ประเทศฮังการี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮังการี

Magyarország (ฮังการี)
คำขวัญปัจจุบันไม่มี
คำขวัญในอดีต: Regnum Mariae Patrona Hungariae (แมรี่เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของอาณาจักรแห่งฮังการี)
เพลงชาติHimnusz
Isten, áldd meg a magyart
Hymn
ที่ตั้งของฮังการี
เมืองหลวง บูดาเปสต์
เมืองใหญ่สุดบูดาเปสต์
ภาษาราชการภาษาฮังการี
การปกครองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
ยาโนช อาแดร์
วิกโตร์ โอร์บาน
ก่อตั้ง
• ก่อตั้ง
ธันวาคม พ.ศ. 1543
พื้นที่
• รวม
93,030 ตารางกิโลเมตร (35,920 ตารางไมล์) (108)
0.74%
ประชากร
• มกราคม พ.ศ. 2548 ประมาณ
10,006,835 (82)
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2544
10,198,315
108 ต่อตารางกิโลเมตร (279.7 ต่อตารางไมล์) (94)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 283.592 พันล้าน
$ 28,909
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 132.034 พันล้าน
$ 13,459
จีนี (2557)30.9[1]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.836
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 43rd
สกุลเงินโฟรินต์ (Forint) (HUF)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์36
โดเมนบนสุด.hu

ฮังการี (อังกฤษ: Hungary, ฮังการี: Magyarország [ˈmɒɟɒrorsaːɡ] มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก[2] โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก[3] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลตา

ดินแดนของฮังการีในปัจจุบันมีผู้เข้ามาอาศัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายศตวรรษ รวมถึงชาวเคลต์, โรมัน, เจอร์แมนิก, ฮัน, สลาฟตะวันตก และอาวาร์ รากฐานของรัฐฮังการีได้รับการสถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยอาร์ปาด เจ้าชายฮังการี หลังจากการพิชิตที่ราบพันโนเนีย[4][5] พระเจ้าอิชต์วานที่ 1 เหลนของเขาได้ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1000 พระองค์เปลี่ยนอาณาจักรของพระองค์เป็นอาณาจักรคริสเตียน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ฮังการีกลายเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค และเข้าสู่ยุครุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 15[6] หลังจากยุทธการที่โมเฮ็คส์ใน ค.ศ. 1526 บางส่วนของฮังการีถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1541–1699) ต่อมาก็อยู่ภายใต้การปกครองของฮาพส์บวร์คในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต่อมาได้ร่วมกับออสเตรียก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีซึ่งเป็นมหาอำนาจของยุโรป[7]

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสนธิสัญญาทรียานงได้กำหนดเขตแดนของฮังการีตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้สูญเสียดินแดนร้อยละ 71, ประชากรร้อยละ 58 และกลุ่มชาติพันธุ์ฮังการีร้อยละ 32[8][9][10] หลังจากสมัยระหว่างสงครามที่วุ่นวาย ฮังการีเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้รับความเสียหายมีผู้ล้มตายจำนวนมาก[11][12] ฮังการีกลายเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมซึ่งดำรงอยู่ถึงสี่ทศวรรษ (ค.ศ. 1949[13]–1989[14]) ประเทศนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับสากลอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติใน ค.ศ. 1956 และการเปิดพรมแดนด้านที่ติดกับออสเตรียใน ค.ศ. 1989 ซึ่งเร่งการล่มสลายของกลุ่มตะวันออก[15][16] และในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1989 ฮังการีได้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยระบบรัฐสภา[17]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ฮังการีเป็นประเทศอำนาจปานกลาง และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับ 57 จากการจัดอันดับราคาตลาดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อเป็นอันดับที่ 58 จาก 191 ประเทศ ซึ่งวัดโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในฐานะผู้ดำเนินการที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ[18] ฮังการีเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 35 และผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 34 ฮังการีเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงพร้อมกับมาตรฐานการครองชีพที่สูงมาก[19][20] มีระบบหลักประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน[21][22] ฮังการีมีผลการดำเนินงานที่ดีในระดับสากล โดยติดอันดับที่ 20 ในด้านคุณภาพชีวิต, อันดับที่ 24 ในดัชนีประเทศที่ดี, อันดับที่ 28 ของดัชนีการพัฒนามนุษย์ซึ่งปรับตัวเลขความไม่เท่าเทียมกันในสังคมแล้ว, อันดับที่ 32 ในดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม, อันดับที่ 33 ในดัชนีนวัตกรรมระดับโลก และติดอันดับประเทศที่ปลอดภัยที่สุดเป็นอันดับที่ 15 ของโลก

ประเทศฮังการีเข้าร่วมสหภาพยุโรปใน ค.ศ. 2004 และเป็นส่วนหนึ่งของเขตเชงเกนตั้งแต่ ค.ศ. 2007[23] ฮังการีเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ องค์การการค้าโลก ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย สภายุโรป กลุ่มวิแชกราด และอื่น ๆ[24] ฮังการีเป็นที่รู้จักกันดีจากประวัติศาสตร์เชิงวัฒนธรรมอันยาวนาน โดยมีส่วนสำคัญในด้านศิลปะ ดนตรี วรรณคดี กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี[25][26][27][28] ฮังการีเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวในยุโรป โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 14.3 ล้านคนใน ค.ศ. 2015[29] และฮังการียังเป็นที่ตั้งของระบบถ้ำบ่อน้ำร้อนที่ใหญ่ที่สุดและทะเลสาบน้ำร้อนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปกลาง และทุ่งหญ้าธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[30][31]

ภูมิศาสตร์

ฮังการีตั้งอยู่กลางทวีปยุโรปแถบที่ราบเทือกเขาคาร์เปเทียน (Kárpát-medence) มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 7 ประเทศ คือ โรมาเนีย ออสเตรีย สโลวาเกีย ยูเครน เซอร์เบีย โครเอเชีย และสโลวีเนีย รูปร่างประเทศฮังการีคล้ายรูปไต มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 93,000 ตารางกิโลเมตร

ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  1. Nagyalföld เป็นที่ราบต่ำทางตะวันออกและตอนกลาง
  2. เป็นที่ราบขนาดเล็กทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีแนวเทือกเขาที่สูงที่สุด ชื่อว่า Kékes tető (สูง 1,015 เมตร)
  3. Dunántúl เนินเขา สลับกับที่ราบสูง ๆ ต่ำทางตะวันและตะวันตกฉียงใต้

ฮังการีมีแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำดานูบและแม่น้ำทิสซอ แม่น้ำทั้งสองสายแบ่งประเทศออกเป็น 3 ส่วน และยังมี แม่น้ำดราวา เป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างฮังการีกับโครเอเชียทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ

ฮังการีมีทะเลสาบหลายแห่ง แต่ทะเลสาบที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบบอลอโตน (Balaton)

พื้นทีส่วนใหญ่ของฮังการี ประมาณ 70%ทำการเกษตร ส่วนพื้นที่เหลือ เป็นป่าทึบ ได้แก่ ป่าโอ๊ก และ ป่าบีช สัตว์ท้องถิ่นที่พบทั่วไป เช่น กระต่ายป่า กวาง หมี นาก สัตว์ป่าหายาก เช่น แมวป่า ค้างคาวทะเล สัตว์พื้นเมืองที่มีมากที่สุด คือ นกชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะนกน้ำที่ชอบพื้นที่ชื้นแฉะแถบที่ลุ่มตามทะเลสาบ ฮังการี มี ป่าสงวน 5 แห่งและมีการประกาศ เขตคุ้มครองกว่า 100 แห่ง

ประวัติศาสตร์

ประเทศฮังการีเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีประวัติอย่างยาวนานมาตั้งแต่ในตอนศตวรรษที่ 9

การเมือง

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสภาเดียว โดยมีประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 วาระ ปัจจุบัน คือ นาย János Áder

การแบ่งเขตการปกครอง

เทศมณฑลของประเทศฮังการี

ประเทศฮังการีแบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 19 เทศมณฑล และ 1 เขตเมืองหลวง ได้แก่ (ชื่อเมืองหลักของเทศมณฑลอยู่ในวงเล็บ)

นโยบายต่างประเทศ

เศรษฐกิจ

การพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ฮังการีเพิ่งเปิดประเทศเป็นประเทศเสรีนิยมหลังการล่มสลายของระบบการปกครองระบบคอมมิวนิสต์ในประเทศ เศรษฐกิจโดยรวมจึงยังคงอยู่ในสภาพยากจน ขณะที่ฮังการีกำลังเร่งปรับปรุงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ

ฮังการีมีทรัพยากรธรรมชาติน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างโปแลนด์และสโลวาเกีย ฮังการีมีอัตราคนว่างงานประมาณร้อยละ 9 และอัตราเงินเฟ้อกว่าร้อยละ 10 ฮังการีพยายามทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากประชาชนเพื่งได้รับเสรีในการใช้จ่าย มีความต้องการในการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าตามกระแสวัตถุนิยมตามแบบในประเทศแถบยุโรปอื่น ๆ ค่อนข้างสูง

เศรษฐกิจของฮังการีเติบโตได้เนื่องจากสินค้าออกและการลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ภายในประเทศ หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ค.ศ. 1989 ฮังการีมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเร็วกว่าหลายประเทศในแถบยุโรป

โครงสร้างพื้นฐาน

ประชากรศาสตร์

วัฒนธรรม

กีฬา

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Hungary". World Bank.
  2. "COUNTRY COMPARISON :: AREA". CIA. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
  3. "COUNTRY COMPARISON :: POPULATION". CIA. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.
  4. "Hungary in the Carpathian Basin" (PDF). Lajos Gubcsi, PhD. 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 June 2017.
  5. Acta Orientalia Academiae Scientiarum Hungaricae. Vol. 36. Magyar Tudományos Akadémia (Hungarian Academy of Sciences). 1982. p. 419.
  6. Kristó Gyula – Barta János – Gergely Jenő: Magyarország története előidőktől 2000-ig (History of Hungary from the prehistory to 2000), Pannonica Kiadó, Budapest, 2002, ISBN 963-9252-56-5, p. 687, pp. 37, pp. 113 ("Magyarország a 12. század második felére jelentős európai tényezővé, középhatalommá vált"/"By the 12th century Hungary became an important European constituent, became a middle power", "A Nyugat részévé vált Magyarország ... /Hungary became part of the West"), pp. 616–644
  7. "Austria-Hungary, HISTORICAL EMPIRE, EUROPE". Encyclopædia Britannica. 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 June 2017.
  8. Richard C. Frucht (31 December 2004). Eastern Europe: An Introduction to the People, Lands, and Culture. ABC-CLIO. p. 360. ISBN 978-1-57607-800-6.
  9. "Trianon, Treaty of". The Columbia Encyclopedia. 2009.
  10. "Text of the Treaty, Treaty of Peace Between The Allied and Associated Powers and Hungary And Protocol and Declaration, Signed at Trianon June 4, 1920". สืบค้นเมื่อ 10 June 2009.
  11. Hungary: The Unwilling Satellite เก็บถาวร 16 กุมภาพันธ์ 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน John F. Montgomery, Hungary: The Unwilling Satellite.http://kapos.hu/hirek/kis_szines/2018-06-16/megerkezett_az_idei_balaton_sound_himnusza.html Devin-Adair Company, New York, 1947. Reprint: Simon Publications, 2002.
  12. Thomas, The Royal Hungarian Army in World War II, pg. 11
  13. "1949. évi XX. törvény. A Magyar Népköztársaság Alkotmánya" [Act XX of 1949. The Constitution of the Hungarian People's Republic]. Magyar Közlöny (Hungarian Bulletin) (ภาษาHungarian). Budapest: Állami Lapkiadó Nemzeti Vállalat. 4 (174): 1361. 20 August 1949.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  14. "1989. évi XXXI. törvény az Alkotmány módosításáról" [Act XXXI of 1989 on the Amendment of the Constitution]. Magyar Közlöny (Hungarian Bulletin) (ภาษาHungarian). Budapest: Pallas Lap- és Könyvkiadó Vállalat. 44 (74): 1219. 23 October 1989.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  15. Hanrahan, Brian (9 May 2009). "Hungary's Role in the 1989 Revolutions". BBC News.
  16. Kamm, Henry (17 June 1989). "Hungarian Who Led '56 Revolt Is Buried as a Hero". The New York Times.
  17. "1989. évi XXXI. törvény az Alkotmány módosításáról" [Act XXXI of 1989 on the Amendment of the Constitution]. Magyar Közlöny (ภาษาHungarian). Budapest: Pallas Lap- és Könyvkiadó Vállalat. 44 (74): 1219. 23 October 1989.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  18. "Hungary: Emerging Economic Power In Central And Eastern Europe". Thomas White International. สืบค้นเมื่อ 18 June 2017.
  19. Country and Lending Groups. World Bank. Accessed on July 1, 2016.
  20. "List of OECD Member countries – Ratification of the Convention on the OECD". Oecd.org. สืบค้นเมื่อ 2011-11-04.
  21. OECD (June 27, 2013). "OECD Health Data: Social protection". OECD Health Statistics (database). doi:10.1787/data-00544-en. สืบค้นเมื่อ 2013-07-14.
  22. Eurydice. "Compulsory Education in Europe 2013/2014" (PDF). European commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  23. "Benefits of EU Membership". Hungarian Chamber of Commerce and Industry. 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 June 2017.
  24. "International organizations in Hungary". Ministry of Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  25. "Hungary's Nobel Prize Winners, 13 Hungarian win Nobel Prize yet". Hungarian Academy of Sciences.
  26. "Population per Gold Medal. Hungary has the second highest gold medal per capita in the world. All together it has 175 gold medal until 2016". medalspercapita.com.
  27. Hungarian literature – ”Popular poetry is the only real poetry was the opinion of Sándor Petőfi, one of the greatest Hungarian poets, whose best poems rank among the masterpieces of world literature”., Encyclopædia Britannica, 2012 edition
  28. Szalipszki, pg.12
    Refers to the country as "widely considered" to be a "home of music".
  29. UNWTO Tourism Highlights, 2016 Edition – World Tourism Organization. 2016. doi:10.18111/9789284418145. ISBN 9789284418145.
  30. "Search – Global Edition – The New York Times". International Herald Tribune. 29 March 2009. สืบค้นเมื่อ 20 September 2009.
  31. "Lake Balaton". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2008-03-20.

แหล่งข้อมูลอื่น