ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเนเธอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศเนเธอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชัน
ประเทศเนเธอร์แลนด์
สถานีโทรทัศน์ที่เข้าร่วมอาโฟรโทรส (2014–)
สรุปผลการเข้าร่วม
การเข้าร่วม64 (รอบชิงชนะเลิศ 53 ครั้ง)[a]
การเข้าร่วมครั้งแรกค.ศ. 1958
อันดับสูงสุดที่ 1: ค.ศ. 1957, 1959, 1969, 1975, 2019
การเป็นเจ้าภาพค.ศ. 1958, 1970, 1976, 1980, 2020,[b] 2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
นาซีออนาลซองเฟ็สติวาล
ลิงก์ภายนอก
เว็บไซต์อาโฟรโทรส
หน้าเว็บเนเธอร์แลนด์ใน Eurovision.tv Edit this at Wikidata
สำหรับการประกวดครั้งล่าสุด ดูที่
ประเทศเนเธอร์แลนด์ในการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2025

ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้เข้าร่วมการประกวดเพลงยูโรวิชันทั้งหมด 64 ครั้ง โดยเข้าร่วมครั้งแรกในการประกวดปี 1956 โดยพลาดการแข่งขันเพียงสี่ครั้ง สองครั้งในปี 1985 และ 1991 เนื่องจากมีวันประกวดตรงกับวันรำลึกถึงผู้ล่วงลับ และสองครั้งเนื่องจากผลการประกวดที่ไม่ดีในปีก่อนหน้า (ค.ศ. 1995 และ 2002) และได้พลาดการเข้าการประกวดรอบชิงชนะเลิศแม้จะเข้าร่วมอีกหนึ่งครั้ง หลังอุบัติการณ์หลังเวทีที่เกิดขึ้นในการประกวดปี 2024 นอกจากนี้ยังเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดถึงสี่ครั้ง โดยจัดในฮิลเวอร์ซัม (ค.ศ. 1958), อัมสเตอร์ดัม (ค.ศ. 1970), เดอะเฮก (ค.ศ. 1976 และ 1980), และรอตเทอร์ดาม (ค.ศ. 2021) เนเธอร์แลนด์มีอาโฟรโทรสเป็นสถานีโทรทัศน์ประจำชาติที่เข้าร่วม

ในเธอร์แลนด์ชนะการประกวดทั้งหมดห้าครั้ง ครั้งแรกในปี 1957 ด้วยเพลง "Net als toen" โดยคอร์รี โบรกเคน, "Een beetje" by Teddy Scholten (1959), เสมอกันสี่ประเทศในปี 1969 ด้วยเพลง "De troubadour" โดยเลนนี คูร์, ในปี 1975 ด้วยเพลง "ดิงอะดอง" โดยทีช-อิน, และในปี 2019 ด้วยเพลง "อาร์เคด" โดยดันแคน ลอว์เรนซ์ เนเธอร์แลนด์ยังทำผลงานในห้าอันดับแรกในปี 1972 ด้วยเพลง "Als het om de liefde gaat" โดยซานดราและอันเดรในอันดับที่สี่, "I See a Star" โดยเมาธ์แอนด์แมคนีลในปี 1974 ได้อันดับที่สาม, "อัมสเตอร์ดัม" โดยแมกกี แมคนีล ในปี 1980 และ "Rechtop in de wind" โดยมาร์ชาในปี 1987 ได้อันดับที่ห้า, "Hemel en aarde" โดยเอ็ดซิเลีย รอมบลีย์ในปี 1998 ได้อันดับที่สี่, และดด้วยเพลง "คาล์มอาฟเตอร์อะสตอร์ม" โดยเดอะคอมมอนลินเน็ตส์ในปี 2014 ได้อันดับที่สอง และยังได้รับอันดับสุดท้ายในการประกวดปี 1958, 1962, 1963, 1968, และในรอบรองชนะเลิศที่ 2 ในการประกวดปี 2011

หลังการเริ่มใช้ระบบรอบรองชนะเลิศในการประกวดปี 2003 เนเธอร์แลนด์ตกรอบเป็นเวลาแปดปีติดต่อกันตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2012 แต่ตั้งแต่นั้นมาก็ได้เข้ารอบรอบชิงชนะเลิศแล้วแปดครั้งจากการประกวด 11 ครั้งที่ผ่านมา

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในปี 2024 ผลงานของเนเธอร์แลนด์ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ แต่ถูกตัดสิทธิ์ภายหลังอุบัติการณ์หลังเวทีที่เกิดขึ้นระหว่างการประกวดรอบชิงชนะเลิศ เนเธอร์แลนด์ยังคงมีสิทธิลงคะแนนเสียงในการประกวด
  2. การประกวดปี 2020 ถูกยกเลิกเนื่องจากเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 van Tongeren, Mario (2009-01-25). "NOS quits Eurovision, Dutch participation goes on". Oikotimes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]