ประเทศเช็กเกีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐเช็ก

Česká republika (เช็ก)
คำขวัญPravda vítězí (เช็ก)
"Truth prevails"
เพลงชาติกแดโดโมฟมูย
"บ้านของฉันนั้นคือที่ใด"
ที่ตั้งของ เช็กเกีย  (สีเขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป  (สีเขียว & สีเทาเข้ม) – ในสหภาพยุโรป  (สีเขียว)
ที่ตั้งของ เช็กเกีย  (สีเขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (สีเขียว & สีเทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (สีเขียว)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปราก
ภาษาราชการภาษาเช็ก
การปกครองสาธารณรัฐประชาธิปไตย
มิลอช เซมัน
อันเดรจ บาบิส
เอกราช
• ประกาศ
28 ตุลาคม พ.ศ. 2461
• การสลายตัว1
1 มกราคม พ.ศ. 2536
พื้นที่
• รวม
78,866 ตารางกิโลเมตร (30,450 ตารางไมล์) (115)
2
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
10,610,947 เพิ่มขึ้น[1] (84)
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2554
10,436,560[2]
134 ต่อตารางกิโลเมตร (347.1 ต่อตารางไมล์) (87)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 372.617 พันล้าน
$ 35,223
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 209.652 พันล้าน
$ 19,818
จีนี (2557)25.9[3]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.878
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 28th
สกุลเงินโครูนาเช็ก (CZK)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์4202
รหัส ISO 3166CZ
โดเมนบนสุด.cz
1 เชโกสโลวาเกียแยกออกเป็นเช็กเกียและสโลวาเกีย
2ใช้รหัส 42 ร่วมกับสโลวาเกียจนถึงปี พ.ศ. 2540

เช็กเกีย (อังกฤษ: Czechia; เช็ก: Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (อังกฤษ: Czech Republic; เช็ก: Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย

เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม

นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ[4]

ภูมิศาสตร์

เช็กเกียเป็นดินแดนที่ประกอบด้วย ที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่สูงกว่าน้ำทะเล 200 เมตร นอกจากนั้นยังประกอบด้วย เนินเขา แม่น้ำรวมถึงทะเลสาบขนาดเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป เช็กเกียเช็กเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชหลายชนิด เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ มีอากาศแบบอบอุ่นภาคพื้นทวีป มีแร่ธาตุหลายชนิด แร่ที่สำคัญได้แก่ ถ่านหินและยูเรเนียม

สภาพอากาศ

สภาพอากาศของเช็กเกีย มีอากาศหนาวอยู่ในเขตอบอุ่น หน้าร้อนจะอบอุ่น หน้าหนาวจะหนาว (ยุโรปอยู่ระหว่าง 35 องศาเหนือ - 71 องศาเหนือ)

ประวัติศาสตร์

กลุ่มรัฐสลาฟ

ดินแดนของเช็กเกียในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี นับตั้งแต่เมื่อชนเผ่าสลาวอนิก (Slavonic Tribes) หรือชนเผ่าสลาฟ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแคว้นโบฮีเมียได้พัฒนาเป็นรัฐอิสระเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าเยอรมันได้อพยพเข้ามายึดดินแดนเช็กในปัจจุบันเป็นอาณานิคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างวัฒนธรรมเช็กให้มีทั้งลักษณะของชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าสลาฟ กรุงปรากจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อาทิ โรมาเนสก์ กอทิก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเช็กเกียได้อย่างดี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ฮับสบูร์ก (ราวศตวรรษที่ 15-18) และองค์การยูเนสโก ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ เช็กยังมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านการผลิตเบียร์ โดยเฉพาะที่เมืองเปิลเซน (Plzen)

กรุงปรากเป็นเมืองที่สำคัญในยุโรปตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันและยุคกลางของยุโรป กษัตริย์ชาลส์ที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมัน ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชาลส์ (Charles University) ขึ้นที่กรุงปรากซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปตะวันออก ในช่วงยุคกลาง เช็กเกียอยู่ภายใต้การปกครองของคริสตจักรเช่นเดียวกับดินแดนอื่น ๆ ในยุโรป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2069 เช็กเกียจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์ฮับสบูร์ก ในศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการฟื้นฟูความตระหนักถึงชนชาติ ซึ่งถึงจุดสูงสุดในปี พ.ศ. 2391 เมื่อกรุงปรากเป็นเมืองแรกในอาณาจักรฮับสบูร์กที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูป และต้องการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้สนับสนุนให้ชาวเช็กและชาวสโลวักสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยเชโกสโลวาเกียขึ้น ในปี พ.ศ. 2461 เนื่องจากชาวเช็กและชาวสโลวักมีภาษาคล้ายคลึงกัน แต่แยกจากกันทางการเมือง เนื่องจากสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชโกสโลวาเกียเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าที่สุดจนติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวสโลวักต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระจากชาวเช็กซึ่งมีบทบาทเหนือกว่า

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 กองทัพเยอรมนีนาซีได้รุกรานแคว้นโบฮีเมียและมอเรเวีย ทำให้เชโกสโลวาเกียสูญเสียความเป็นรัฐเอกราช จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเชโกสโลวาเกียจากการปกครองของนาซี ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมา และในปี พ.ศ. 2491 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจไว้

หลังสงคราม

พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเชโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูป ที่เรียกว่า ช่วงฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปราก (Prague Spring) ภายใต้การนำของนายอาเลกซันแดร์ ดุปเชก (Alexander Dubček) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียต และประเทศอื่นในกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี พ.ศ. 2511 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเช็กโกสโลวาเกีย

หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวาเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet Revolution) และนายวาตสลัฟ ฮาเวล (Václav Havel) ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี พ.ศ. 2532

รัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ให้สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็ก (เช็กเกีย) และสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา นายวาตสลัฟ ฮาเวลได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเช็กเกียในปี พ.ศ. 2536 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2541 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 และนายวาตสลัฟ เกลาส์ (Vaclav Klaus) ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

การเมืองการปกครอง

เช็กเกียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

นิติบัญญัติ

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสองสภา (Bicameral Parliament) คือ สภาสูง (Senate) มี 81 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดย popular vote มีวาระ 6 ปี โดยจะมีการเลือก 1 ใน 3 ทุก 2 ปี

ตุลาการ

การแบ่งเขตการปกครอง

เช็กเกียประกอบด้วย 13 เขต (regions - kraje) กับ 1 นครหลวง (capital city - hlavní město) (มีเครื่องหมายดอกจันกำกับ)

แผนที่เขตการปกครองของสาธาณรัฐเช็ก
แผนที่เขตการปกครองของสาธาณรัฐเช็ก


เขต เมืองหลวง สี
ปราก* (ปราฮา)  
เขตเซ็นทรัลโบฮีเมีย มีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงปราก (ปราฮา)
เขตเซาท์โบฮีเมีย เชสเกบุดเยยอวีตเซ
เขตเปิลเซน เปิลเซน
เขตคาร์ลสแบด คาร์ลอวีวารี (คาร์ลสแบด)
เขตอูสตีนาดลาเบม อูสตีนาดลาเบม
เขตลีเบเรซ ลีเบเรซ
เขตฮราเดตส์กราลอเว ฮราเดตส์กราลอเว
เขตปาร์ดูบีตเซ ปาร์ดูบีตเซ
เขตออลอโมตซ์ ออลอโมตส์
เขตมอเรเวีย-ไซลีเชีย ออสตราวา
เขตเซาท์มอเรเวีย เบอร์โน
เขตซลีน ซลีน
เขตวีซอชีนา ยีห์ลาวา



นโยบายต่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป

  1. บทบาทของเช็กเกียในสหภาพยุโรปและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
  2. การทูตพหุภาคีและการให้ความสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติ
  3. การต่อต้านการก่อการร้าย การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศ
  4. การดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
  5. บทบาทของสาธารณรัฐเช็กในกองกำลังรักษาสันติภาพในคอซอวอ อิรัก และอัฟกานิสถาน
  6. การดำเนินความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะต่อสโลวาเกีย
  7. การดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะในกรอบระหว่างสหภาพยุโรปกับรัสเซีย
  8. ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
  9. ประเด็นระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้แก่ การต่อสู้กับความยากจน การแพร่กระจายของโรคระบาด การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เป็นผลจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติในเอเชียและแอฟริกา

กองทัพ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

สถานการณ์เศรษฐกิจเช็กเกีย ภายหลังจาก Velvet Reform ในปี พ.ศ. 2532 เช็กโกสโลวาเกียเริ่มดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างระแวดระวัง การปฏิรูปทางเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โดยปล่อยให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวอย่างเสรี การคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เจ้าของเดิมในช่วงปี พ.ศ. 2491 และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อมา ภายหลังจาก Velvet Divorce ซึ่งแยกเช็กโกสโลวาเกียเป็นเช็กเกียและสโลวาเกีย ในปี พ.ศ. 2546 เช็กเกียมีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รวดเร็ว มีอัตราการว่างงานต่ำ และไม่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไป

รัฐบาลเช็กเกียประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ บริษัทโตโยตามอเตอร์ และบริษัทเปอร์โยต์ ซีตรอง โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ชื่อว่า Czech Invest เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูง ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2550 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 3.7 ในปี พ.ศ. 2546 เป็นร้อยละ 3.8 ในปี พ.ศ. 2547 และคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 4.4 ในปี พ.ศ. 2548 ทำให้ค่าจ้างแรงงานมีการปรับตัวสูงขึ้นและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเป็นลำดับ

รัฐบาลเช็กเกียยังคงให้ความสำคัญกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้ดำเนินการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังคงมีอีกประมาณ 167 บริษัทที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ ได้แก่ Czech Telecom CEZ Power Utility เป็นต้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงมีปัญหาการขาดดุลงบประมาณซึ่งสูงถึงร้อยละ 7 ของ GDP ในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลจึงตั้งเป้าที่จะลดการขาดดุลให้เหลือเพียงร้อยละ 4 ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องเพื่อรับเช็กเกียเข้าเป็นสมาชิก นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กเกียคงจะพยายามผลักดันเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลยูโรได้ภายในปี พ.ศ. 2552-2553 นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กเกียจะยังคงมุ่งมั่นปฏิรูประบบกฎหมาย กฎหมายการล้มละลาย และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

คมนาคมและโทรคมนาคม

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การศึกษา

สาธารณสุข

ประชากร

เชื้อชาติ

  • ประชากร 10.28 ล้านคน ประกอบด้วยชาวเช็ก (94.4%) ชาวมอเรเวีย (5%) ชาวสโลวัก (1.4%) ชาวโปแลนด์ (0.4%) ชาวฮังการี (0.2%)
  • อัตราการเพิ่มประชากร - 0.05 % (ปี 2548)
  • กรุงปราก (Prague) มีประชากร 1.21 ล้านคน
  • Brno - เมืองศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของแคว้นมอเรเวีย มีประชากรประมาณ 3.3 แสนคน
  • Ostrava - เมืองอุตสาหกรรม โดยเฉพาะทางด้านการถลุงเหล็ก อยู่ทางตะวันออกของประเทศ มีประชากรประมาณ 3.24 แสนคน
  • Plzeň - เมืองอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล และเป็นเมืองที่กำเนิดของเบียร์สูตรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อยู่ทางเหนือของประเทศ มีประชากร 1.7 แสนคน
  • อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ 99.9%
  • อายุเฉลี่ย ชาย : 71 / หญิง : 78

ศาสนา

ไม่มีศาสนา 39.8% โรมันคาทอลิก 39.2% โปรเตสแตนต์ 6% ออร์ทอดอกซ์ 3% และอื่น ๆ 13.4%

ภาษา

กีฬา

วัฒนธรรม

วรรณกรรม

ภาพยนตร์

ศิลปะ

ดนตรี

อาหาร

สื่อสารมวลชน

วันหยุด

อ้างอิง

  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. Census of Population and Housing 2011: Basic final results. Czech Statistical Office เก็บถาวร 29 มกราคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved on 19 December 2012.
  3. "Czech Republic". World Bank.
  4. "Vláda schválila doplnení jednoslovného názvu Cesko v cizích jazycích do databází OSN." Last modified May 5, 2016. http://www.mzv.cz/jnp/cz/udalosti_a_media/tiskove_zpravy/x_2016_05_02_vlada_schvalila_czechia.html.

แหล่งข้อมูลอื่น

2 = เช็กเกีย

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
สื่อสารมวลชน
ยุทธศาสตร์
การท่องเที่ยว