ปราสาทมงเทรย-เบแล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปราสาทมงเทรย-เบลเลย์)
ปราสาทมงเทรย-เบแล
Montreuil-Bellay
ภาพถ่ายจากอากาศของปราสาทมงเทรย-เบแล
พิกัด47°8′0″N 0°9′15″W / 47.13333°N 0.15417°W / 47.13333; -0.15417
พื้นที่มงเทรย-เบแล, แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์

ปราสาทมงเทรย-เบแล (ฝรั่งเศส: Château de Montreuil-Bellay, ฟังเสียง Montreuil-Bellay) เป็นปราสาท[1]ที่ตั้งอยู่ที่เมืองมงเทรย-เบแลในจังหวัดแมเนลัวร์ในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส ปราสาทแรกสร้างขึ้นที่ที่เป็นหมู่บ้านกอล-โรมันบนเนินสูงเหนือแม่น้ำตูแอ

ประวัติ[แก้]

ระหว่างสมัยกลางอสังหาริมทรัพย์ของปราสาทประกอบด้วยที่ดินกว่า 4 ตารางกิโลเมตรที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มจังหวัด 32 จังหวัดที่ไม่ไกลนักที่เรียกว่า “ล็องฌู” (L'Anjou) ประมุขของมงเทรย-เบแลเดิมเป็นของ “แกลดุแอ็ง เลอ ดานัว” (Gelduin le Danois) หลังจากนั้นก็ตกไปเป็นของ “แบร์แล เลอ วีเยอ” (Berlay le Vieux) ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางคนแรกของเบแล ในปี ค.ศ. 1025 ปราสาทก็ถูกยึดโดยฟูลก์ แนรา สมาชิกตระกูลแพลนทาเจเน็ท จนฌีโร แบร์แลต้องยอมเป็นดินแดนบริวารระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1100 หลังจากที่พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ทรงพ่ายแพ้ต่อฝ่ายอังกฤษการปกครองเบแลก็กลับคืนไปเป็นของกีโยม เดอ เมอเลิงแห่งตระกูลแบร์แล เลอ วีเยออีกครั้ง ในช่วงนี้ก็ได้มีการสร้างเสริมระบบการป้องกันของปราสาทกันขึ้นอย่างขนานใหญ่โดยการสร้างกำแพงอันใหญ่โตที่ประกอบเด้วยหอใหญ่สิบสามหอวางซ้อนประสานต่อกัน โดยมีทางเข้าทางเดียวที่สร้างเสริมอย่างแน่นหนา และในช่วงเดียวกันนี้ชื่อปราสาทก็เปลี่ยนเป็นสำเนียงอังกฤษจากบาร์ลีย์เป็นเบแล

ระหว่างสงครามศาสนาของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1562‑ค.ศ. 1598) เมืองมงเทรย-เบแลก็ถูกปล้นทำลายและเผา แต่ตัวปราสาทอันมั่นคงได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย ความเป็นเจ้าของปราสาทเปลี่ยนมือหลายครั้งรวมทั้งโดยการสมรสกับตระกูลกอเซ-บรีซัก (Cossé-Brissac) ระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสปราสาทถูกยึดโดยรัฐบาลปฏิวัติและใช้เป็นคุกสำหรับจำขังสตรีผู้ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเช่นแม่มดหรือเป็นฝ่ายกษัตริย์นิยม

ในปี ค.ศ. 1822 อาเดรียง นีฟว์โล นักธุรกิจจากเมืองโซมูร์ก็ซื้อปราสาทและแบ่งเป็นห้องเช่า ในปี ค.ศ. 1860 บุตรีของนีฟว์โลก็ย้ามาพำนักที่ปราสาทและเริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ บางห้องก็ทำเป็นแบบ “ทรูบาดูร์” ผู้สืบเชื้อสายจากสามีเป็นเจ้าของปราสาทมงเทรย-เบแลในปัจจุบัน

ปราสาทได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. Mesqui, Jean (1997). Chateaux-forts et fortifications en France. Paris: Flammarion. ISBN 2080122711

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปราสาทมงเทรย-เบแล

ระเบียงภาพ[แก้]