouper, Barramundi cod, Panther grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cromileptes altivelis) อยู่ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae)

มีรูปร่างหัวเรียวแหลม ปากเล็ก ตาเล็ก ครีบหลังต่อเป็นแผ่นเดียว ลำตัวสีเทาอ่อน แต้มด้วยจุดสีดำกระจายทั่วทั้งตัวและครีบ จัดเป็นปลาชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cromileptes[2]

มีความยาวเต็มที่ 70 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2 ปี น้ำหนักกว่า 2.5 กิโลกรัม

พบกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังหรือกองหินที่มีน้ำขุ่น ความลึกตั้งแต่ 2–40 เมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทะเลจีน, ญี่ปุ่น, ปาปัวนิวกินี, มหาสมุทรอินเดีย, หมู่เกาะนิโคบาร์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย

ปลากะรังหน้างอนเป็นปลาที่มีความโดดเด่นที่สีสันที่มีความสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก พื้นลำตัวจะเป็นสีขาวตัดกับจุดกลมสีดำเห็นชัดเจน จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อย จึงนิยมจับเพื่อรับประทานเป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาตัวที่ถูกจับได้ในธรรมชาติจะมีราคาสูงถึงตัวละ 2,400–2,800 บาท ดังนั้น สถานะในธรรมชาติของปลากะรังหน้างอนจึงอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม แต่ในปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว[3] [4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Samoilys, M. & Pollard, D. 2000. Chromileptes altivelis. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 August 2007.
  2. "Cromileptes". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. "การเพาะพันธุ์ปลากะรังหงส์". เดลินิวส์.
  4. "Panther Grouper (เก๋าหงส์)". fufufish. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-08. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]