ปลากะรังปากแม่น้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากะรังปากแม่น้ำ
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Serranidae
วงศ์ย่อย: Epinephelinae
สกุล: Epinephelus
สปีชีส์: E.  tauvina
ชื่อทวินาม
Epinephelus tauvina
(Forsskål, 1775)
ชื่อพ้อง[2][1]
  • Cephalopholis tauvina (Forsskål, 1775)
  • Epinephalus tauvina (Forsskål, 1775)
  • Epinephelus chewa Morgans, 1966
  • Epinephelus elongatus Schultz, 1953
  • Epinephelus megachir (non Richardson, 1846)
  • Epinephelus salmoides (non Lacépède, 1802)
  • Epinephelus tauvina (Forsskål 1775)
  • Holocentrus pantherinus Lacépède, 1802
  • Perca tauvina Forsskål, 1775
  • Serranus goldei Macleay, 1882
  • Serranus jansenii Bleeker, 1857
  • Serranus pantherinus (Lacépède, 1802)

ปลากะรังปากแม่น้ำ (อังกฤษ: Arabian grouper, Greasy grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus tauvina) ปลาทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) วงศ์ย่อย Epinephelinae มีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น [3] "ปลาเก๋าลายจุด", "ปลาเก๋าจุดน้ำตาล"

มีพื้นลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีจุดดำและลายปื้นสีเขียวกระจายไปทั่วตัว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ โดยสามารถยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกินเหยื่อโดยการฮุบกินไปทั้งตัว

พบกระจายอยู่ตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาใต้ ในทวีปเอเชียพบได้จนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยอาศัยอยู่ในทะเลที่มีความลึกตั้งแต่ 1–300 เมตร อีกทั้งยังสามารถพบได้ในบริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลนที่มีสภาพเป็นน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบชุกชุมที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

นิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงในกระชัง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Rhodes, K.L.; Russell, B.; Pollard, D.; Kulbicki, M. (2008). "Epinephelus tauvina". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2008.
  2. Epinephelus tauvina (Forsskål, 1775). itis.gov.
  3. ปลากะรังปากแม่น้ำ คุณค่าอาหารสูงสร้างกำลังได้ดี. ไทยรัฐออนไลน์. 9 ตุลาคม 2555.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]