ประเทศเบลเยียม

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ราชอาณาจักรเบลเยียม

Koninkrijk België (ดัตช์)
Royaume de Belgique (ฝรั่งเศส)
Königreich Belgien (เยอรมัน)
คำขวัญดัตช์: Eendracht maakt macht
ฝรั่งเศส: L'union fait la force
เยอรมัน: Einigkeit macht stark
("สามัคคีคือพลัง")
เพลงชาติ"ลาบราบ็องซอน"
(เพลงแห่งบราแบนต์)center>
ที่ตั้งของเบลเยียม
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บรัสเซลส์
ภาษาราชการภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน
การปกครองสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
ชาร์ล มีแชล
เอกราช จาก เนเธอร์แลนด์
• ประกาศ
4 ตุลาคม พ.ศ. 2373
19 เมษายน พ.ศ. 2382
พื้นที่
• รวม
30,528 ตารางกิโลเมตร (11,787 ตารางไมล์) (137)
6.4
ประชากร
• 27 กุมภาพันธ์ 2561 ประมาณ
11,398,331 (75)
• สำมะโนประชากร 2556
11,200,000 คน
372 ต่อตารางกิโลเมตร (963.5 ต่อตารางไมล์) (36)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 526.434 พันล้าน
$ 46,330
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 491.672 พันล้าน
$ 43,243
จีนี (2557)28.1[1]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.896
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 22nd
สกุลเงินยูโร (€) 1 (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์32
โดเมนบนสุด.be2
1ก่อนปี พ.ศ. 2542 ใช้ฟรังก์เบลเยียม
2และยังใช้ .eu ร่วมกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป

เบลเยียม (อังกฤษ: Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (อังกฤษ: Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย

เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย

คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศัย

ภูมิศาสตร์

ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก

เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.) [2] มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.² ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์แดน[3]

ภูมิประเทศ

ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก ลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นที่ราบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และคลอง ที่สูงอาร์เดนส์เป็นเขตที่เป็นป่าหนาแน่น ยกตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 460 เมตร อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบลเยียม พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นหิน ไม่เหมาะกับเกษตรกรรม มีจุดที่สูงที่สุดของเบลเยียมคือซีญาลเดอบอทร็องฌ์ (Signal de Botrange) สูง 694 เมตร[2][3]

แม่น้ำสายหลักของเบลเยียมได้แก่ แม่น้ำแอ็สโก (Escaut) และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ฝรั่งเศส แม่น้ำแอ็สโกเป็นแม่น้ำสายหลักของเบลเยียม ผ่านท่าเรือแอนต์เวิร์ป บรัสเซลส์ และเกนต์[3]

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม[4] ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรัสเซลส์อยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียสในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และลงต่ำอยู่ที่ 3 องศาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์[5] จากรายงานของสหประชาชาติในปีพ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำสุดจากทั้งหมด 122 ประเทศ[6]

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

มีหลักฐานการดำรงอยู่ของชุมชนโบราณมานานมากกว่า 2,000 ปีโดยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และภาพเขียนโบราณในถ้ำตอนกลางของประเทศริมฝั่งแม่น้ำเมิซ (la Meuse)

ในปีพ.ศ. 600 จูเลียส ซีซาร์ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมปัจจุบัน โดยเอาชนะชนเผ่าเคลต์ที่ชื่อเบลไก (Belgae) และก่อตั้งเป็นมณฑลแกลเลียเบลจิกา ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ดินแดนแถบนี้ก็ตกไปอยู่ในการควบคุมของชนเผ่าแฟรงก์ ก่อตั้งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง[7] พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักร หลังจากยุคของโคลวิสแล้ว อาณาจักรของพวกแฟรงก์ก็เริ่มแตก จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1311 จนถึง 1357 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป

ยุคกลาง

หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ อาณาจักรก็ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแทร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรกลาง ในขณะที่ส่วนที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส อาณาจักรกลางภายหลังตกไปอยู่ภายใต้กษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรตะวันออก ดินแดนเบลเยียมถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งต่อมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน พระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลัน

ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือ ซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้

ต่อมา ฝรั่งเศสได้ขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรป พื้นที่ประเทศต่ำได้เป็นสนามรบ เบลเยียมได้เปลี่ยนมือไปยังออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1ได้ยึดเบลเยียมในปีพ.ศ. 2338 ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน กลุ่มประเทศต่ำได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2358

การปฏิวัติเบลเยียม

ภาพเหตุการณ์ปฏิวัติเบลเยียม ของ Egide Charles Gustave Wappers ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะในบรัสเซลส์

เกิดการปฏิวัติในเบลเยียมในปี พ.ศ. 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 โดยมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในปีพ.ศ. 2374

เบลเยียมได้รับคองโกเป็นอาณานิคมในปีพ.ศ. 2451 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 เยอรมนีเข้ารุกรานเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เบลเยียมเข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี (ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม เบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรนีอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก[7] เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้น

การเมืองการปกครอง

เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา[8] ในปีพ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญ โดยบัญญัติให้เบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่พ.ศ. 2513[9]

บริหาร

นิติบัญญัติ

รัฐสภากลางของเบลเยียมนั้นใช้ระบบสภาคู่ โดยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดัตช์: de Kamer van Volksvertegenwoordigers; ฝรั่งเศส: la Chambre des Représentants) และวุฒิสภา (ดัตช์: de Senaat; ฝรั่งเศส: le Sénat) วุฒิสภานั้นประกอบด้วยนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง 40 คน และอีก 21 คนแต่งตั้งโดยสภาชุมชนสามสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คนจากเขตเลือกตั้ง 11 เขต เบลเยียมนั้นมีการกำหนดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2435[10]

พรรคการเมือง

พรรคการเมืองของเบลเยียมนั้น มีลักษณะแบ่งตามกลุ่มภาษาอย่างชัดเจน พรรคการเมืองของเบลเยียมอยู่ในสามกลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มพรรคคริสเตียนเดโมแครต แบ่งเป็น Centre démocrate humaniste (CDH) และ Christen-Democratisch & Vlaams (CD&V) กลุ่มพรรคสังคมนิยม ประกอบด้วย Parti Socialiste (PS) และ Socialistische Partij – Anders (SP.A) และกลุ่มพรรคเสรีนิยม ได้แก่ Mouvement Réformateur (MR) และ Vlaamse Liberalen en Democraten (VLD) นอกจากสามกลุ่มหลักนี้แล้ว ยังมีกลุ่มพรรคกรีน ได้แก่ พรรค Ecolo และ Groen! ซึ่งเป็นพรรคของผู้พูดภาษาฝรั่งเศสและฟลามส์ตามลำดับ[11][12]

ตุลาการ

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดง การแบ่งเขตการปกครองของเบลเยียม

ชาววัลลูนและชาวเฟลมิชในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามเขต คือ เขตฟลามส์ เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ แต่ละเขตมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

การปกครองของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ มีศูนย์กลางอยู่ที่บรัสเซลส์ ชุมชนภาษาสามชุมชน ได้แก่ ฟลามส์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน และสามภูมิภาค ได้แก่ เขตฟลามส์หรือฟลานเดอส์ เขตวัลลูนหรือวัลโลเนีย และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์

โดยเขตฟลามส์และเขตวัลลูนแบ่งออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

เขตฟลามส์ (Vlaams Gewest) เขตวัลลูน (Région wallonne)
แอนต์เวิร์ป (Antwerpen) แอโน (Hainaut)
ฟลานเดอส์ตะวันออก (Oost-Vlaanderen) ลีแยฌ (Liège/Lüttich)
เฟลมิชบราแบนต์ (Vlaams Brabant) ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
ลิมเบิร์ก (Limburg) นามูร์ (Namur)
ฟลานเดอส์ตะวันตก (West-Vlaanderen) วัลลูนบราแบนต์ (Brabant wallon)

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม[13] โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่นในยุโรป เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของประชาคมยุโรป และสนับสนุนการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก[11] เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465[14]

ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัลโลเนียเป็นเขตที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฟลานเดอส์เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปรากฏการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมี ในเขตวัลโลเนีย อุตสาหกรรมเหล็กเริ่มสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน จนกระทั่งเกิดวิกฤติการน้ำมัน พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ หลังจากนั้น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศขยับไปทางเขตฟลานเดอส์[11]

เศรษฐกิจของเบลเยียมมีจุดเด่นคือ ผลิตภาพของแรงงาน รายได้ประชาชาติ และการส่งออกต่อประชากรสูง[15] การส่งออกของเบลเยียมคิดเป็นมากกว่าสองในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี) [11]โดยเบลเยียมได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ในศูนย์กลางพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง เบลเยียมเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

การท่องเที่ยว

ประชากร

เชื้อชาติ

ในปีพ.ศ. 2549 เบลเยียมมีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตฟลามส์ราว 6 ล้านคน เขตวัลลูนราว 3.4 ล้านคน และราว 1 ล้านคนในเขตเมืองหลวง คิดเป็นความหนาแน่นทั้งประเทศ 344 คนต่อตารางกิโลเมตร เขตเทศบาลที่มีผู้อยู่อาศัยมากได้แก่ แอนต์เวิร์ป (4.66 แสนคน) เกนต์ (2.35 แสนคน) ชาร์เลอรัว (2 แสนคน) ลีแยฌ (1.88 แสนคน) บรัสเซลส์ (1.45 แสนคน) เป็นต้น[16]

 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเบลเยียม
Nationaal Instituut voor de Statistiek, table 3 (01/01/2018)
อันดับ ชื่อ จังหวัด ประชากร
แอนต์เวิร์ป
แอนต์เวิร์ป
เกนต์
เกนต์
1 แอนต์เวิร์ป จังหวัดแอนต์เวิร์ป 523,248 ชาร์เลอรัว
ชาร์เลอรัว
ลีแยฌ
ลีแยฌ
2 เกนต์ จังหวัดฟลานเดอส์ตะวันออก 260,341
3 ชาร์เลอรัว จังหวัดแอโน 201,816
4 ลีแยฌ จังหวัดลีแยฌ 197,355
5 บรัสเซลส์ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 179,277
6 สการ์เบก เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 133,010
7 อันเดอร์เลคต์ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 118,382
8 บรูช จังหวัดฟลานเดอส์ตะวันตก 118,284
9 นามูร์ จังหวัดนามูร์ 110,939
10 เลอเฟิน จังหวัดเฟลมิชบราแบนต์ 101,396

ภาษา

เบลเยียมมีภาษาทางการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยคาดว่า มีผู้พูดภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักราว 60 เปอร์เซนต์ และประมาณ 40 เปอร์เซนต์สำหรับภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาเยอรมันมีผู้พูดน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์[2] ผู้พูดภาษาดัตช์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือของประเทศ โดยเป็นภาษาทางการของเขตฟลามส์และชุมชนฟลามส์ และหนึ่งในสองภาษาทางการของเขตเมืองหลวง ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นภาษาทางการของชุมชนฝรั่งเศส อีกหนึ่งภาษาทางการของเขตเมืองหลวง และภาษาหลักของเขตวัลลูน ภาษาเยอรมันมีผู้พูดอยู่ในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศ เป็นภาษาทางการในบางส่วนของวัลลูน ภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดในเบลเยียมได้แก่ ภาษาวัลลูน ภาษาปีการ์ ภาษาช็องเปอนัว และภาษาลอแร็ง

ศาสนา

คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาหลักของเบลเยียม จากการสำรวจและศึกษาศาสนาในปีพ.ศ. 2544 ประชากรร้อยละ 47 ของประเทศประกาศตนเป็นคาทอลิก และมีประชากรมุสลิมประมาณ 364,000 คน หรือราว 3.5 เปอร์เซนต์ของประชากร[17]

กีฬา

กีฬายอดนิยมของเบลเยียมคือฟุตบอลและจักรยาน[18] เอดดี เมิกซ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาจักรยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[19] เบลเยียมผลิตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลกถึงสองคน คือ กิม ไกลส์เติร์ส และฌุสตีน เอแน็ง

วัฒนธรรม

ศิลปะ

ภาพ หอคอยบาเบล ของปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ศิลปินชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียง

ฟลานเดอส์เป็นแหล่งกำเนิดของจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายยุคสมัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 บริเวณยุโรปเหนือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จิตรกรชาวเฟลมิชคนสำคัญของยุคนี้ประกอบไปด้วย ยัน ฟัน ไอก์, โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน และปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟลานเดอส์มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์[20]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เบลเยียมเกิดรูปแบบและสำนักแตกต่างกันมากมาย มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเช่น เจมส์ เอนซอร์ และเรเน มากริตต์ นอกจากนี้ เบลเยียมยังมีสถาปนิกชื่อดังสองคน ซึ่งเป็นศิลปินอาร์ตนูโวคนแรก ๆ คือวิกตอร์ ฮอร์ตา และอ็องรี ฟัน เดอแฟ็ลเดอ[21] เบลเยียมยังเป็นต้นกำเนิดของแซกโซโฟน ประดิษฐ์โดยอดอล์ฟ แซกซ์ ในปีพ.ศ. 2483[22]

ประเพณี

ขบวนยักษ์ในงานดูว์กัสดัต (Ducasse d'Ath – เทศกาลเมืองอัต) หนึ่งในเมืองที่อยู่ในประกาศของยูเนสโก

ตลอดปี เบลเยียมมีงานเทศกาลท้องถิ่นจำนวนมาก[23] ขบวนยักษ์และมังกรในหลายเมืองของเบลเยียมได้รับการยอมรับในประกาศผลงานชิ้นเอกมุขปาฐะและมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ:Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ของยูเนสโก ได้แก่ อัต, บรัสเซลส์, เดนเดอร์โมนเดอ, เมเคอเลิน และมงส์[24] งานเทศกาลที่สำคัญในเบลเยียมอีกอย่างหนึ่ง คือวันนักบุญนิโคลัส 6 ธันวาคม เรียกในภาษาดัตช์ว่าซินเตอร์กลาส (Sinterklaas) [25]

อาหาร

เบลเยียมมีชื่อเสียงในด้านการผลิตช็อกโกแลต[26] โดยมียี่ห้อช็อกโกแลตหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น Godiva, Neuheus และ Guylian นอกจากนี้ เบลเยียมยังเป็นประเทศที่นิยมเบียร์ มีเบียร์มากกว่า 450 ชนิด[27] ชาวเบลเยียมเป็นที่รู้กันดีว่าชื่นชอบวัฟเฟิลและมันฝรั่งทอดเฟรนช์ฟรายส์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดจากประเทศนี้[28][29][30] อาหารสำคัญของประเทศอีกอย่างหนึ่งคือหอยแมลงภู่ เสิร์ฟร่วมกับมันฝรั่งทอด[31]

อ้างอิง

  1. "Belgium". World Bank.
  2. 2.0 2.1 2.2 ข้อมูลประเทศเบลเยียมจากเวิลด์แฟกต์บุก เรียกข้อมูลวันที่ 23 ส.ค. 2550 (อังกฤษ)
  3. 3.0 3.1 3.2 "Belgium". Microsoft Encarta Online Encyclopedia 2007. Microsoft Corporation. © 1997-2007. สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help) (อังกฤษ)
  4. "Climate averages — Brussels". EuroWEATHER/EuroMETEO, Nautica Editrice Srl, Rome, Italy. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  5. "Climate averages — Brussels". EuroWEATHER/EuroMETEO, Nautica Editrice Srl, Rome, Italy. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  6. Pearce, Fred (5 มี.ค. 2548). "Sewage-laden Belgian water worst in world". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  7. 7.0 7.1 "History of Belgium". Visit Belgium. สำนักงานท่องเที่ยวเบลเยียมในทวีปอเมริกา. © 2005. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help)(อังกฤษ)
  8. Morris, Chris (13 พ.ค. 2548). "Language dispute divides Belgium". บีบีซีนิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  9. "Historical outline of the federalism in Belgium". AWEX. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  10. Maria Gratschew. "Compulsory Voting". International IDEA. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help) (อังกฤษ)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "Background Note: Belgium". กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สำนักงานกิจการยุโรปและยูเรเชีย. 2007. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help) (อังกฤษ)
  12. "Belgium - Political parties". Encyclopedia of the Nations. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  13. "Industrial History Belgium". European Route of Industrial Heritage. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  14. "Belgium in the European Union". Belgium. Belgian Federal Public Service (ministry) of Foreign Affairs, Foreign Trade and Development Cooperation. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  15. "Belgian economy". Belgium. กระทรวงการต่างประเทศ การค้าต่างประเทศ และความร่วมมือการพัฒนา เบลเยียม. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  16. "Structuur van de bevolking — België / Brussels Hoofdstedelijk Gewest / Vlaams Gewest / Waals Gewest / De 25 bevolkingsrijkste gemeenten (2000–2006)" (asp). กระทรวงเศรษฐกิจเบลเยียม — คณะกรรมการสถิติ. © 1998/2007. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help) (ดัตช์)
  17. "Belgium". International Religious Freedom Report 2004. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ สำนักงานประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และแรงงาน. 2004. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  18. Geno Jezek (© 2006). "Popular Sports". สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help) (อังกฤษ)
  19. Matt Majendie (18 เม.ย. 2548). "Great, but there are greater". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  20. "Low Countries, 1600–1800 AD". Timeline of Art History. Metropolitan Museum of Art. 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  21. "Low Countries, 1900 a.d.–present". Timeline of Art History. Metropolitan Museum of Art. 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  22. น้าชาติ ประชาชื่น (17 ก.พ 2548). "แซกโซโฟน -- ประวัติที่มา". มติชน. สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  23. "Belgian folklore festivals". Expatica. สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help) (อังกฤษ)
  24. "Processional Giants and Dragons in Belgium and France". ยูเนสโก. สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "The tradition of Sinterklaas". Expatica. 2 ธ.ค. 2548. สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  26. Michael Pollick. "What is Unique About Belgian Chocolate?". WiseGeek. สืบค้นเมื่อ 7 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  27. "Belgium for Beer Lovers". Visit Belgium. สำนักงานท่องเที่ยวเบลเยียมในอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 7 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  28. "Origin of Waffles". Augustin's Waffles. Cezam USA, Inc. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  29. Gavin Clabaugh (2006-08-19). "French Fries — Near and Far". Gavin’s Digital Diner. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  30. "The French Fry". Professor's House. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  31. "Belgium". Global Gourmet. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) เผยแพร่ซ้ำจาก Van Waerebeek, Ruth; Robbins, Maria (1996). Everybody Eats Well in Belgium Cookbook. Workman Publishing. ISBN 1-56305-411-6 (Paperback) , ISBN 0-7611-0106-3 (Cloth). {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บทางการ
ข้อมูลทั่วไป